สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของแสงและความเค็มต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลิงทะเล (Holothuria sp.)
วลีรัตน์ มูสิกะสังข์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของแสงและความเค็มต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลิงทะเล (Holothuria sp.)
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of light and salinity on growth rate of Sea Cucumber (Holothuria sp.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วลีรัตน์ มูสิกะสังข์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปลิงทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัด อยู่ใน Phylum Echinodermata, Class Holothuroidea กลุ่มเดียวกับเม่นทะเล ดาวทะเล ดาวขนนก และดาวเปราะ สัตว์กลุ่มนี้ทั้งหมดจะพบอยู่ในทะเล โดยจะพบตั้งแต่เขตชายฝั่งทะเลไปจนถึงความลึกนับพัน ๆ เมตร มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันมักพบที่อุณหภูมิน้ำ อยู่ระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส ความเค็มสามารถอยู่ได้ในระดับ 27-35 พีพีที และจากการศึกษาทางชีววิทยาพบว่าปลิงทะเลไม่ชอบแสงสว่างจึงออกหากินในเวลากลางคืน และหลบฝังตัวขุด รูอยู่ในโคลน ทราย หรืออาศัย อยู่ตามกอสาหร่ายทะเล ปะการัง หน้าตาของปลิงทะเลมีรูปทรงกระบอก ยาวคล้ายไส้กรอก หรือแตงกวา จึงมีผู้เรียกปลิงทะเลว่า แตงกวาทะเล อาหารของปลิงทะเลคือซากพืช ซากสัตว์ พวกมันจึงเปรียบเหมือนเทศบาลแห่งท้องทะเล ปลิงทะเลมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ในแง่ของการย่อยสลายสารอินทรีย์ในตะกอนดิน และปลดปล่อยธาตุอาหาร สู่วงจรอาหารในธรรมชาติ (Chen, 1990) การแพร่กระจายของปลิงทะเล อาศัย อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลในระดับ ความลึก 20-30 เมตร จากการสำรวจพบว่าในน่านน้ำ ไทยมีปลิงทะเลอยู่ถึง 76 ชนิด ปกติแล้วปัจจัยสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของลูกปลิงทะเลระยะลงเกาะพื้นมีด้วยกันหลายปัจจัยจากการศึกษาของ Battaglene et al., (1999) พบว่าอัตรารอดและการเจริญเติบโตของปลิงทะเลวัยอ่อน ขึ้นกับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการและคุณภาพน้ำต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมโดยทั่วไปความเข้มแสงมีผลในทางบวกต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน (Ito and Kitamura, 1997) ซึ่งจะออกหากินในเวลากลางวันที่มีความเข้มแสงเพียงพอต่อการเห็นอาหาร (Sabates et al., 2003) แต่ในสัตว์น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (metamorphosis) เช่น กุ้ง ทะเล ความเข้มแสงที่มากเกินไปจะมีผลด้านลบต่อการเจริญเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของแสงและความเค็มต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลิงทะเล (Holothuria sp.)
กรมประมง
31 มีนาคม 2554
กรมประมง
อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลิงทะเลวัยอ่อน (Holothuria sp.) ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนต่างชนิดกัน ผลของอัตราการให้ปุ๋ยทางดินต่อการเจริญเติบโตของวานิลลา ผลของ Schizochytrium sp. ต่อการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของกุ้งก้ามกรามเพศผู้ ผลกระทบของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง ผลของระดับความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลาช่อนทะเลวัยรุ่น ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก ผลของแสงจากหลอด LED ต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella vulgaris) อิทธิพลของระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะม่วง ระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของกุ้งก้ามแดงวัยอ่อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก