สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
สมปอง แพ่งจันทึก - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมปอง แพ่งจันทึก
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานบางประการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร และศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรที่ผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปีการผลิต 2546/47 ตำบลกันตรวจระมวล อำเภอปราสาท จำนวน 115 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป และใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการนำเสนอข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 56.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44.45 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 5 คน เป็นเพศชายเฉลี่ย 2 คน และเป็นเพศหญิง เฉลี่ย 2 คน มีแรงงานในครอบครัว เฉลี่ย 3 คน แยกเป็นเพศชาย เฉลี่ย 2 คน และเพศหญิง เฉลี่ย 2 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ได้กู้เงินจากแหล่งเงินทุนเพื่อทำการเกษตร โดยกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ญาติ/เพื่อนบ้าน และกองทุนหมู่บ้าน เกษตรกรมีจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระ เฉลี่ย 35,797.24 บาท/ครอบครัว เกษตรกรมีรายได้ในภาคการเกษตร เฉลี่ย 45,958.24 บาท/ครอบครัว และมีรายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 21,765.65 บาท/ครอบครัว และเกษตรกรมีรายได้รวมทั้งหมด เฉลี่ย 75,040.97 บาท/ครอบครัว สำหรับเกษตรกรใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 26.74 ไร่/ครอบครัว โดยปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 23.09 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือปลูกข้าวพันธุ์ กข.15 เกษตรกรร้อยละ 40.9 มีที่ดินเป็นของตนเองบางส่วนและเช่าบางส่วน ส่วนใหญ่สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนและที่ราบ เกษตรกรส่วนใหญ่มีรถไถเดินตามเป็นของตนเอง ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ก่อนทำนา และใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้เองสำหรับปลูก เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งเตรียมดินโดยไถดะ 1 ครั้ง แล้วหว่านข้าว ส่วนที่เหลือเตรียมดินโดยการไถดะ 1 ครั้ง ไถแปร 1 ครั้ง หว่านข้าวแล้วคราดกลบ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านอย่างเดียว สำหรับการใช้เมล็ดพันธุ์ พบว่าเกษตรกรปลูกโดยวิธีปักดำ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 7.86 กิโลกรัม/ไร่ ปลูกโดยวิธีหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 21.07 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มทำนาดำเดือนกรกฎาคม ส่วนนาหว่านเริ่มทำนาหว่านเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ทำนาดำเสร็จเดือนกรกฎาคม ใช้เวลาทำนาดำเฉลี่ย 11 วัน และเกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งทำนาหว่านเสร็จเดือนมิถุนายน รองลงมาทำนาหว่านเสร็จเดือนพฤษภาคม โดยใช้เวลาทำนาหว่าน เฉลี่ย 4 วัน ส่วนใหญ่แปลงนาขาดน้ำเป็นบางช่วงเกษตรกรเกือบทั้งหมดใส่ปุ๋ยหลังจากปลูกข้าวแล้ว โดยครึ่งหนึ่งใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี และร้อยละ 38.3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว ส่วนใหญ่พบวัชพืชขึ้นในนามาก ทำการกำจัดโดยการถอนออก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่พบโรคระบาดในแปลงนา และเกือบทั้งหมดเก็บเกี่ยวข้าวด้วยแรงงานคนทั้งหมด และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยเกษตรกรทั้งหมดตากข้าวแบบสุ่มซัง และวางรายในนา โดยตากเฉลี่ย 5.59 วัน เกษตรกรได้ผลผลิตข้าว เฉลี่ย 346.43 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายข้าวเปลือกบางส่วนและเก็บไว้บางส่วน สำหรับปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าว พบว่าเกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่ง มีปัญหาค่าจ้างแรงงานสูง, ไม่มีน้ำขณะทำนา และราคาข้าวเปลือกต่ำและไม่แน่นอน สำหรับปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรเกินครึ่งหนึ่ง มีปัญหาด้านการปรับปรุงดิน ด้านเมล็ดพันธุ์ดี ด้านการเก็บรักษาข้าวเปลือก ส่วนด้านอื่น ๆ เกษตรกรมีปัญหาอุปสรรคบ้าง เช่น ด้านการปลูกข้าว ด้านการดูแลรักษา และด้านการจำหน่าย ส่วนด้านการป้องกันกำจัดโรคแมลง เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการศึกษาที่ได้ ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของเกษตรกรเป็นหลักโดยตรง โดยการใช้วิธีถ่ายทอดแบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ให้เกษตรกรได้ปฏิบัติจริง มีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ แล้วเกษตรกรเกิดการยอมรับ นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและถูกต้องไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และปัญหาของตนเองได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลตรวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในกิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในกิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในกิ่งอำเภอเหล่าเสือโก๊ก จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลดอนมัน อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลโคกก่อง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก