สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาปทุมมาและกระเจียว
นางสาววิภาดา ทองทักษิณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาปทุมมาและกระเจียว
ชื่อเรื่อง (EN): Curcuma Research and Development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาววิภาดา ทองทักษิณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิภาดา ทองทักษิณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาปทุมมาและกระเจียว ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ.2554-2556 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม 15 การทดลอง ทำการศึกษาวิจัยด้านการอารักขาพืช การปรับปรุงพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกปทุมมาและกระเจียว ผลการทดลองมีดังนี้ การวิจัยด้านการอารักขาพืช : ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา ทำการผลิตผงเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์คัดเลือก 4415 และอ้อย no.6 โดยใช้ผงทาคัมเป็นวัสดุรองรับ ทดสอบอายุของการเก็บรักษาผงเชื้อเป็นเวลา 15 เดือน โดยเช็คความอยู่รอดและปริมาณทุกเดือน พบว่า ผงเชื้อเก็บรักษานาน 12 เดือน ยังคงมีปริมาณแบคทีเรีย Bacillus subtilis 1x1010 cfu/g หลังจากนั้นปริมาณแบคทีเรียปฏิปักษ์จะลดลง โดยผงเชื้อที่อายุเก็บรักษา 15 เดือน มีปริมาณแบคทีเรียที่ 6.4x106 cfu/g นำผงเชื้อไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคเหี่ยวในเรือนปลูกพืชทดลองและแปลงเกษตรกร จ.กาญจนบุรี พบว่า การราดด้วยผงเชื้อในอัตรา 1.5 กรัม/น้ำ 5 ลิตร รดทุก 7 วัน ให้ผลดีที่สุดด้วยสามารถควบคุมโรคได้ 60-65% การปรับปรุงวิธีการตรวจหาแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum (RS) ในหัวพันธุ์ปทุมมาโดยใช้ชุดตรวจสอบ (GLIFT kit) โดยได้ปรับปรุงชุดตรวจสอบและวิธีการตรวจสอบให้ง่ายต่อการใช้และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งการทดสอบบัปเฟอร์ต่างๆ ทดสอบความเข้มข้นของแอนติซีรั่มได้ 1:500 ทดสอบความเฉพาะเจาะจงของแอนติซีรั่มกับเชื้อแบคทีเรีย RS ที่ความเข้มข้นต่ำสุด 1x103 cfu/ml ทดสอบ buffer กับกระดาษชนิดต่างๆ พบว่า buffer ใช้ได้ดีกับกระดาษไนโตรเซลูโลส AE 99 โดยมีความไวในการตรวจ 10x103 cfu/ml ทำการปรับปรุงขนาดกระดาษของส่วน absorbent pad ของชุดตรวจสอบให้ยาวขึ้น 0.5 เซนติเมตร ทำให้การไหลของสารในแนวตั้งดีขึ้น นำชุดตรวจสอบที่ปรับปรุงแล้วไปทดสอบการตรวจหาแบคทีเรีย RS ในหัวพันธุ์ปทุมมา สามารถตรวจหาแบคทีเรียได้ในระดับ 104 cfu/ml การจัดการโรคใบไหม้และใบจุดของปทุมมาและกระเจียว ทำการทดลอง 2 สถานที่ ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช สามารถแยกเชื้อราสาเหตุโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมาและกระเจียว ได้เป็นรา Acremonium sp. ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในห้องปฏิบัติการและแปลงทดลอง จ.กาญจนบุรี พบว่า สาร carbendazim 50% WP, difenoconazole 25% W/V EC, propiconazole 25% W/V EC, prochloraz 50% WP, hexaconazole 5% W/V SC และ azoxystrobin + difenoconazole 20% + 12.5% W/V SC มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรคใบไหม้ใบจุดในกระเจียวพันธุ์ลัดดาวัลย์ได้ ในขณะที่การทดลองที่ ศวส.เชียงราย ทำการศึกษาในปทุมมา พบความรุนแรงของโรคใบไหม้ใบจุดรุนแรงกว่าในกระเจียวที่ จ.กาญจนบุรี สามารถแยกเชื้อรา Phoma sp. สาเหตุโรคใบไหม้ และรา Acremonium sp. สาเหตุโรคใบจุดหรือจุดสนิมในปทุมมา การพ่นสาร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมโรคใบไหม้ในแปลงได้ดีที่สุด ในขณะที่สาร ฟลูซิลาโซล 40% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมโรคใบจุดได้ดีที่สุด ในขณะที่สารอะซ็อกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคลนาโซล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมโรคทั้งสองชนิดของปทุมมาได้ค่อนข้างดี การจัดการโรครากปมของปทุมมาและกระเจียว การใช้สาร cadusafos 10% GR สามารถลดจำนวนไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp. เหลือน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ และการไม่ใช้สาร แต่การระบาดของโรคอยู่ในระดับที่สูงมาก (มากกว่าระดับสาม) จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพหัวพันธุ์โดยตรง การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และด้วงกาแฟ การใช้สาร thiamethoxam 25% WG หรือ imidacloprid 70% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ dinotefuran 10% WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ในขณะที่การพ่นสาร fipronil อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สาร thiamethoxam หรือ imidacloprid อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดด้วงกาแฟในปทุมมา การปรับปรุงพันธุ์ : การรวบรวม ศึกษา จำแนกเชื้อพันธุกรรมพืชกลุ่มปทุมมาและกระเจียว ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย มีเชื้อพันธุกรรมที่รวบรวมทั้งสิ้น 169 พันธุ์ ทำการประเมินและบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ จำนวน 72 ลักษณะ ตามแบบบันทึกข้อมูล Descriptors for Curcuma ของกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร และจัดเก็บในฐานข้อมูลพืช การสร้างลูกผสมปทุมมาสายพันธุ์ต้านทานต่อโรคเหี่ยว ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย โดยคัดเลือกพันธุ์พ่อ-แม่ที่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติความทนทานต่อโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ทำการผสมพันธุ์และทดสอบปฏิกิริยาของลูกผสมต่อโรคเหี่ยวในเรือนทดลอง ปรากฏว่า ได้ลูกผสมจำนวน 53 คู่ จากทั้งหมด 75 คู่ผสม ที่แสดงความทนทานต่อโรคระดับปานกลางถึงระดับสูง แต่เมื่อนำไปปลูกทดสอบในแปลงปทุมมาที่เคยมีประวัติการระบาดของโรคเหี่ยว พบว่า ไม่มีลูกผสมสายพันธุ์ใดที่แสดงความต้านทานต่อโรค ทุกสายพันธุ์เกิดอาการของโรคเหี่ยว แต่สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่แสดงความรุนแรงของโรคในระดับต่ำมาก (ระดับ 1.6-2.0) 6 สายพันธุ์ และระดับต่ำ 19 สายพันธุ์ ซึ่งจะได้นำไปทดสอบความทนทานต่อโรคในแหล่งปลูกการค้าต่อไป การปรับปรุงพันธุ์ปทุมมาให้ทนทาน/ต้านทานต่อโรคเหี่ยวโดยการใช้รังสีร่วมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกระเจียวส้ม ปทุมรัตน์ และบัวลายลาว ฉายรังสีแกมม่า ระดับ 1-5 Krad แบบเฉียบพลันและโครนิก เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยเน้นเรื่องความต้านทานโรค พบว่า ค่าLD50 ของการฉายรังสีแบบเฉียบพลันคือ 2-4 Krad ในขณะที่การฉายรังสีแบบโครนิกไม่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของพันธุ์ทดลองทั้ง 3 พันธุ์ นำต้นเนื้อเยื่อที่ผ่านการฉายรังสีปลูกเชื้อแบคทีเรีย RS ความเข้มข้น 106cfu ml-1 โดยการตัดใบ พบว่าต้นทดลองส่วนใหญ่ แสดงอาการโรคเหี่ยวระดับที่ 4 ใบเหี่ยวและเหลืองเกือบทั้งหมดยกเว้นยอด เก็บเกี่ยวหัวพันธุ์บัวลายลาว ปทุมรัตน์ และกระเจียวส้ม จากทุกระดับรังสีที่รอดตาย ได้เท่ากับ 176 29 และ 19 หัว ตามลำดับ ซึ่งจะได้นำหัวพันธุ์ที่รอดชีวิตเหล่านี้ไปปลูกทดสอบความทนทานต่อโรคเหี่ยวในแปลงเกษตรกรที่เคยมีประวัติการระบาดของโรคต่อไป การแก้ไขความเป็นหมันของลูกผสมปทุมมาข้ามชนิด ได้ทำการศึกษาเทคนิคต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการผสมข้ามชนิดของพืชสกุลนี้ โดยการใช้สารเสริมการเจริญเติบโต พบว่า การใช้สาร Brasinolide 4,000 ppm ฉีดพ่นต้นลูกผสมที่เป็นหมัน สามารถทำให้ต้นลูกผสม ผสมติด 6.3-28.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการเพิ่มชุดโครโมโซม พบว่า การเพิ่มชุดโครโมโซม ต้นดิพพลอยด์ (2X) ที่เป็นหมันไม่สามารถติดเมล็ดได้ เป็นต้นเตตราพลอยด์ (4X) สามารถผสมติดสูงถึง 33.3-75.0 เปอร์เซ็นต์ และการช่วยชีวิตเอ็มบริโอ โดยการแยกเอ็มบริโอออกจากเมล็ดที่มีอายุผล 21 และ 28 วัน นำมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ สูตร MS +BA 2 มิลลิกรัมต่อลิตร + NAA 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถช่วยชีวิตเอ็มบริโอให้อยู่รอดจนพัฒนาเป็นต้นมียอดและรากสมบูรณ์ได้ในระดับหนึ่ง การทดสอบการผลิตและการตลาดปทุมมาลูกผสมชุดที่ 2 จำนวน 10 พันธุ์ 2 แหล่งปลูก ได้พันธุ์ที่ผ่านการประเมินด้านการผลิตและการยอมรับของตลาดสำหรับเสนอเป็นพันธุ์แนะนำ จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ Cu 57 Cu 63 Cu 64 Cu 97 และ Cu 113 การศึกษาเทคโนโลยีการผลิต : การควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนผลิตปทุมมานอกฤดู เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปทุมมานอกฤดูในโรงเรือนต้นแบบ ที่มีช่องเปิดบนหลังคาเพื่อให้มีการระบายอากาศร้อนตามธรรมชาติ เสริมด้วยระบบพ่นหมอกอัตโนมัติ พบว่า การพ่นหมอกครั้งละ 5 นาที ในทุกๆ 2 ชั่วโมง สามารถลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้ 5-10OC และออกแบบระบบไฟฟ้าควบคุมแสงสว่างในโรงเรือนเพื่อทดแทนสภาพวันยาวสำหรับชักนำให้มีการออกดอกนอกฤดู จากการทดสอบพบว่า การใช้หลอดอินแคนเดสเซ็นต์ที่ระดับความสว่างของแสงไฟ 100 ลักซ์ ให้จำนวนดอกสูงสุด 2.39 ดอกต่อถุง แต่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสูงกว่าการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่ระดับความสว่างของแสงไฟ 60 ลักซ์ ที่มีการให้ดอกเฉลี่ย 1.99 ดอกต่อถุง ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่ำเพียง 50 kw.h/รอบการผลิต ในขณะที่การปลูกนอกโรงเรือนโดยไม่มีการให้ไฟมีการออกดอกน้อยที่สุด 0.33 ดอกต่อถุง
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาปทุมมาและกระเจียว
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
การพัฒนาระบบการสร้างปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา/กระเจียว การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การสร้างลูกผสมปทุมมา ทริพลอยด์ โครงการวิจัยและพัฒนาเบญจมาศ โครงการวิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล โครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวสาลี โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก