สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกพันธุ์กระชายดำสายพันธุ์รวบรวมโดยใช้เกณฑ์ความพึงใจของผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall.ex Baker)
เสริมสกุล พจนการุณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์กระชายดำสายพันธุ์รวบรวมโดยใช้เกณฑ์ความพึงใจของผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall.ex Baker)
ชื่อเรื่อง (EN): Selection of Collected Krachai-Dam (Kaempferia parviflora Wall.ex Baker) Rhizomes by Using the Preference of Krachai-Dam Products Distributors and Sellers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสริมสกุล พจนการุณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sermsakul Pojanagaroon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เชวง แก้วรักษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chawaeng Kaewrak
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติพฤติกรรมการเลือกซื้อ และเกณฑ์ในการเลือกซื้อเหง้ากระชายดำ ของผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระชายดำ ตลอดจนคัดเลือกพันธุ์กระชายดำที่ลักษณะเหง้าได้รับความพึงพอใจ สูงที่สุด ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบนำสัมภาษณ์เจาะลึกและทดสอบด้านประสาทสัมผัส ผู้ประกอบการจำหน่ายเหง้าพันธุ์ และผลิตภัณฑ์กระชายดำรายใหญ่ในจำเลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลำพูนและเชียงราย จำนวน 51 ราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2546 พบว่าผู้ประกอบการซื้อเหง้ากระชายดำปลีกโดยไม่มีการตกลงราคาผู้ปลูกกระชายดำก่อนการเก็บเกี่ยวแต่ซื้อขายกันเป็นกิโลกรัม ใช้เกณฑ์ในการตั้งราคาและคัดเกรดคือสีเนื้อในเหง้ากระชายดำ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการซื้อเฉพาะเหง้ากระชายดำแต่จำหน่ายทั้งเหง้ากระชายดำสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปกระชายดำและจำหน่ายเองโดยตรง แก่นักเที่ยวและผู้บริโภคหรือส่งไปจำหน่ายต่อยังแหล่งรับซื้อต่าง ๆ รูปแบบผลิตภัณฑ์กระชายดำที่จำหน่ายได้ดีที่สุดและได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้บริโภค คือไวน์สมุนไพรและไวน์สมุนไพรน้ำผึ้งกระชายดำเหง้าพันธุ์กระชายดำมีราคาแพงที่สุด คือ ช่วงเดือนเมษายน ถึง กันยายน โดยเกรดสูงมีราคา 638.65 + 18.32 บาท/กก. เท่านั้น ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญที่สุดคือเงินในการประกอบ ธุรกิจจำหน่ายเหง้าพันธุ์กระชายดำและการตลาด/สถานที่จำหน่าย ประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องการฝึก อบรมมากที่สุดคือ ประเด็นเกี่ยวกับการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ รองลงมาคือ การแปรรูป ผลิตภัณฑ์กระชายดำเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและข้อตกลงในเรื่องราคาของผลผลิตในท้องตลาด ผลการคัดเลือกเหง้ากระชายดำที่ผู้ประกอบการพึงพอใจ โดยใช้ลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าจำนวน 8 ลักษณะจากเหง้ากระชายดำ 12 สายพันธุ์ ที่รวบรวมจากแหล่งปลูกเป็นการค้า 12 แหล่งใน จ. เลย พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ พบว่าเหง้ากระชายดำสายพันธุ์ร่มเกล้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด รองลงมาคือ บ้านกลาง 1 หนองแซง ห้วยน้ำไทร เข็กน้อย 1 บ่อเหมืองน้อย 1 นาข่า และน้ำจวงตามลำดับ โดยอยู่เกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากสำหรับการจัดกลุ่มที่คล้ายคลึงกันในลักษณะสีเนื้อในกระชายดำ (ระบบ a*L*b*) ด้วยวิธี Hierarchical cluster analysis แล้วทำเป็น dendrogram พบว่าสามารถแบ่งกลุ่มสายพันธุ์กระชายดำได้เป็น 2 กลุ่มย่อย ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 6 กลุ่มย่อย โดยพบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสีผิวเนื้อในเหง้ากระชายดำที่วัดด้วยเครื่องวัดสีในระบบ a*L*b* กับความพึงพอใจของผู้ประกอบการในภาพรวมด้วย นอกจากนี้ พบว่า มีเพียงลักษณะสีและผิวเนื้อในกระชายดำเท่านั้นที่มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนความพึงใจ ในภาพรวมของผู้ประกอบการ (r=0.85** และ r=0.70**) สามารถสรุปในชั้นขั้นต้นว่ากระชายดำสายพันธุ์คัดเลือกจากงานวิจัยนี้ ได้แก่ สายพันธุ์ร่มกล้า
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to study the attitudes, purchasing behavior and the criteria the purchasing decisions of the distributors and sellers, and select the collected Krachai-Dam rhizomes which were the highest scores of the distributors’ preferences. To carry out this study, the data were collected by means of indepth-interviewing and sensory evaluation from 51 purposive sample Krachai-Dam product’s distributors and sellers in Loei, Phitsanulok, Phetchabun, Lamphun and Chiang Rai provinces during February to March, in 2003. All of the Krachai-Dam rhizomes which were used for distributor’s selection, were measured the internal skin colour by the colour reader in the system of a*L*b*. The data were analyzed with the SPSS for windows version 8.0. The finding indicated that the distributors purchased retail on kilogram without contract with Krachai-Dam growers before harvest. The most important criteria for price-setting and grading of Krachai-Dam rhizomes were the internal skin colour of the rhizomes. The majority of the distributors purchased only fresh Krachai-Dam rhizomes and sold both Krachai-Dam rhizomes and products. The distribution channels of Krachai-Dam rhizomes were wholesale from the shop and processing to Krachai-Dam products in order to direct sales to the tourists and whole sales to the retailers. The most popular products were Krachai-Dam herbs wine and Krachai-Dam honey wine. The Krachai-Dam rhizomes had high cost during April to September with the average price of the highest grade of 638.62 ± 211.41 bahts/kg and low cost in December with the average price of the highest grade only 92.45 ± 18.32 bahts/kg. The main problems and obstacle encountered were the capital for the Krachai-Dam business and the Krachai-Dam marketing and marketplace. The distributors and sellers stated that the knowledge of the exportation to the foreign marketing was more important needed for the training than Krachai-Dam processing and product’s price agreement in Krachai-Dam marketing respectively. However, the promptly trend for the government was to prove and confirm the actively pharmacological ingredients in Krachia-Dam rhizomes by scientists or pharmacologists. For the results of the provinces cultivar selection of 12 collected Krachai-Dam rhizomes form Loei, Phitsanulok and Phetchabun by using the preference of the distributors and sellers form 8 visual traits revealed that Rom-Klao was the most popular, while Ban-Klang 1 was more popular than Nhong-Saeng, Huay-Nam Sai, Kheg-Noi 1, Boh-Muang-Noi 1, Na-Ka and Nam-Juang respectively (grading in the level satisfactory). Using Hierachical cluster, the a*L*b* colour of internal skin were analysed. The Krachai-Dam cultivars were classified by dendrogram into two main groups (six subgroups) which had good relationship with the cultivar selection by the distributor’s preference. The Spearman’s rank correlation showed that only the preference of the internal skin colour and the internal skin surface of the rhizomes had high positive correlation with the overall preference of the distributors and sellers (r=0.85** and 0.70**). The selected Krachai-Dam cultivar of this research was Rom-Klao.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกพันธุ์กระชายดำสายพันธุ์รวบรวมโดยใช้เกณฑ์ความพึงใจของผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall.ex Baker)
กรมวิชาการเกษตร
2548
เอกสารแนบ 1
โครงการศึกษาสารออกฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้าของเหง้ากระชายดำเพื่อการคัดเลือกเชิงพาณิชย์ การศึกษาลักษณะพันธุ์กระชายดำโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล AFLP การศึกษาทางคลินิกของสารสกัดกระชายดำ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว 3 วิธี การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไทยที่มีประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารสูง (โครงการปีที่ 2) การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไทยที่มีประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารสูง (โครงการปีที่ 2) การคัดเลือกฟักทองเพื่อความหลากหลายของทรงผลและคุณภาพผลที่ดี โครงการวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแป้งพืชศักยภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก