สืบค้นงานวิจัย
ผลของอุณหภูมิต่อการระงับความรู้สึกด้วยน้ำมันกานพลูในปลานิล (Oreochromis niloticus)
ศิรินทร์นภา พุ่มแจ้ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของอุณหภูมิต่อการระงับความรู้สึกด้วยน้ำมันกานพลูในปลานิล (Oreochromis niloticus)
ชื่อเรื่อง (EN): The effect of temperature on clove oil anesthesia in Nile tilapia (Oreochromis niloticus)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิรินทร์นภา พุ่มแจ้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sirinnapa Poomjae
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สาธิต บุญน้อม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sathit Boonnom
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิต่อการระงับความรู้สึกปลานิล (10.51 + 3.38 ก., 8.56 + 1.13 ซม.) ด้วยน้ำมันกานพลู ทำการระงับความรู้สึกปลานิลด้วยน้ำมันกานพลูเข้มข้นต่างกัน 6 ระดับ (25, 50, 75. 100, 125 และ 150 มก.Jล.) ที่อุณหภูมิต่างกัน 2 ระดับ (26 และ 30 *C) บันทึกเวลาการซักนำ เวลาการฟื้นตัว และคุณภาพน้ำ เพื่อหาความเข้มข้นต่ำสุดให้ผล จากนั้นระงับความรู้สึกปลานิลด้วยความเข้มข้นต่ำสุดให้ผล เพื่อประเมินผลของอุณหภูมิ ต่อการเคลื่อนไหวของฝ่าปิดเหงือก พบว่า น้ำมันกานพลูเข้มข้น 25 มก./ล. ไม่มีประสิทธิภาพระงับความรู้สึกทุกช่วง อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิและความเข้มข้นจะสูงผลให้เวลาการชักนำลดลง (P < 0.05 ส่วนเวลาการฟื้นตัวจะลดลง (P < 0.05) เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ และเวลาการฟื้นตัวเพิ่มขึ้น (P < 0.05) ตามการเพิ่มความเข้มข้นู นอกจากนี้การเพิ่มอุณหภูมิยังส่ง ผลให้ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำลดลง (P < 0.05 ขณะที่ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำจะเพิ่มขึ้น (P < 0.05) ตามการ เพิ่มความเข้มข้น ความเข้มข้นต่ำสุดให้ผลที่อุณหภูมิ 26 และ 30 C มีค่าเท่ากับ 100 และ 75 มก./ล. ตามลำดับ ณ ความเข้มข้นเหล่านี้พบว่า อัตราเคลื่อนไหวของฝาปิดเหงือกเพิ่มขึ้น (P < 0.05) ตามการเพิ่มอุณหภูมิ การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิส่งผลต่อประสิทธิภาพของน้ำมันกานพลูในการเป็นยาระงับความรู้สึกปลานิล
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to investigate the effect of temperature on anesthesia in Nile tilapia (10.51 ± 3.38 g, 8.56 ± 1.13 cm) with clove oil. Fingerlings were individually exposed to six different concentrations (25, 50, 75, 100, 125 and 150 mg/L) at two different temperatures (26 and 30 ºC). The induction and recovery times and water quality were examined to determine the lowest effective concentration. Fingerlings were individually subjected to the lowest effective concentration to evaluate the effect of temperature on the opercular movement. The concentration of 25 mg/L was inefficiency to induce the anesthesia at all temperatures. As the temperature and concentration increased, the induction time decreased (P < 0.05). Conversely, the recovery time decreased (P < 0.05) as the temperature increased and the recovery time increased (P < 0.05) with increasing concentration. In addition, the rising temperature declined (P < 0.05) the dissolved O2 , whereas the dissolved O2 elevated (P < 0.05) with rising concentration. The lowest effective concentration at 26 and 30 ºC was indicated to be 100 and 75 mg/L, respectively. At these concentrations, the opercular movement rate was rose (P < 0.05) with increasing temperature. This study demonstrates that the temperature had an effect on the efficacy of clove oil as an anesthetic in Nile tilapia.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=105_Fis291.pdf&id=3577&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอุณหภูมิต่อการระงับความรู้สึกด้วยน้ำมันกานพลูในปลานิล (Oreochromis niloticus)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) การพัฒนาผลิตภัณฑ์นักเกตปลาหมักจากปลานิล ผลของน้ำมันกานพลูในการสลบและการลำเลียงปลาตะเพียนขาว เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล (Oreochromis niloticus) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารป ผลของการเลี้ยงปลาดุกผสมร่วมกับปลานิลในสวนปาล์มน้ำมัน ผลของระดับคลอโรฟิลล์และอัตราการกรองต่อผลผลิตของปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่ใช้กากเหลือจากการหมักมูลสุกรเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อดิน ผลของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์เฉพาะถิ่นต่อการเจริญเติบโต ระบบการย่อยอาหาร และการยับยั้งโรคติดเชื้อในปลานิล (Nile tilapia: Oreochromis niloticus) ผลกระทบการเลี้ยงต่อการกำจัดกลิ่นโคลนในปลานิล ผลของอุณหภูมิรากต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ ผลของระบบการเลี้ยงต่อการกำจัดกลิ่นโคลนในปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก