สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม
นางเพ็ญศรี บุญเรือง - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางเพ็ญศรี บุญเรือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pensri Boonruang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร กุ้งก้ามกราม เป็นสัตว์น้ำที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงและจัดเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง แต่พบว่าการปฏิบัติหลังการจับกุ้งยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง กุ้งมีการเสื่อมคุณภาพ เก็บรักษาได้ไม่นาน การแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็ยังไม่หลากหลาย รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือยังน้อย จึงได้จัดทำชุดโครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2546-2548 ขึ้น โดยภายใต้ชุดโครงการฯมีโครงการย่อยทั้งหมด 4 เรื่อง สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. การพัฒนาวิธีการเก็บรักษากุ้งก้ามกรามแช่เย็น พบว่า กุ้งที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง มีปริมาณ TVB-N, K-value และปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาในการเก็บ ส่วนคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสของกุ้งดิบและกุ้งสุกยอมรับได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่หากต้องการกุ้งที่มีคุณภาพดี ทั้งลักษณะกุ้งดิบและกุ้งสุกต้องเป็นกุ้งที่เก็บไว้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง สำหรับกุ้งก้ามกรามแช่เย็นในน้ำแข็งทุกแบบ พบว่า K-value และ TVB-N มีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดการเก็บ ซึ่งสัมพันธ์กับคะแนนการทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยการทดสอบทางประสาทสัมผัสของกุ้งดิบแบบเก็บแช่เย็นในน้ำแข็งทันที และแบบเก็บแช่เย็นในน้ำแข็งผสมน้ำยอมรับได้ไม่เกิน 8 วัน และแบบชะลอไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 และ 6 ชั่วโมงก่อนเก็บในน้ำแข็ง ยอมรับได้ไม่เกิน 6 วัน การแช่เย็นกุ้งในน้ำแข็งทันที ยอมรับได้ไม่เกิน 8 วัน แช่เย็นในน้ำแข็งผสมน้ำ และแบบที่ชะลอไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 และ 6 ชั่วโมงก่อนเก็บในน้ำแข็ง ยอมรับได้ไม่เกิน 6 วัน หากต้องการกุ้งที่มีคุณภาพดีทั้งลักษณะดิบและสุกแบบที่เก็บแช่เย็นในน้ำแข็งทันทียอมรับได้ไม่เกิน 4 วัน ส่วนแบบที่เก็บแช่เย็นในน้ำแข็งผสมน้ำ และแบบที่ชะลอไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 และ 6 ชั่วโมง ก่อนเก็บในน้ำแข็งยอมรับได้ไม่เกิน 1 วัน 2. การใช้ไคโตซานเป็นสารเสริมในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม พบว่า การนำไคโตซานไปผสมในอาหารกุ้ง วิธีการที่สะดวกที่สุดคือการนำไคโตซานไปละลายในกรดอะซิติกตามอัตราส่วนที่ต้องการแล้วนำมาพ่นลงบนอาหารสำเร็จรูป แต่หากต้องการใช้ความเข้มข้นของสารละลายไคโตซานที่สูงกว่า 1.5% ต้องนำสารละลายไปคลุกเคล้ากับอาหาร เนื่องจากมีความหนืด การศึกษาความเข้มข้นของไตโตซานในอาหารเลี้ยงกุ้ง 4 ระดับ คือ 0, 0.6, 1.0 และ 1.5% พบว่า ความเข้มข้นทั้ง 3 ระดับและที่ไม่มีไคโตซาน มีผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามกรามแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ 3. การใช้แบคทีเรียแลคติคเป็นโปรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม พบว่า มีแบคทีเรียแลคติค 22 สายพันธุ์ ที่สามารถยับยั้งเชื้อโรคได้ โดยแบคทีเรียแลคติคทั้ง 22 สายพันธุ์นี้เป็น Lactobacillus plantarum มี 6 สายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในการใช้เป็นโปรไบโอติก โดยผสมเชื้อในอาหารสูตรต่าง ๆ พบว่า การเจริญของลูกกุ้งและอัตรารอดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 4. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กุ้งก้ามกรามรมควัน พบว่า รูปแบบและลักษณะกุ้งก้ามกรามรมควันที่ผู้บริโภคยอมรับ ได้แก่ กุ้งปอกเปลือกไว้หาง ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม คือ อบที่อุณหภูมิ 50 oC ระยะเวลา 30 นาที แล้วนำมารมควันที่อุณหภูมิ 60 oC ระยะเวลา 60 นาที เมื่อนำมาเก็บรักษาใน ถุงไนลอน/โพลีเอทธิลีนที่อุณหภูมิ 4 oC ได้นาน 48 วัน ส่วนที่อุณหภูมิ -38 oC ได้นานอย่างน้อย 51 วัน โดยคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 47-0800-47007
ชื่อแหล่งทุน: กรมประมง
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 47-0800-47007
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: กรุงเทพมหานคร
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2547
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม
กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
2548
เอกสารแนบ 1
โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งขาว การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อกุ้งก้ามกรามและเศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามจากพื้นที่ต่างกัน การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบพัฒนาโดยใช้อัตราปล่อยต่างๆกัน การศึกษาและพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ไคโตซานจากเปลือกกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก