สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อยที่ 8 โครงการวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์และระยะเวลาปลูกสำหรับพื้นที่ปลูกที่ระดับความสูงต่างกัน
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อยที่ 8 โครงการวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์และระยะเวลาปลูกสำหรับพื้นที่ปลูกที่ระดับความสูงต่างกัน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สริตา ปิ่นมณี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์และระยะเวลาปลูกสำหรับพื้นที่ปลูก ที่ระดับความสูงต่างกัน บทคัดย่อ เฮมพ์ (Hemp, Cannabis sativa L.) เป็นพืชเส้นใยคุณภาพสูง ส่วนของเมล็ดมีโปรตีนและน้ำมันคุณภาพสูงเหมาะสำหรับการบริโภค ซึ่งในประเทศไทยมีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับเฮมพ์น้อยมาก จึงได้ศึกษาวิจัยระยะเวลาปลูกเฮมพ์สายพันธุ์ต่างๆ ในเฮมพ์ 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ V50 ปางอุ๋ง ห้วยหอย และแม่สาใหม่ โดยปลูกตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่างกัน 2 ระดับ คือ พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงดอยปุย จ. เชียงใหม่ (1,210 เมตร) และพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงถ้ำเวียงแก จ. น่าน (460 เมตร) โดยเก็บตัวอย่างใบอ่อนมาตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร THC เมื่อเฮมพ์ออกดอก หรือกรณีที่ไม่ออกดอก จะเก็บตัวอย่างที่อายุ 85- 90 วัน และเก็บข้อมูลลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตเส้นใย ผลการทดลองพบว่า เฮมพ์ที่ปลูกใน 2 พื้นที่มีปริมาณ THCไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 แต่พบว่าเฮมพ์ที่ปลูกในเดือนมกราคมมีปริมาณ THC ต่ำกว่าเฮมพ์ที่ปลูกในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน ซึ่งมีปริมาณ THC เฉลี่ยเท่ากับ 0.688, 1.066, 1.122 และ 1.176 %w/w ตามลำดับ โดยเฮมพ์สายพันธุ์ V50 มีปริมาณ THC ต่ำกว่าสายพันธุ์ห้วยหอย แม่สาใหม่ และปางอุ๋ง โดยมีปริมาณสาร THC เฉลี่ยเท่ากับ 0.683, 0.894, 1.230 และ 1.244 %W/W ตามลำดับ เมื่อศึกษาข้อมูลการออกดอกของเฮมพ์ที่มีอายุ 85–90 วัน พบว่า เฮมพ์ที่ปลูกในเดือนมกราคมจะออกดอก 100% ทุกสายพันธุ์ และจะมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกลดลงเมื่อปลูกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และเมื่อปลูกในเดือนเมษายนและพฤษภาคมทุกสายพันธุ์ไม่ออกดอกที่อายุ 85 – 90 วัน นอกจากนี้ยังพบว่า สายพันธุ์ปางอุ๋งมีลักษณะดีกว่าสายพันธุ์อื่นคือมีจำนวนกิ่ง และจำนวนข้อต่อต้นน้อยที่สุด จากผลการทดลองสรุปได้ว่าระดับความสูงไม่มีผลต่อปริมาณสาร THC แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้น และอายุเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้นมีผลในการเพิ่มปริมาณสาร THC ในเฮมพ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อยที่ 8 โครงการวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์และระยะเวลาปลูกสำหรับพื้นที่ปลูกที่ระดับความสูงต่างกัน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2552
โครงการย่อยที่ 2 : โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสีย้อมสำหรับเส้นใยเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 6 โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์สายพันธุ์ THC ต่ำ โครงการย่อยที่ 7 โครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อย 8 : การศึกษาวิจัยการรักษาเชื้อพันธุ์และขยายเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ พื้นที่ปลูกข้าวน้ำลึกของประเทศไทย: สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม โครงการปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THCต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก