สืบค้นงานวิจัย
สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้
สุขุม แก้วกลับ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้
ชื่อเรื่อง (EN): Prelimary Study on Utilization of Rubber Plantation for Live Stock
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขุม แก้วกลับ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะ ประชากรที่ทำการศึกษาคือ เจ้าของสวนยางที่ทำการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางจำนวน 26 ราย ด้วนวิธีการสุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ และสถิติหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการวิจัย ดังนี้ เจ้าของสวนยางที่เลี้ยงสัตว์ในสวนยางส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46-47 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ส่วนมากแต่งงานแล้ว ในครอบครัวอยู่ร่วมกันเฉลี่ยครอบครัวละ 4-5 คน เจ้าของสวนยางเป็นผู้เลี้ยงสัตว์เอง สภาพของสวนยาง โดยทั่วๆไป ปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากที่สุด อายุยางเฉลี่ย 8.38 ปี มีแปลงหญ้าจำนวน 17.2 ไร่ สวนยางมีวัชพืชหญ้าคามากที่สุด รองลงมาคือหญ้ามาเลเซียและอื่นๆ ตามลำดับ หลังจากปล่อยสัตว์ให้แทะเล็มในสวนยางแล้ว ปริมาณวัชพืชในสวนยางลดลงเหลือประมาณ 10.19% สำหรับการใช้สารเคมี เจ้าของสวนยางใช้สารเคมีก่อนการเลี้ยงสัตว์มีจำนวน 38.64% ไม่ใช้สารเคมี 61.54% หลังจากปล่อยสัตว์แล้ว ปริมาณการใช้สารเคมีลดลง คือใช้สารเคมี 15.38% ไม่ใช้สารเคมี 84.62% ต้นยางที่ได้รับความเสียหายจากการปล่อยสัตว์ในสวนยางมีเพียง 5 ราย คือ วัวเหยียบรากยาง 2 ราย ถ้วยยางเสียหาย 3 ราย เจ้าของสวนยางที่เลี้ยงสัตว์ในสวนยาง ส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการฝึกอบรมมาก่อน ประสบการณ์ในการเลี้ยงสัตว์ ส่วนมากไม่เคยผ่านการเลี้ยงสัตว์มาก่อน จำนวนสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยง ครั้งแรกเฉลี่ย วัว 12 ตัว, แพะ 7 ตัว ปัจจุบันมีสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย วัว 20 ตัว, แพะ 23 ตัว พันธุ์สัตว์ที่เลี้ยงได้มาจากเอกชน เฉลี่ย 30.76% เลี้ยงมาแต่ดั้งเดิม 50% และได้มาจากส่วนราชการ 19.23% เจ้าของสวนยางลี้ยงสัตว์โดยการปล่อยให้แทะเล็มตามธรรมชาติอย่างเดียวเฉลี่ย 80.77% ขังคอกและตัดหญ้าให้กิน 11.54% ปล่อยให้แทะเล็มและตัดหญ้าให้กิน 7.69% การให้อาหารเสริมเฉลี่ย 42.31% ไม่ใช้อาหารเสริม 57.69% โรคของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ไม่เป็นโรคเฉลี่ย 76.92% เป็นโรคเพียง 23.08% ส่วนใหญ่เป็นโรคท้องอืดและโรคพยาธิ ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงสัตว์ในร่มยาง ค่าใช้สอยในการสร้างโรงเรือนเฉลี่ย 1,000-5,000 บาท ค่าพันธุ์สัตว์เฉลี่ย วัว 450 บาท/ตัว แพะเฉลี่ย 400 บาท/ตัว แรงงานที่ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ใช้แรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 88.46% จ้าง 11.63% สำหรับรายได้เสริมจากการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง จากการขายสัตว์เฉลี่ย 12,000 บาท/ปี มูลสัตว์เฉลี่ยได้ประมาณ 2,000 กก./ปี ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรเจ้าของสวนยาง คือ ไม่มีหญ้า หญ้ามีคุณภาพต่ำ เมื่อยางมีอายุมาก วัวเหยียบรากยาง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การเปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนในการทำสวนยางพาราระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของไทย สำรวจสภาพของปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยยางพาราของเกษตรกรในสวนยางพ้นสงเคราะห์ การพัฒนาการผลิตข้าวไร่ในพื้นที่สวนยางพาราและปาล์มน้ำมันภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำรวจโรคและศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจในสวนยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การศึกษาจำนวนไก่พื้นเมืองที่เหมาะสม ต่อพื้นที่ปล่อยเลี้ยงในพื้นที่สวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมันในสภาพของเกษตรกร การใช้ประโยชน์ข่าวสารการเกษตรจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของชาวสวนยางพาราในจังหวัดลำปาง การวิจัยเชิงนโยบายการจัดทำคาร์บอนเครดิต และการประเมินความต้องการการใช้น้ำจากการดำเนินการปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะที่ 3 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 250,000 ไร่ สมรรถภาพการผลิตไก่เบตงในพื้นที่สวนลองกอง สวนผสม และสวนยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดยะลา การปลูกและการจัดการพืชอาหารสัตว์ในสวนยางพารา (2) ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้า 7 พันธุ์ในสวนยางพาราที่จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก