สืบค้นงานวิจัย
การจัดการการผลิตและการตลาดจิ้งหรีดในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น
ทัศพร คำสีทา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตและการตลาดจิ้งหรีดในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทัศพร คำสีทา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปในจัดการการผลิต ต้นทุนและรายได้ ระบบการตลาด และปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงจิ้งหรีดของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 30 ราย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า สภาพทั่วไปของผู้ประกอบการเลี้ยงจิ้งหรีด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 60.00 อายุโดยเฉลี่ย 48 ปี และระดับการศึกษาของเกษตรกรส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 73.30 ด้านสถานภาพการสมรสของเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 96.70 สมรสแล้วอยู่ด้วยกัน อาชีพหลักของผู้เลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่ทำการเกษตร ร้อยละ 96.70 ส่วนอาชีพรองคือการทำการเกษตร(เลี้ยงจิ้งหรีด) ร้อยละ 96.70 เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 53.30 การเลี้ยงจิ้งหรีดของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว ร้อยละ 63.30 โดยเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริมมีอาชีพหลักคือการทำการเกษตร จำนวนแรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่เลี้ยงคนเดียว คิดเป็นร้อยละ 90.00 พันธุ์จิ้งหรีดที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงมี2 พันธุ์ ได้แก่ 1) จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย เพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว นิสัยไม่ดุไม่กัดกินกันเอง รสชาดอร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภค 2)จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ เพราะเป็นจิ้งหรีดที่ตัวโต ทานอร่อย มีกากใยสูง ส่วนระยะเวลาการเลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่เกษตรกรใช้เวลาการเลี้ยง 45 วันก็นำออกจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 73.30 ในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดครั้งแรกเกษตรกรซื้อพันธุ์มาจากในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด ของเกษตรกรทั้ง2 กลุ่มที่แยกตามขนาดบ่อการเลี้ยงจิ้งหรีด ปีการผลิต 2552/53 เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในวงบ่อซีเมนต์ พบว่ามีผลผลิตต่อบ่อ เท่ากับ 4.45 กิโลกรัมต่อบ่อ ต้นทุนเฉลี่ย 39.52 บาท ราคาจิ้งหรีดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 94.70 บาทต่อกิโลกรัม รายได้เฉลี่ย เท่ากับ 421.41 บาท ต้นทุนทั้งหมด 175.90 บาทต่อกิโลกรัม และมีกำไรจากการขายจิ้งหรีด 66.73 บาทต่อกิโลกรัม ด้านต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดแบบกล่อง พบว่าผลผิตจิ้งหรีดต่อกล่อง เท่ากับ 15.47 กิโลกรัม ต้นทุนเฉลี่ย 1,332.74 บาท ราคาจิ้งหรีดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 1,332.74 บาท ส่วนต้นทุนทั้งหมด เท่ากับ 1,032.45 บาทต่อกิโลกรัม และมีกำไรจากการขายจิ้งหรีด 300.29 บาท การศึกษาด้านการตลาดพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่ทำการซื้อขายจิ้งหรีดภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง ออกขายตามตลาดนัด จำหน่ายที่ร้ายแมลงทอดภายในจังหวัดขอนแก่น หรือเกษตรกรบางกลุ่มมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อจิ้งหรีดถึงฟาร์ม โดยพ่อค้าคนกลางซื้อจิ้งหรีดที่ได้ไปจำหน่ายยังตลาดกลางสินค้าเกษตรอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และห้องเย็นตลาด โรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.70 ไม่มีการส่งเสริมการขายจิ้งหรีด เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 เลี้ยงจิ้งหรีดจำหน่ายเองในพื้นที่ ด้านราคาขายปลีกจิ้งหรีดส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.70 ขายปลีกจิ้งหรีดราคากิโลกรัมละ 100 บาท ราคาขายส่งจิ้งหรีดของเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.00 ขายส่งราคากิโลกรัมละ 80 บาท และเกษตรกรขายขันไข่จิ้งหรีดราคาขันละ 50 บาท จำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อจิ้งหรีดในแต่ละวันส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.30 มีจำนวน 1-10 คน เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดทั้งหมดขายจิ้งหรีดในจังหวัดขอนแก่น และปริมาณการผลิตจิ้งหรีดออกจำหน่ายในแต่ละรุ่นส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.70 ผลิต 1-50 กิโลกรัม ปริมาณการผลิตเฉลี่ย 64 กิโลกรัม การศึกษาจุดแข็งการเลี้ยงจิ้งหรีด พบว่า จิ้งหรีดที่เกษตรกรเลี้ยงมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด มีแรงงานในการเลี้ยงจิ้งหรีดเพียงพอ และมีการดูแล ซ่อมบำรุงและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีดอยู่เสมอจึงไม่เกิดปัญหาการเลี้ยงจิ้งหรีด จุดอ่อนของการเลี้ยงจิ้งหรีด คือเมื่อเลี้ยงจิ้งหรีดถึงระยะตัวเต็มวัยต้องรีบจับจิ้งหรีดจำหน่ายเพราะถ้าช้าจะทำให้จิ้งหรีดตายก่อน พ่อค้าผู้รับซื้อจิ้งหรีดบางรายผิดนัดไม่มารับซื้อจิ้งหรีดตามกำหนดทำให้เกษตรกรบางรายขายจิ้งหรีดไม่ได้ หรือรับซื้อจิ้งหรีดในราคาต่ำทำให้ขาดทุน โอกาส กลุ่มลูกค้า(ผู้บริโภค)มีความแน่นอนในความต้องการสินค้า สามารถขยายตลาดสินค้าได้จากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ช่วยประชาสัมพันธ์ ตลาดยังมีความต้องการสินค้าอยู่ ด้านอุปสรรค ราคาการซื้อขายจิ้งหรีดจากพ่อค้าคนกลางไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้าทดแทนจิ้งหรีดมากขึ้น เช่น ตั๊กแตน หนอนรถด่วน แมงดา ปัญหาอุปสรรคของการเลี้ยงจิ้งหรีด คือ ด้านการตลาด บางครั้งเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีดได้จำนวนมากหากพ่อค้าคนกลางไม่เข้ามารับซื้อ หรือซื้อในราคาที่ต่ำทำให้เกษตรกรขาดทุน บางครั้งผลิตจิ้งหรีดแล้วขายไม่ได้เนื่องจากพ่อค้ามาซื้อจิ้งหรีดไม่ตรงตามเวลานัด ปัญหาด้านอื่น ๆ เช่นจิ้งหรีดตัวเล็ก ฤดูหนาวจิ้งหรีดชะงักการเจริญเติบโตไม่กินอาหาร ไข่น้อย โรคและแมลงศัตรูจิ้งหรีด อาหารเลี้ยงจิ้งหรีดมีราคาแพง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการการผลิตและการตลาดจิ้งหรีดในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2553
การวิเคราะห์ระบบการตลาดปลาช่อนในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การจัดการการผลิตและการตลาดเสื่อธูปฤาษีอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น ปี 2546 การเปรียบเทียบการผลิตและการตลาดยางพารา ระหว่างจังหวัดขอนแก่นกับจังหวัดหนองคาย ปี 2549 ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก