สืบค้นงานวิจัย
การรวบรวมสายพันธุ์เห็ดป่าและศึกษาคุณสมบัติ prebiotic และสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่าของป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
ธารทิพย์ รัตนะ, ธนากร แสงสง่า - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง: การรวบรวมสายพันธุ์เห็ดป่าและศึกษาคุณสมบัติ prebiotic และสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่าของป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Collection and study on probiotic and anti-oxidant properties of edible mushrooms collected Sakaerat forest, Nakorn Ratchasima
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและพรีไบโอติกในเห็ดป่าจากพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ เห็ดระโงกขาว (Amanita princeps Corner and Bas.) เห็ดระโงกเหลือง (A. hemibapha (Berk.. et Br.) Sacc. subsp. javanica Corner et Bas.) เห็ดน้ำแป้ง (Russula alboareolata Hongo) เห็ดตะไคล (R. delica Fr.) เห็ดน้ำหมาก (R. luteotacta Rea.) เห็ดหล่มหมวกเขียว (R. aeruginea Lindbl.) เห็ดขมิ้นเล็กหรือเห็ดมันปูเล็ก (Cantharellus minor Peck.) เห็ดขมิ้นใหญ่ (Craterellus oderatus (Schw.) Fr.) และเห็ดบดหรือเห็ดลมหรือเห็ดกระด้าง (Lentinus polychrous Lev.) การศึกษานี้วัดสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด คลอโรฟิลล์ เบต้าแคโรทีน ไลโคปีน และวัดการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์พรีไบโอติกของ Lactobacillus sp. ผลการศึกษาพบว่าเห็ดบดหรือเห็ดลมมี IC50 เท่ากับ 47.89, 49.00 และ 49.56 %, ที่ความเข้มข้น 15, 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งค่าสูงกว่า Trolox, IC50 เท่ากับ 36.405 % โดยเห็ดบดหรือเห็ดลมเป็นเห็ดเพียงชนิดเดียวที่มีค่าสูงกว่าสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน มากไปกว่านั้นเห็ดชนิดนี้ยังมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงที่สุดอีกด้วยที่ 18.646 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิกรัม ผลการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และเบต้าแคโรทีนสูงที่สุดในความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในเห็ดน้ำหมาก ในส่วนของคุณสมบัติใน การเป็นพรีไบโอติก ของเห็ดอบแห้งนั้นมีการเจริญของจุลินทรีย์แตกต่างกันไป ตามชนิดของเห็ดที่ใช้ทดสอบ โดยส่วนก้านของเห็ดระโงกขาวและส่วนหมวกของเห็ดระโงกเหลืองแสดงถึงความสามารถในการส่งเสริมการเจริญสูงที่สุด ที่ 173.411 และ 178.74 % ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The antioxidant and prebiotic properties was studied in nine wild edible mushrooms in Sakaerat biosphere reverse: Amanita princeps Corner and Bas., A. hemibapha (Berk. Et Br. Sacc. Subsp. javanica Corner et Bas.), Russula alboareolata Hongo, R. delica Fr., R. luteotacta Rea., R. aeruginea Lindbl., Cantharellus minor Peck., Craterellus oderatus (Schw.) Fr. and Lentinus polychrous Lev. This study was measured DPPH radical scavenging activity, total phenolic content, chlorophyll, ?-carotene, lycopene and enhanced activity of Lactobacillus sp. It was found that Lentinus polychrous Lev. had IC50 as 47.89, 49.00 and 49.56 %, in concentration at 15, 25 and 50 mg/ml respectively higher than Trolox, IC50 as 36.405 %. It was showed that one type mushroom has higher antioxidant. Moreover, Lentinus polychrous Lev. showed the most of chlorophyll at 18.646 mg/100mg. The analysis revealed that R. luteotacta Rea. was showed the highest total phenolic contents and ?-carotene at 65.99 mg GAE/g and 0.559 mg/100mg of concentration at 25 mg/ml. Potential prebiotic activity of dried wild mushroom was showed different growth characteristics dependently on used mushrooms. The dried mushrooms of the stalk of Amanita princeps Corner and Bas. and the cap of A. hemibapha (Berk. Et Br. Sacc. Subsp. javanica Corner et Bas.) showed the most of enhance activity at 173.411 and 178.74 % respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรวบรวมสายพันธุ์เห็ดป่าและศึกษาคุณสมบัติ prebiotic และสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่าของป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
30 กันยายน 2559
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาและการระบุชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดดิ้ง (ปีที่ 2) การตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่ารับประทานได้ทั้งแบบเห็ดสดและเห็ดสุกในจังหวัดน่าน 2559A17002025 การตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่ารับประทานได้ทั้งแบบเห็ดสดและเห็ดสุกในจังหวัดน่าน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคในอาหารของสายพันธุ์เห็ดป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา และการนำไปประยุกต์ใช้ในอาหาร ศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบหม่อนพันธุ์ต่างๆ สารถนอมอาหารจากขิงสกัดเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันพืชและสารต้านแบคทีเรีย (ระยะที่ 2) การพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระจากสารประกอบฟีนอลิคในธรรมชาติ การศึกษาการสลายตัวของสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการผลิตชา การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก