สืบค้นงานวิจัย
Ninety East Ridge แหล่งประมงทางเลือกของการประมงไทยในมหาสมุทรอินเดีย
วัชรพงศ์ ชุ่มชื่น - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: Ninety East Ridge แหล่งประมงทางเลือกของการประมงไทยในมหาสมุทรอินเดีย
ชื่อเรื่อง (EN): Ninety East Ridge: An Alternative Fishing Ground for Thai Fishery in the Indian Ocean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัชรพงศ์ ชุ่มชื่น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นฤพน ดรุมาศ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชุดโครงการวิจัย : Ninety East Ridge แหล่งประมงทางเลือกของการประมงไทยในมหาสมุทรอินเดีย รหัสข้อเสนอการวิจัย 2554070501010 ประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวน 4 โครงการ ปัจจุบันได้ดำเนินการและมีสถานะที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ ๑. เรื่อง องคประกอบชนิด และอัตราการติดเบ็ดของสัตวน้ำจากเครื่องมือเบ็ดราวปลาทูนา บริเวณ Ninety East Ridge ในมหาสมุทรอินเดีย สถานะปัจจุบัน ปิดโครงการ และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นเอกสารวิชาการฉบับที่ ๑๖/๑๕๕๗ โดยมีผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ องคประกอบชนิด อัตราการติดเบ็ด และขนาดของสัตวน้ำบริเวณ Ninety East Ridge มหาสมุทรอินเดียตะวันออก ดวยเครื่องมือเบ็ดราวปลาทูนา โดยสํารวจในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ 2554 และกุมภาพันธ -มีนาคม 2555จับสัตวน้ำได ทั้งหมด 232 ตัว น้ำหนักรวม2,363.67 กิโลกรัม เปนสัตวน้ำทั้งสิ้น 18 ชนิด โดยปลาผิวน้ำขนาดใหญแบงไดเปน 3 กลุม ไดแก กลุมปลาทูนา จับไดทั้งหมด 55 ตัว น้ำหนักรวม 1,515.10กิโลกรัม คิดเปนรอยละ 23.71โดยจํานวนตัว หรือรอยละ 64.10โดยน้ำหนัก ประกอบดวย ปลาทูนา 3 ชนิด คือ ปลาทูนาครีบเหลือง (Thunnus albacares) ปลาทูนาตาโต (T. obesus) และปลาทูนาทองแถบ (Katsuwonus pelamis)กลุมปลากระโทงแทงจับไดทั้งหมด7 ตัว น้ำหนักรวม 143.70 กิโลกรัม คิดเปนรอยละ 3.02 โดยจํานวนตัว หรือรอยละ 6.08 โดยน้ำหนัก เปนปลากระโทงแทง 2 ชนิด ไดแกปลากระโทงแทงดาบ (Xiphias gladius)และปลากระโทงแทงครีบน้ำเงิน (Makaira mazara)และกลุมปลาฉลามและปลากระเบน จับไดทั้งหมด 22 ตัว น้ำหนักรวม 311.00 กิโลกรัม คิดเปนรอยละ 9.48 โดยจํานวนตัว หรือรอยละ 13.16 โดยน้ำหนัก ประกอบดวยปลาฉลาม 5 ชนิด ปลากระเบน 1ชนิด ไดแก ปลาฉลามเทา (Carcharhinus falciformis) ปลาฉลามครีบดํา (C. limbatus) ปลาฉลามชนิด Pseudocarcharias kamoharai ปลาฉลามครีบน้ําเงิน (Prionace glauca) ปลาฉลามหางยาวหนาหนู (Alopias superciliosus)และปลากระเบนน้ำลึก (Dasyatisspp.) อัตราการติดเบ็ดของสัตวน้ำที่จับไดทั้งหมดเทากับ 2.26 ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 23.00 กิโลกรัม/ เบ็ด 100 ตัว กลุมปลาทูนามีอัตราการติดเบ็ดเทากับ 0.54 ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 14.74กิโลกรัม/เบ็ด 100 ตัว โดยปลาทูนาครีบเหลืองมีอัตราการติดเบ็ดเทากับ 0.30 ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 5.30 กิโลกรัม/เบ็ด 100 ตัว ปลาทูนาตาโตมีอัตราการติดเบ็ดเทากับ 0.21 ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 9.37 กิโลกรัม/เบ็ด 100 ตัว และปลาทูนาทองแถบ มีอัตราการติดเบ็ดเทากับ 0.02 ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 0.07 กิโลกรัม/เบ็ด 100 ตัว กลุมปลากระโทงแทงมีอัตรา การติดเบ็ดเทากับ 0.07ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 1.40กิโลกรัม/เบ็ด 100 ตัว กลุมปลาฉลาม และปลากระเบนมี อัตราการติดเบ็ดเทากับ 0.21 ตัว/เบ็ด 100 ตัว หรือ 3.03 กิโลกรัม/เบ็ด 100 ตัว ขนาดของสัตวน้ำพบวาปลาทูนาครีบเหลืองมีขนาดความยาวสอมหาง 47.50-164.00 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 106.52 + 22.11 เซนติเมตร น้ำหนัก 2.00-90.00 กิโลกรัม น้ำหนักเฉลี่ย 24.10 + 17.24กิโลกรัม ปลาทูนาตาโตมีขนาดความยาวสอมหาง 56.00-163.00 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 125.22 + 31.15 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.00 - 90.00 กิโลกรัม น้ำหนักเฉลี่ย 41.90 + 24.30 กิโลกรัม ปลาทูนาทองแถบมีความยาวสอมหาง เทากับ 43.00 และ 65.00 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.40 และ 6.00 กิโลกรัม ตามลําดับ สวนปลากระโทงแทง ขนาดใหญจับไดทั้งหมด 3 ตัว เปนปลากระโทงแทงดาบ มีขนาดความยาวสอมหาง 89.00 102.00 และ 224.00 เซนติเมตร น้ำหนัก 2.00 2.70 และ 42.0 กิโลกรัม ตามลําดับ ๒. เรื่อง สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณ Ninety East Ridge ในมหาสมุทรอินเดีย สถานะปัจจุบัน ปิดโครงการ อยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เอกสาร โดยมีผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ การปฏิบัติงานสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง 12 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 15 สถานี พบว่าอุณหภูมิ อุณหภูมิระดับผิวน้ำอยู่ในช่าง 27.37-28.98 องศาเซลเซียล ชั้นของเทอโมไคลน์เริ่มต้นที่ระดับความลึกประมาณ 90-135 เมตร และสิ้นสุดชั้นเทอร์โมไคลน์ที่ระดับความลึก 150-195 เมตร อุณหภูมิที่จุดสิ้นสุดของชั้นเทอร์โมไคลน์อยู่ระหว่าง 13.80-14.14 องศาเซลเซียล ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ที่บริเวณผิวน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 3.68-4.10 มิลลิลิตร/ลิตร และที่ชั้นเทอร์โมไคลน์ มีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ระหว่าง 3.97-1.09 มิลลิลิตร/ลิตร ความเค็ม ที่ระดับผิวน้ำมีค่าระหว่าง 33.82-35.38 psu ค่าของความเค็มไม่เปลี่ยนแปลงตามระดับความลึกและมีค่าเฉลี่ยความเค็มประมาณ 35 psu ส่วนผลการสำรวจสมุทรศาสตร์ในปี 2554 นั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย อุณหภูมิที่ระดับผิวน้ำอยู่ในช่วง 27.37-28.98 องศาเซลเซียส เทอร์โมไคลน์เริ่มต้นที่ระดับความลึกประมาณ 90 -135 เมตร ความหนาของชั้นเทอร์โมไคลน์อยู่ในช่วง 25-85 เมตร อุณหภูมิที่จุดสิ้นสุดของชั้นเทอร์โมไคลน์อยู่ระหว่าง 13.80 -14.14 องศาเซลเซียส และที่ชั้นเทอร์โมไคลน์ มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่ระหว่าง 1.09-3.97 มิลลิลิตรต่อลิตร ส่วนผลการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง 16 กุมภาพันธ์ – 6 เมษายน 2555 จำนวน 9 สถานี พบว่าอุณหภูมิ ที่ระดับผิวน้ำอยู่ในช่วง 28.36 - 29.97 องศาเซลเซียส ชั้นของเทอร์โมไคลน์เริ่มต้นที่ระดับความลึกประมาณ 85 - 100 เมตร และความหนาของชั้นเทอร์โมไคลน์อยู่ในช่วง 60 - 105 เมตร ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ที่บริเวณผิวน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 6.25-6.47 มิลลิกรัมต่อลิตร และที่ชั้นเทอร์โมไคลน์มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่ระหว่าง 27-6.16 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเค็ม มีค่าเปลี่ยนแปลงน้อยมากตามระดับความลึกและมีค่าเฉลี่ยประมาณ 35 psu ความขุ่นน้ำทะเล มีค่าสูงที่ระดับความลึก 25-100 เมตร การสะท้อนแสง Fluorescent ของรงควัตถุในน้ำทะเล มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์-เอ พบว่า ค่าการสะท้อนแสงของรงควัตถุมีค่าสูงที่ระดับความลึก 80-100 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณจุดเริ่มต้นของชั้นเทอร์โมไคลน์ ๓. เรื่อง ประสิทธิภาพของเบ็ดรูปตัวซีและรูปตัวเจ ในการทำประมง เบ็ดราวทะเลลึกบริเวณ Ninety East Ridge สถานะปัจจุบัน ปิดโครงการ อยู่ระหว่างการแก้ไขเอกสาร โดยมีผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำของเบ็ดรูปตัวซีและรูปตัวเจ ในด้านชนิดและองค์ประกอบสัตว์น้ำ บริเวณNinety East Ridge มหาสมุทรอินเดียตะวันออกด้วยเครื่องมือเบ็ดราวปลา ผิวน้ำ โดยสำรวจในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2554 และเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2555 จับสัตว์น้ำได้ทั้งหมด 232 ตัว เป็นสัตว์น้ำทั้งสิ้น 18 ชนิด แบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลาทูน่า จับได้ทั้งหมด 55 ตัว คิดเป็นร้อยละ 23.710 กลุ่มปลากระโทงแทงและปลาดาบ จับได้ทั้งหมด 8 ตัว คิดเป็นร้อยละ 2.59 กลุ่มปลาฉลามและปลากระเบน จับได้ 22 ตัว คิดเป็นร้อยละ 9.48 และกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆจับได้ทั้งหมด 149 ตัว คิดเป็นร้อยละ 64.22 โดยประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำของเบ็ดรูปตัวซีเล็ก (C-14) สามารถจับสัตว์น้ำรวม 96 ตัว คิดเป็นร้อยละ 28.88 แยกเป็นสัตว์น้ำกลุ่มปลาทูน่า จับได้ทั้งหมด 30 ตัว คิดเป็นร้อยละ 31.25 กลุ่มปลา กระโทงแทงและปลาดาบ จับได้ทั้งหมด 3 ตัว คิดเป็นร้อยละ 3.13 กลุ่มปลาฉลามและปลากระเบน จับได้ 9 ตัว คิดเป็นร้อยละ 3.37 และกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆจับได้ทั้งหมด 54 ตัว คิดเป็นร้อยละ 56.25 เบ็ดรูปตัวซีใหญ่ (C-18) สามารถจับสัตว์น้ำรวม 69 ตัว แยกเป็นสัตว์น้ำกลุ่มปลาทูน่า จับได้ทั้งหมด 15 ตัว คิดเป็นร้อยละ 21.74 กลุ่มปลากระโทงแทงและปลาดาบ จับได้ทั้งหมด 2 ตัว คิดเป็นร้อยละ 2.90 กลุ่มปลาฉลามและปลากระเบน จับได้ 5 ตัว คิดเป็นร้อยละ 7.25 และกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆ จับได้ทั้งหมด 47 ตัว คิดเป็นร้อยละ 68.12 ส่วนเบ็ดรูปตัวเจ (J-hook) สามารถจับสัตว์น้ำรวม 67 ตัว แยกเป็นสัตว์น้ำกลุ่มปลาทูน่า จับได้ทั้งหมด 10 ตัว คิดเป็นร้อยละ 14.93 กลุ่มปลากระโทงแทงและปลาดาบ จับได้ทั้งหมด 1 ตัว คิดเป็นร้อยละ 1.49 กลุ่มปลาฉลามและปลากระเบน จับได้ 8 ตัว คิดเป็นร้อยละ 11.94 และกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆจับได้ทั้งหมด 48 ตัว คิดเป็นร้อยละ 71.64 ๔. เรื่อง ระดับความลึกของเบ็ดที่เหมาะสมในการทำประมงเบ็ดราวปลาผิวน้ำบริเวณ Ninety East Ridge ในมหาสมุทรอินเดีย สถานะปัจจุบัน ดำเนินการ อยู่ระหว่างการแก้ไขเอกสาร โดยมีผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ จากการสำรวจด้วยเครื่องมือเบ็ดราวปลาผิวน้ำบริเวณแนวสันเขา Ninety East Ridge มหาสมุทรอินเดียในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 14 สถานี สามารถแบ่งกลุ่มช่วงความลึกของเบ็ดตัวล่างสุดได้ 4 ระดับ คือ 119-125 เมตร ระดับ 150-160 เมตร ระดับ 170-180 เมตร และระดับลึกมากกว่า 200 เมตร ในพื้นที่ทำประมงด้านตะวันออก เหนือแนวสันเขา และด้านตะวันตกของแนวสันเขา ซึ่งจากการศึกษาช่วงความลึกของเบ็ดในการทำประมงเบ็ดราวปลาผิวน้ำต่ออัตราการติดเบ็ด พบว่า ในสถานีที่เบ็ดตัวล่างสุดจมลงลึกกว่า 200 เมตร มีอัตราการติดเบ็ดเฉลี่ยเมื่อคิดเป็นจำนวนตัวของปลาผิวน้ำทั้งหมดมากที่สุดที่ 34.58±12.82 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 355.46±240.86 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก รองลงมาคือ ระดับ 170-180 เมตร มีอัตราการติดเบ็ด 31.25±7.11 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 270.00±141.62 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก ส่วนระดับ 119-125 เมตร และ 150-160 เมตร มีอัตราการติดเบ็ดโดยจำนวนตัวที่ 16.11±7.97 กับ 9.44±2.83 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 126.67±77.31 กับ 84.32±55.56 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ในกลุ่มปลาทูน่ามีอัตราการติดเบ็ดเฉลี่ยสูงที่สุดในสถานีที่มีระดับลึกมากกว่า 200 เมตร รองลงมาคือระดับ 170-180 เมตร ระดับ 119-125 เมตร และระดับ 150-160 เมตร โดยมีอัตราการติดเบ็ดโดยจำนวนตัวมากที่สุดที่ 13.75±13.30 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว รองลงมาคือ 4.58±2.97 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว 3.89±2.83 และ 1.67±1.36 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 296.09±240.73 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว 199.17±115.75 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว 93.61±69.58 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว และ 54.44±74.65 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ส่วนอัตราการติดเบ็ดในพื้นที่ทำประมง 3 บริเวณได้แก่ด้านตะวันตก เหนือแนวสันเขาและด้านตะวันออกของสันเขาแนวสันเขาใต้น้ำนั้นพบว่า อัตราการติดเบ็ดเฉลี่ยของสัตว์น้ำทั้งหมดโดยจำนวนตัวในบริเวณสถานีด้านตะวันออกและตะวันตก มีความใกล้เคียงกันที่ 26.59±15.26 และ 26.25±13.09 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 269.35±199.71 และ 242.62±193.66 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก ส่วนบริเวณเหนือแนวสันเขามีอัตราการติดเบ็ดเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ 19.17±9.01 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 137.04±132.97 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก สำหรับกลุ่มปลาทูน่ามีอัตราการติดเบ็ดโดยจำนวนตัวมากที่สุดบริเวณด้านตะวันออกของแนวสันเขาที่ 8.92±11.81 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 218.28±180.96 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก รองลงมาคือด้านตะวันตกที่ 5.42±5.81 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 189.08±201.71 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก ส่วนบริเวณเหนือแนวสันเขาใต้น้ำมีอัตราการติดเบ็ดโดยจำนวนตัวของปลาทูน่าน้อยที่สุดที่ 3.75±3.79 ตัวต่อเบ็ด 1,000 ตัว หรือ 89.79±101.01 กิโลกรัมต่อเบ็ด 1,000 ตัว โดยน้ำหนัก
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
Ninety East Ridge แหล่งประมงทางเลือกของการประมงไทยในมหาสมุทรอินเดีย
กรมประมง
30 กันยายน 2556
กรมประมง
ระดับความลึกของเบ็ดที่เหมาะสมในการทำประมงเบ็ดราวปลาผิวน้ำบริเวณ Ninety East Ridge ในมหาสมุทรอินเดีย การประมงเบ็ดราวปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดียโดยเรือประมงต่างชาติ ที่ขึ้นท่าจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย องค์ประกอบชนิดและอัตราการติดเบ็ดของสัตว์น้ำจากเครื่องมือเบ็ดราวปลาทูน่าบริเวณ Ninety East Ridge ในมหาสมุทรอินเดีย การทำประมงเบ็ดราวทูน่าของเรือประมงไทยบริเวณมหาสมุทรอินเดียระหว่างปี 2550-2554 ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง การประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ของเรือไทย บริเวณซายา เดอ มาฮา แบงก์ มหาสมุทรอินเดีย ผลจับปลาทูน่าจากเรืออวนล้อมจับของไทยบริเวณมหาสมุทรอินเดียระหว่างปี 2548-2550 ชีววิทยาบางประการของปลาทูน่าท้องแถบ (Katsuwonus pelamis) และปลาทูน่าครีบเหลือง (Thunnus albacares) ที่จับได้จากเครื่องมืออวนล้อมจับของเรือสำรวจประมงมหิดล บริเวณมหาสมุทรอินเดียตะวันออก ศึกษาสภาวะการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรสัตว์น้ำพลอยจับได้จากเครื่องมืออวนล้อมในมหาสมุทรอินเดีย. การประมงหมึกสายในน่านน้ำไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก