สืบค้นงานวิจัย
ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
เชิดสุข ภวนะวิเชียร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เชิดสุข ภวนะวิเชียร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประชากรที่ทำการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2,163 คน เป้นเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร 218 คน เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน 1,945 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2529 ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 110 ฉบับ (เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร 37 คน ระดับปฏิบัติงาน 73 คน) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เจ้าหน้าที่ระดับบริหารส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.1 ปี อายุราชการเฉลี่ย 17.3 และจบการศึกษาประกาศนียบัตวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 32.6 ปี อายุราชการเฉลี่ย 8.6 ปี และจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เจ้าหน้าที่ทั้งสองระดับมีลักษณะการปฏิบัติงานแตกต่างกันในแง่การกำหนดแผนงานให้สอดคล้องกับความต้องการตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ทั้งสองระดับเห็นว่า การผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน เข้ากับงานส่งเสริมการเกษตร โดยวิธีการจัดผสมผสานเนื้อหาวิชาด้านประชากร ศึกษาในเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในโครงการจัดไร่นาตัวอย่างวิธีการที่เจ้าหน้าที่ทั้งสองระดับเคยใช้ในการผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาเข้ากับงานส่งเสริมการเกษตร ส่วนมากคือการบรรยาย รองลงมาคือ การประชุม เจ้าหน้าที่ทั้งสองระดับเห็นว่า การผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน เข้ากับงานส่งเสริมการเกษตร ดดยวิธีการจัดผสมผสานเนื้อหาวิชาด้านประชากรศึกษาในเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในโครงกรจัดไร่นาตัวอย่าง วิธีการที่เจ้าหน้าที่สองระดับเคยใช้ในผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาเข้ากับงานส่งเสริมการการเกษตร ส่วนมากคือการบรรยาย รองลงมาคือการประชุม สื่อที่เจ้าหน้าที่ทั้งสองระดับเคยใช้ในการผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาเข้ากับงานส่งเสริมการเกษตรส่วนมากคือ การใช้สื่อบุคคลในการให้ความรู้ประชากรศึกษาแก่บุคคลเป้าหมาย สื่อที่เจ้าหน้าที่ระดับบริหารเห็นว่าควรใช้กี่ผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาเข้ากับงานส่งเสริมการเกษตรส่วนมากคือ 1)สื่อบุคคล 2)สื่อกลุ่ม 3)สื่อมวลชน 4)สื่อพื้นบ้าน เจ้าหน้าที่ทั้งสองระดับเห็นว่า ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ประชากรศึกษาแก่บุคคลเป้าหมาย เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยคือ 1)ด้านการดำเนินงาน 2)ด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทอดให้ความรู้ 3)ด้านงบประมาณในการดำเนินงาน 4)ด้านความเห็นชอบของผู้บังคับบัญชาเบื้องสูง เจ้าหน้าที่ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน เสนอแนะให้ปรับปรุงเนื้อหาและกระบวนการผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาในงานส่งเสริมการเกษตรเป็นอันดับแรกให้ฝึกอบรมเพิ่มเติมร้อยละ 33.3 และ 33.5 ตามลำดับ การทดสอบสมมติฐานพบว่า แตกต่างกันในเรื่องลักษณะพื้นฐานหน้าที่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน แต่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องการผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาเข้ากับงานส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรทั้งระดับบริหารงานและระดับปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ ควรบรรจุนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในงานส่งเสริมการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการจัดไร่นาตัวอย่าง นอกจากนั้นการฝึกอบรมประชากรศึกษาทั้งในเรื่องเนื้อหาและกระบวนการ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน ทั้งนี้ควรวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องบทบาทการผสมผสานความรู้ประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและรูปแบบที่เหมาะสมในการให้ความรู้ด้านประชากรศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริม นอกจากนี้ควรกำหนดให้เป็นนโยบายที่มีความสำคัญของทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2530
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2530
ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการความรู้เพื่อการเขียนเอกสารเผยแพร่การเกษตรของอาจารย์วิทยาลัยเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกของประเทศไทย การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูสอนงานเกษตร ระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย การสื่อสารภายในองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร กรณีศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก