สืบค้นงานวิจัย
การรักษาคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
ศุภวรรณ ถาวรชินสมบัติ, อัณนภา สุขลิ้ม - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อเรื่อง: การรักษาคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Preservation of Brown Rice Quality after Harvesting Using Gamma Irradiation Technology for Food Security Purpose
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้รังสีแกมมาระดับต่ำ 0.5 1.0 และ 1.5 กิโลเกรย์ ในการรักษาคุณภาพข้าวกล้องข้าวปทุมธานี 1 ภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยฉายรังสีแกมมาใน 2 สภาวะคือข้าวกล้องและข้าวเปลือก เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องนาน 6 เดือน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพ เคมี หุงต้ม และรับประทาน ผลการศึกษาพบว่าการฉายรังสีในสภาวะข้าวกล้องมีผลต่อคุณภาพมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีในสภาวะข้าวเปลือก โดยข้าวกล้องเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาต่างๆ ดังนี้ การฉายรังสีข้าวกล้องในสภาวะข้าวกล้องไม่มีผลต่อค่าสีเหลืองของข้าวก่อนและหลังการหุงต้ม แต่พบว่าสีเหลืองเข้มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา (p?0.05) การฉายรังสีมีผลทำให้ความคงตัวของแป้งสุก ระยะเวลาการหุงสุก และความหนืดลดลง การฉายรังสีทำให้ปริมาณอะไมโลสเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยและเมื่อเก็บรักษาข้าวกล้องฉายรังสีมีปริมาณอะไมโลสเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา (p?0.05) สอดคล้องกับความแข็ง ความคงตัวของแป้งสุกที่เพิ่มขึ้น และระดับการสลายตัวของเมล็ดข้าวในด่างที่ลดลง เมื่อนำข้าวกล้องฉายรังสีที่เก็บรักษาไปหุงต้มจะพบว่าข้าวกล้องฉายรังสีมีการขยายปริมาตรมากขึ้น เนื่องมาจากการดูดซึมน้ำของเมล็ดข้าว ทำให้ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำข้าวมีค่าลดต่ำลง เมื่อทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสข้าวกล้องหุงสุกที่ผ่านการฉายรังสีเก็บรักษานาน 6 เดือน ทั้งอุ่นและเย็นพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับข้าวกล้องฉายรังสี 0.5 และ 1.0 กิโลเกรย์ มากกว่าข้าวกล้องที่ไม่ได้ฉายรังสีในด้านสี กลิ่น ความนุ่ม การเกาะตัว ลักษณะปรากฏ และความชอบโดยรวม การฉายรังสีทำให้ปริมาณกรดไขมันอิสระมีค่าเพิ่มขึ้นแต่ไม่ทำให้ค่า TBA แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยในระหว่างการเก็บรักษาพบว่าค่า TBA มีแนวโน้มลดต่ำลง ส่วนการฉายรังสีข้าวกล้องในสภาวะข้าวเปลือกไม่มีผลต่อค่าสีเหลืองของข้าวก่อนหุงสุก (p>0.05) แต่พบว่าข้าวมีเหลืองเข้มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา (p?0.05) โดยข้าวกล้องฉายรังสีจะมีสีเข้มขึ้นมากกว่าข้าวกล้องที่ไม่ได้ฉายรังสี การฉายรังสีไม่มีผลต่อปริมาณอะไมโลส ความแข็ง ความคงตัวของแป้งสุก การสลายตัวในด่าง การขยายปริมาตร การดูดซึมน้ำ และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำ (p>0.05) แต่ทำให้ความหนืดลดลง (p?0.05) เมื่อเก็บรักษาข้าวกล้องฉายรังสีพบว่าระยะเวลาการเก็บรักษาทำให้ปริมาณอะไมโลสเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความแข็งที่เพิ่มขึ้น ระดับการสลายตัวของเมล็ดข้าวในด่างที่ลดลง เมื่อทำการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความชอบโดยรวมของข้าวกล้องหุงสุกเย็นที่ผ่านการฉายรังสี 0.5 กิโลเกรย์มากกว่าข้าวกล้องที่ไม่ฉายรังสี (p?0.05) เนื่องจากมีคะแนนด้านกลิ่น การเกาะตัว และลักษณะปรากฏที่ดีกว่า การฉายรังสีทำให้ปริมาณกรดไขมันอิสระลดลงแต่ไม่มีผลต่อค่า TBA (p>0.05) ในระหว่างการเก็บรักษาพบว่าปริมาณกรดไขมันอิสระมีค่าเพิ่มขึ้น (p?0.05) แต่ไม่แตกต่างจากข้าวกล้องไม่ฉายรังสีเมื่อเก็บรักษา 6 เดือน (p>0.05)
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to investigate use of low-dose gamma irradiation at 1, 2, and 3 kGy to Pathumthani 1 brown rice after harvesting. Irradiation was performed on rice under 2 different conditions i.e., brown rice and paddy rice, which subsequently dehulled before analysis, and kept 6 months at ambient temperature. Physical, chemical, cooking, and eating qualities of irradiated rice was determined after irradiation and during storage. Results showed that qualities of brown rice irradiated as brown rice were affected to a higher degree comparing to paddy rice. Irradiating brown rice had no significant change on yellowness or b* value both before and after cooking; but the yellowness increased with storage time. Irradiation caused a reduction on gel consistency, cooking time, and pasting properties; but slightly increased amylose content which tended to increase during storage. With an increase of amylose content, hardness, gel consistency, and alkali spreading value decreased accordingly. When cooking, brown rice absorbed more water resulting in a greater volume expansion and lower total solid leached in water. Cooked brown rice was sensory evaluated, it was demonstrated that acceptance of 0.5 and 1.0 kGy color, odor, softness, consistency, and overall acceptance was higher than non-irradiated rice. Free fatty acid in brown rice was found higher after irradiation, and TBA value decreased during storage. Irradiating paddy rice had no significant effect on yellowness or b*value of rice before cooking, and the yellowness increased with doses and time. Irradiation had no effect on amylose content, hardness, alkali spreading value, volume expansion, water absorption, total solid leached in water; but lowered pasting properties. During storage, amylose content and hardness increased, alkali spreading value decreased. Sensory evaluation showed that overall acceptance of 0.5 kGy rice was higher than non-irradiated rice because of its superior odor, consistency, and appearance. Free fatty acid content was affected by irradiation which tended to increase during storage; whereas TBA was not affected.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรักษาคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยวโดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีแกมมาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
30 กันยายน 2556
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของการใช้รังสีแกมมาต่อคุณภาพของข้าว วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ระยะที่ 2) ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง การจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า การศึกษาวิธีกำจัดแมลงในข้าวกล้องและข้าวสารโดยใช้รังสีอินฟราเรด การปรับปรุงคุณภาพด้านการหุงสุกของข้าวกล้องที่มีสีด้วยเทคโนโลยีพลาสมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก