สืบค้นงานวิจัย
การใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกรในเขตชลประทาน จังหวัดศรีสะเกษ
สิริวรนุช โพธิ์หน่อทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกรในเขตชลประทาน จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่อง (EN): Land Utilization for Grops Cultion in Dry Season of Farmers in Irrigated Areas, Changwat Sisaket.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิริวรนุช โพธิ์หน่อทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกรในเขตชลประทาน 2) ระบบการปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกรในเขตชลประทาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจกับการใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านการปลูกพืชฤดูแล้ง การวิจัยดำเนินการในพื้นที่เขตโครงการชลประทานขนาดกลาง 4โครงการจังหวัดศรีสะเกษได้แก่ โครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำ ห้วยตามาย ห้วยศาลา หนองสิ และห้วยซัน จำนวนเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด 360 คน ผลการวิเคราะห์สภาพสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 68.2 จบการศึกษาระดับชั้นประถม 4 จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.6 คน จำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3.5 คน ระยะเวลาทำการเกษตรเฉลี่ย 26.1 ปี จำนวนการเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมร้อยละ 76.5 มีประสบการณ์ในการปลูกพืชฤดูแล้งร้อยละ 65.8 จำนวนแรงงานในการปลูกพืชฤดูแล้งเฉลี่ย 7.8 คน เกษตรกรได้รับข่าวสารเรื่องการปลูกพืชฤดูแล้งจากสื่อบุคคลมากที่สุด ได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับพืชฤดูแล้งร้อยละ 31.8 มีทัศนคติที่ดีต่อการปลูกพืชฤดูแล้งร้อยละ 70.6 สำหรับตัวแปรทางเศรษฐกิจพบว่า เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 20,022.50 บาทต่อปี มีขนาดที่ดินถือครองเฉลี่ยครอบครัวละ 17.6 ไร่ จำนวนพื้นที่รับน้ำชลประทานเฉลี่ย 8.5 ไร่ ขนาดของพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งเฉลี่ย 3.1 ไร่ เงินทุนในการปลูกพืชฤดูแล้งเฉลี่ย 1,610.30 บาท/ไร่ ผลการวิเคราะห์ตัวแปรระบบการปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรปลูกถั่วลิสงมากที่สุด ฤดูกาลที่จำเป็นในการใช้น้ำ ช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ผลผลิตพืชฤดูแล้งที่ได้รับเฉลี่ย 439.4 กก./ไร่ การคมนาคมขนส่งพืชฤดูแล้งมึวามสะดวกร้อยละ 86.5 ส่วนด้านระบบชลประทานพบว่าเกษตรกรได้รับน้ำโดยครงจากคู่ส่งน้ำร้อยละ 66.1 โดยมีแปลงปลูกพืชห่างจากคูส่งน้ำต่ำกว่า 500 เมตร ด้านความเหมาะสมของคูส่งน้ำเกษตรกรร้อยละ 82.7 ระบุว่าคูส่งน้ำมีขนาดเหมาะสม ร้อยละ 55.8 ได้รับน้ำชลประทาน อย่างเพียงพอ และร้อยละ 59.8 ได้นับน้ำชลประทานสม่ำเสมอ การพิสูจน์สมมติฐาน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรกับการใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งพบว่า ราคาผลผลิตพืชฤดูแล้ง จำนวนแรงงานในการปลูกพืชฤดูแล้งและประสบการณ์ในการปลูกพืชฤดูแล้งสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของการใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งได้ร้อยละ 58.65 ปัญหาที่เกษตรกรระบุในระดับสูง คือ ผลผลิตมีราคาต่ำ มีโรคแมลงรบกวน ขาดเงินลงทุนขาดความรู้และประสบการณ์ในการปลูกพืชฤดูแล้ง มีการปิดกั้นน้ำและเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการใช้น้ำชลประทาน เกษตรกรระบุข้อเสนอเนะว่าควรมีการจัดกลุ่มผู้ใช้น้ำ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชฤดูแล้งการใช้น้ำชลประทาน และการบริหารงานแก่กลุ่มผู้ใช้น้ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดศรีสะเกษ
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งของเกษตรกรในเขตชลประทาน จังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2539
ทัศนคติของเกษตรกรต่อการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งโครงการพัฒนาการเกษตรในเขตชลประทาน ปี 2539/2540 จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่มีผลต่อการใช้พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานน้ำอูน จังหวัดสกลนคร การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่ลูกผสมเพื่อปลูกในดินนาฤดูแล้งเขตชลประทานภาคกลาง ความพึงพอใจต่อการรับบริการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทานลุ่มน้ำชี การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพดีเชิงบูรณาการ โดยเกษตรกรต้นแบบสู่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่นอกเขตชลประทานจังหวัดสุพรรณบุรี (ปีที่2) การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรอำเภอโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เทคโนโลยีการปลูกถั่วลิสงโดยไม่มีการไถพรวนของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ ความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีการปลูกอ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก