สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้านและเครื่องสาวไหม ปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง
พิกุล รอนณรงค์ - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้านและเครื่องสาวไหม ปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Comparative Study of Silk Yarn Quality Produced by Indigenous Reeling and Improved Reeling with the Re-reeling Tool
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิกุล รอนณรงค์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pikul Ronnarong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้านและเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง โดยเปรียบเทียบเส้นไหม ประเภทไหมหนึ่ง พันธุ์เหลืองสระบุรีที่เกษตรกรสาวจ านวน 200 คน ในจังหวัดชัยภูมิ ตาม มาตรฐาน มกษ.8000-2555 พบว่า การจัดชั้นคุณภาพเส้นไหมจากเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่งและจาก เครื่องสาวไหมพื้นบ้าน จัดอยู่ในชั้นพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 78.5 และ 20.5 ส่วนคุณภาพของเส้นไหมในด้านขนาด ความเหนียว และการยืดตัว คือ 281.79 ดีเนียร์ 3.32 กรัม/ดีเนียร์ 27.77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับเครื่องสาว ไหมพื้นบ้าน 240.81 ดีเนียร์ 3.63 กรัม/ดีเนียร์ 30.11 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้า เหล่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคุณภาพผ้าไหมและประสิทธิภาพในการผลิตผ้าไหม ซึ่งใน กระบวนการผลิตผ้าไหมจะผลิตผ้าไหม 1 ชุด ขนาด 4 เมตร คือ ผ้ามัดหมี่สามสี 2 เมตร และผ้าพื้น 2 เมตร โดยเกษตรกรผู้ทอผ้าไหม จ านวน 10 คน พบว่า ในการผลิตผ้าไหมจากเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิด เข้าเหล่งใช้เวลาในการทำตั้งแต่กระบวนการลอกกาวไหมจนถึงได้ผืนผ้า 100.20 ชั่วโมง และในการผลิตผ้าไหมจาก เส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้าน ใช้เวลา 106.30 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลามากกว่า 6.10 ชั่วโมง ดังนั้นเส้นไหมที่ ได้จากเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่งมีประสิทธิภาพในการผลิตผ้าดีกว่าเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้าน ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตด้วย สำหรับคุณภาพผ้าไหมในด้านความแข็งแรง ความต้านแรงฉีก การเปลี่ยนแปลง หลังการซัก การขึ้นและเม็ด และความต้านทานต่อการขัดถู จากเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง มีค่าเฉลี่ย 855.35 นิวตัน 68.15 นิวตัน -2.9 เปอร์เซ็นต์ ระดับ 4 และ 6,333.25 รอบ จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ย 900.21 นิวตัน 73.13 นิวตัน -2.43 เปอร์เซ็นต์ ระดับ 4 และ 6,583.5 รอบ ซึ่งคุณภาพของผ้าไหมที่ได้จากเครื่อง สาวไหมพื้นบ้านดีกว่าเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง ส่วนความพึงพอใจของเกษตรกรที่ใช้เส้นไหมจากเครื่อง สาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่งและจากเครื่องสาวไหมพื้นบ้านในการผลิตผ้าไหมมีความพึงพอใจมากที่สุดในทุก ขั้นตอนการผลิต ดังนั้นเพื่อพัฒนาเกษตรกรให้ผลิตเส้นไหมให้ได้ตามมาตรฐาน มกษ.8000-2555 จึงจำเป็นต้องมี เครื่องมือในการสาวไหมที่ดีและสามารถสาวได้ทันเวลา ซึ่งเครื่องสาวไหมปรับปรุงชนิดเข้าเหล่งนี้ เหมาะสำหรับ เกษตรกรที่เลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสม จึงน่าจะเป็นทางเลือกอีกทางสำหรับการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ชัยภูมิ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2019/07/2561-14.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by Admin กรมหม่อนไหม (qsds@tarr.arda.or.th) on 2020-04-13T08:52:08Z No. of bitstreams: 1 license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้านและเครื่องสาวไหม ปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง
กรมหม่อนไหม
2560
เอกสารแนบ 1
กรมหม่อนไหม
การศึกษาคุณภาพผลผลิตเส้นไหมโรงสาวไหมชุมชน โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องสาวไหมเส้นพุ่ง (ใช้แรงคน) การทดสอบคุณภาพเส้นไหมพันธุ์ UD1 x นค4 โดยเครื่องสาวไหมชนิดต่างๆ การศึกษาอัตราความเร็วของเครื่องสาวไหมแบบใหม่ที่มีผลต่อความเหนียวและการยืดตัวของเส้นไหม ศึกษาและทดสอบคุณภาพเส้นไหมดิบของโรงงาน สาวไหมในประเทศไทย ผลของการใช้เส้นไหมไทยที่สาวด้วยวิธีการต่างๆ ต่อคุณสมบัติผ้าไหม เปรียบเทียบคุณสมบัติของเส้นไหมพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ก้าวหน้าชนิดต่างประเทศลูกผสม สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร การหาอัตราความเร็วที่เหมาะสมของเครื่องสาวอัตโนมัติแบบใหม่ที่จะสาวเส้นไหมให้ได้ขนาดสม่ำเสมอ ผลการสาวไหมด้วยวิธีการต่างๆต่อคุณสมบัติของเส้นไหมไทยประเภทไหม 1

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก