สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีกับผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยด ในกลุ่มชุดดินที่ 6 จ.พัทลุง
ทวีศักดิ์ ชนะสิทธิ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีกับผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยด ในกลุ่มชุดดินที่ 6 จ.พัทลุง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on effect of using high guality organic fertilizer to yeild for Sung Yod rice varity in soil series group number 6, Phatthalung Province ……
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ ชนะสิทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยด ในกลุ่มชุดดินที่ ๖ จ.พัทลุง ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ ๘ บ้านคลองชีพ ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง โดยดำเนินการระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ – พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน ๘ วิธีการ ๓ ซ้ำ ได้แก่ วิธีการที่ ๑ ใช้ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติทั่วไป วิธีการที่ ๒ ปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำของกรมวิชาการเกษตร วิธีการที่ ๓ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๑๐๐ กก./ไร่ วิธีการที่ ๔ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๒๐๐ กก./ไร่ วิธีการที่ ๕ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๓๐๐ กก./ไร่ วิธีการที่ ๖ ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ๑/๒ ของอัตราแนะนำ ๕๐ กก./ไร่ วิธีการที่ ๗ ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ๑/๒ ของอัตราแนะนำ ๑๐๐ กก./ไร่ และวิธีการที่ ๘ ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ๑/๒ ของอัตราแนะนำ ๑๕๐ กก./ไร่ ตามลำดับ ชุดดินแกลง ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ความลึก ๑-๑๕ ซม.ดินมีสีเทามีจุดประสีเหลืองปนน้ำตาล มี pH.5.0 ความลึก ๑๘-๔๐ เซนติเมตรมีจุดประและphเหมือนดินบน ความลึก ๔๐-๑๕๐ ซม.เนื้อดินเป็นดินเหนียวมีสีเทามีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีแดงpH ๔.๕ เป็นดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว จากผลวิเคราะห์ดินพบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างส่วนใหญ่มีค่าลดลง อยู่ระหว่าง ๐.๐๘-๐.๒๓ หน่วยpH โดยวิธีการที่ ๓,๔,๕ (ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๑๐๐,๒๐๐,๓๐๐ กก./ไร่) สามารถยกระดับค่า pH ให้สูงขึ้นมีความเป็นกรดน้อยลง ปริมาณอินทรียวัตถุมีทั้งเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นระหว่าง ๐.๐๑ – ๐.๙๔ % โดยวิธีการที่ ๕ (ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๓๐๐ กก./ไร่) มีการเพิ่มของอินทรียวัตถุสูงสุด คือ ๐.๙๔ % และ วิธีการที่ ๗ (๑/๒ ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ + ๑/๒ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๑๐๐ กก./ไร่) ทำให้ปริมาณของอินทรีย์เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ ๐.๐๑ % ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าเพิ่มขึ้นและลดลงโดยมีค่าเพิ่มขึ้นระหว่าง ๐.๓๔ – ๐.๘๓ ppm และลดลงระหว่าง ๐.๑๗ – ๑.๗๕ ppm โดยวิธีการที่ ๔ (ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๒๐๐ กก./ไร่ ) ช่วยเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงสุด คือ ๐.๘๓ ppm และ วิธีการที่ ๒ (ปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำ) ทำให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ลดลงต่ำสุด คือ ๑.๗๕ ppm ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์มีค่าเพิ่มขึ้นระหว่าง ๘.๐๐ – ๒๘.๕ ppm โดยวิธีการที่ ๕ (ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๓๐๐ กก./ไร่ ) ช่วยเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูงสุด คือ ๒๘.๕ ppm และวิธีการที่ ๘ (๑/๒ ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ + ๑/๒ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา ๑๕๐ กก./ไร่) ทำให้ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ลดลงต่ำสุด คือ ๑๐.๕ ppm ผลการทดลองด้านความสูงของข้าวสังข์หยด พบว่า ทุกวิธีการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่วิธีการที่ ๕ คือ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา ๓๐๐ กก./ไร่ แนวโน้มที่ได้ผลที่สุดซึ่งให้ความสูงเฉลี่ยทั้ง ๒ ปีสูงสุด คือ ๑๔๒ ซม.รองลงมา วิธีการที่ ๘ คือ ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ๑/๒ ของอัตราแนะนำ ๑๕๐ กก./ไร่ ให้ความสูงเฉลี่ย คือ ๑๔๐.๓๗ ซม. ผลการทดลองด้านจำนวนต้นต่อกอของข้าวสังข์หยด พบว่า ทุกวิธีการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่วิธีการที่ ๕ คือ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา ๓๐๐ กก./ไร่ เป็นวิธีการที่มีแนวโน้มที่ได้ผลที่สุดคือให้จำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยทั้ง ๒ ปีสูงสุด คือ ๑๐.๖๕ ต้น/กอ รองลงมา วิธีการที่ ๒ คือ ปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำของกรมวิชาการเกษตรจำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยทั้ง ๒ ปี คือ ๑๐.๔๙ ต้น/กอ ผลการทดลองด้านจำนวนรวงต่อกอของข้าวสังข์หยด พบว่า การทดลองปีที่ ๑ ทุกวิธีการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่วิธีการที่ ๑ คือ ปุ๋ยเคมีตามที่เกษตรกรปฏิบัติทั่วไป และ วิธีการที่ ๒ คือ ปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำของกรมวิชาการเกษตรเป็นวิธีการที่มีแนวโน้มที่ได้ผลที่สุดคือให้จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยสูงสุด คือ ๙.๘๓ รวง/กอ รองลงมา วิธีการที่ ๓ คือ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา ๑๐๐ กก./ไร่ และ วิธีการที่ ๕ คือ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา ๒๐๐ กก./ไร่ ให้จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยคือ ๙.๖๖ รวง/กอ สำหรับปีที่ ๒ พบว่า วิธีการที่ ๒ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับวิธีการที่ ๔ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการที่ ๕ และวิธีการที่ ๗ โดยวิธีการที่ ๒ ให้จำนวนรวงต่อกอสูงสุด คือ ๙.๗๓รวง/กอ ผลการทดลองด้านผลผลิตของข้าวสังข์หยด พบว่า การทดลองปีที่ ๑ วิธีการที่ ๗ และวิธีการที่ ๕ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติแต่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับวิธีการที่ ๑,๓,๔,๖ และ ๘ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ โดยวิธีการที่ ๗ ให้ผลผลิตเฉลี่ย ๓๓๑.๘๖ กก.ต่อไร่ และวิธีการที่ ๕ ให้ผลผลิตเฉลี่ย ๓๒๗.๙๐ กก.ต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): Study on effect of using high quality organic fertilizer with green manure and chemical fertilizer on yield for Sung Yod rice varity in soil series group number 6,Satun series, Satun Province to oprerate Out during 2010 – 2013 in mu.3 Kuan Po village, Kuan Po Region, Maung Distritc, Satun Province. The experiment was in RCB designed with 3 replication 8 treatments. That is T1 = Chemical fertilizers by the farmers practice T2 = Fertilizer accoding to the instructions T3 = High quality organic fertilizer rates 100 kg./rai. T4 = High quality organic fertilizer rates 150 kg./rai. T5 = High quality organic fertilizer rates 200 kg./rai. T6 = 1/2 Fertilizer accoding to the instructions + 1/2 High quality organic fertilizer rates 50 kg./rai. T7 = 1/2 Fertilizer accoding to the instructions + 1/2 High quality organic fertilizer rates 75 kg./rai. and T8 = 1/2 Fertilizer accoding to the instructions + 1/2 High quality organic fertilizer rates 100 kg./rai. respectively Soil analysis found that. Satun soil series is deeps clay group. With caused by river sediment. Soil is very acid reaction. Lower soil fertility. Drainage bed to very bed. Water shortages in to dry season. Flooding in the rainy season is long 3-4 months Soil analysis found that. The pH is most decreased between 0.01 – 0.15 % pH units. By method 5 can enhance pH for higher and acidity decreased. Organic matter have both increased and decreased. Increased between 0.17 – 0.34% and decreased between 0.55 – 1.09 %. By method 3 with the addition highest organic matter 0.34 % and method 7 decreased lower organic matter 1.09 %. Available Phosphorus have both increased and decreased. Increased between 0.34 – 0.83 ppm. and decreased between 0.16 – 1.83 ppm. By method 4 enhance higher is available phosphorus 0.83 ppm. and method 2 decreased lower is available phosphorus 1.83 ppm. Available Potasium the increased between 8.17 – 23.34 ppm. By method 5 enhance higher is available potassium 23.34 ppm. and method 4 decreased lower is available potassium 15.17 ppm. The results it height sung yod rice. Found that experimental method non statistical difference. But method 1 incline to effective which for highest average of two year is 161.85 cm. subordinate method 8 is 158.91 cm. The results it number of plant per clump sung yod rice. Found that experimental method non statistical difference. But method 2 incline to effective which number of plant per clump average of two year is 10.42 ton/koh subordinate method 1 is 10.33 ton/koh The results it number of grains per clump sung yod rice. Found that one year experimental. Experimental method non statistical difference. But method 1 and method 2 incline to effective which number of grains per clump highest average is 9.83 raung/koh Subordinate method 3 and method 5 is 9.66 raung/koh. For two year found that method 2 has different statistical significance. The 95 percent confidance level. against method 4. But non statistical difference against method 5 and method 7. By the method 2 for number of grains per clump hightes is 9.73 raung/koh. The results is productivity sung yod rice. Found that one year experiment. Method 7 and method 5 non statistical difference but different statistical significance. The percent level of confidance 95 against method 1,3,4,6 and method 8. By the method 7 and method 5 for productivity is 331.86 kg./rai and 327.90 kg./rai.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291611
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีกับผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยด ในกลุ่มชุดดินที่ 6 จ.พัทลุง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตลองกอง การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ศึกษาอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน กับผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 จ.พัทลุง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยด ในกลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินสตูล จ.สตูล การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยพืชสด และน้ำหมักมูลสุกรเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 38 ศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ผลการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่างชนิดต่อผลผลิตข้าวนอกนา การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งในชุดดินกำแพงแสน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก