สืบค้นงานวิจัย
ความก้าวหน้าการผนวกยีนความต้านทานโรคไหม้ ดินเค็ม และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
อุไรวรรณ คชสถิตย์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ความก้าวหน้าการผนวกยีนความต้านทานโรคไหม้ ดินเค็ม และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ชื่อเรื่อง (EN): Progress in Gene Pyramiding for Blast Resistant, Brown Planthopper Resistant and Salt Tolerant to Khao Dawk Mali 105 using Molecular Markers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุไรวรรณ คชสถิตย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Uraiwan Kotchasatit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เนื่องด้วยคุณภาพการหุงต้ม รับประทานดีและมีกลิ่นหอม อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัด คือ อ่อนแอต่อโรคไหม้ ดินเค็ม และไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แนวทางหนึ่งที่จะรักษาเสถียรภาพของผลผลิตได้ คือ การเพิ่มลักษณะต้านทานดังกล่าวให้กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกติดตามการถ่ายทอดยีนในประชากรข้าวที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความแม่นยำและลดระยะเวลา เริ่มดำเนินงาน ปี 2550-2555 ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ใช้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ผสมกลับขาวดอกมะลิ 105 ได้แก่ UBN03004 (IR77955-14-17*2/B.T) และ UBN03007 (IR77955-24-75*2/DHL279) ที่มียีนต้านทานโรคไหม้บนโครโมโซม 1 และ 11 UBN02124 (KDML105*4/FL530) ที่มียีนทนทานดินเค็มบนโครโมโซม 11 และ UBN03078 (Rathu Heenati/4*KDML105) ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบนโครโมโซม 6 เป็นพ่อแม่ ในการผสมพันธุ์ สำหรับเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก และติดตามยีนความต้านทานโรคไหม้ ได้แก่ RM 212, RM246, RM319 และ AP2 (โครโมโซม 1) RM144, RM224, และ AP10 (โครโมโซม 11) RM181A, RM140, B1.1-1 และ B1-11 (โครโมโซม 11) สำหรับยีนทนทานดินเค็ม และ RM589 (โครโมโซม 6) สำหรับยีนความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ผลการดำเนินการ ได้ประชากรข้าวรุ่น ที่ 6 (F6 ) ที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี มียีนต้านทานโรคไหม้ และทนทานดินเค็ม จำนวน 1 คู่ผสม คือ UBN06001 (UBN03004-3-16-20-11-31/UBN02124-1094-13-6) 6 สายพันธุ์ และมียีนต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จำนวน 1 คู่ผสม คือ UBN07007 (UBN03007-47-7-9-7-79-21/UBN03078-80-354-41-2-7) 9 สายพันธุ์ ข้าวสายพันธุ์ดีที่ได้ใช้สำหรับศึกษาพันธุ์ และเป็นแหล่งพันธุกรรมเพื่อการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ดีต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Most farmers in the Northeastern Thailand grow Khao Dawk Mali 105, a non-glutinous variety because of its premium cooking and eating quality and its aroma. However, KDML105 is susceptible to blast, brown planthopper and soil salinity. In order to maintain its yield stability, it is necessary to incorporate those above mentioned traits into KDML105 background. By using molecular markers to select for those plants carrying the target genes in each generation, it will help improving the selection efficiency in term of accuracy and time consumed. The experiment was conducted at Ubon Ratchathani Rice Research Center during 2007-2012 using the lines derived from the backcrossing program of KDML105; UBN03004 (IR77955-14-17*2/B.T) and UBN03007 (IR77955-24-75*2/DHL279), which carry blast resistant genes on chromosome 1 and 11, UBN02124 (KDML105*4/FL530), which carry a salt tolerant gene on chromosome 11 and UBN03078 (Rathu Heenati/4*KDML105), which carry a brown planthopper resistant gene on chromosome 6, as parents. Molecular markers used to select for blast resistant genes are RM 212, RM246, RM319 and AP2 (chromosome 1), RM144, RM224 and AP10 (chromosome 11). Molecular markers used to select for salt tolerant on chromosome 11 are RM181A, RM140, B1.1-1 and B1-11 while those used to select for a brown planthopper gene on chromosome 6 is RM589. So far, the progenies were advanced up to the F6 generation. Six lines carry blast resistant and salt tolerant genes were selected from the cross UBN06001 (UBN03004-3-16-20-11-31/UBN02124-1094-13-6). Nine lines carrying blast resistant and brown planthopper resistant genes were selected from the cross UBN07007 (UBN03007-47-7-9-7-79-21/UBN03078-80-354-41-2-7). These lines are all carrying good agronomic characteristics and will be used for further evaluation and as donors for rice varieties improvement.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328670
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความก้าวหน้าการผนวกยีนความต้านทานโรคไหม้ ดินเค็ม และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
กรมการข้าว
2555
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
สาเหตุของความต้านทานในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparuata lugens (Stal) มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ที่พัฒนาได้จากพันธุ์ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ให้มีความต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อคุณภาพของข้าวดอกมะลิ 105 และผลตกค้างของสารในข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก