สืบค้นงานวิจัย
วิสาสาเหตุของโรคพริกไทยในประเทศไทย
ดวงใจ ชูปัญญา และชัยณรงค์ บุญเข็มทอง - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: วิสาสาเหตุของโรคพริกไทยในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Virus Diseases of Black Pepper in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงใจ ชูปัญญา และชัยณรงค์ บุญเข็มทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duangchai Choopanya and Chainarong Boonkemthong
คำสำคัญ: พริก
บทคัดย่อ: โรคใบด่างของพริกไทยที่แพร่ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกในเขตจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้น มี 2 ลักษณะอาการที่แตกต่างกัน คือ ลักษณะอาการแรก ใบมีสีเหลืองทั่วทั้งใบ ผิวใบไม่เรียบ ใบม้วนงอ ขนาดของใบเล็กลง บางครั้งแตกยอดออกเป็นใบฝอย ยอดงัน ลำต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เมื่อนำใบพริกไทยที่แสดงอาการของโรคนี้มาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบเชื้อวิสาท่อนยาวคด ขนาด 15 x 800 - 1,000 นาโนเมตร และอีกลักษณะหนึ่งที่พบ คือ ใบอ่อนมีอาการด่างสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดปกติแต่ใบแก่เห็นอาการด่างไม่ชัดเจน โรคนี้สามารถถ่ายทอดไปยังชะพลูและโคลูบรินัมได้ด้วยวิธีทาบกิ่งและต่อใบ แต่ไม่สามารถถ่ายทอดผ่านทางน้ำคั้น จากการตรวจหาสาเหตุของโรคนี้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนโดยวิธี leaf dip พบเชื้อวิสาชนิดกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 53-57 นาโนเมตร นอกจากนี้ ลักษณะภายในของเซลล์ของในพริกไทยที่เป็นโรคจะแฟบบางและเล็กลง รวมตัวกันเป็นกระจุก และนิวเคลียสของเซลล์ผิดปกติ ดังนั้นสามารถสรุปได้โรคใบเหลืองของพริกไทยเกิดจากเชื้อวิสาท่อนยาวคด และโรคใบด่างของพริกไทยเกิดจากเชื้อวิสาชนิดกลม
บทคัดย่อ (EN): Symptoms of two different diseases of black pepper are widely observed in Thailand. The first disease is characterised by a yellowing of the leaves and roughening of the leaf surfaces, with leaf curling. the leaves are also reduced in size and there is a shortening of internodes and stunting of stem growth. Sometimes many small leaves develope from a bud where normally there would be a single leaf. The internal strcuture of the diseased leaves showed the leaf cells were shrunken and aggreagated, with the nuclei also being abnormal. the causal agent of this disease was detected using an electron microscope and leaf-dip method. Flexuous rod virus particless about 15 x 500 - 1000 nm. long were isolated from teh yellowing portions of the leaves. The second disease is characterised by mosaic symptoms with the size of teh leaves remanining normal, Electron microscope examination black pepper leaves and wild betal leafbush leaves with the symptoms, showed isometric virus particles 53 - 57 nm. in diameter. Both diseases can be transmitted by grafting but not by sap transmission.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2529
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วิสาสาเหตุของโรคพริกไทยในประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตร
2529
เอกสารแนบ 1
โรคโคนและรากเน่าของพริกไทย การควบคุมศัตรูสำคัญของพริกด้วยเชื้อราสาเหตุโรคและแมลง Beauvaria Bassiana การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสสาเหตุโรคจากเชื้อ Colletotrichum spp. และส่งเสริมการเจริญเติบโตในพริก ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 25 เรื่อง คุณภาพและความปลอดภัย น้ำพริกพร้อมบริโภค ของประเทศไทย เชื้อก่อโรคใน... น้ำพริก โครงการย่อยที่ 3: การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ควบคุมโรคทางดินและโรคหลังการเก็บเกี่ยวของพริกกะเหรี่ยงบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตพริกไทยที่มีคุณภาพ การพัฒนาวิธีการมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์เพื่อการตรวจจำแนกเชื้อบีโกโมไวรัสที่เข้าทำลาย มะเขือเทศ พริก และ พืชตระกูลแตงในประเทศไทย สมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน: พริกไทย น้ำพริกหนุ่มกับเชื้อก่อโรค อี. โคไล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก