สืบค้นงานวิจัย
เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติ และการควบคุมเชื้อ
ชาตรี สิทธิกุล - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติ และการควบคุมเชื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): Seed Borne Fungi of Basmati Rice Variety and Treatments for Their Control
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชาตรี สิทธิกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chatree Sittigul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การตรวจสอบเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติด้วยวิธี Blotter โดยนำตัวอย่างเมล็ดข้าวมาจากเชียงราย แม่แตง และแม่เหียะ พบเชื้อราทั้งหมด 16 ชนิด มาจาก 12 genera เชื้อที่พบมาก ได้แก่ Aspergillus spp., Trichoconis padwickii และ Penicillium spp. ตามลำดับ เชื้อราที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคติดมากับเมล็ดได้แก่ Bipolaris oryzae, T. padwickii และ Fusarium moniliforme งานทดลองครั้งนี้ได้ทดสอบ แช่เมล็ดข้าวในน้ำร้อนและใช้สารเคมีคลุกเมล็ด เพื่อกำจัดเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด การแช่เมล็ดในน้ำร้อนใช้อุณหภูมิ 3 ระดับคือ 50-53, 53-56 และ 56-59 เซลเซียส แต่ละอุณหภูมิแช่เมล็ดในเวลาต่างกัน ได้แก่ 5, 10, และ 15 นาที การใช้น้ำร้อนพบว่า ที่อุณหภูมิ 50-56 เซลเซียส แช่นานทั้ง 3 ระยะเวลา ไม่สามารถระงับการเจริญของเชื้อราที่สำคัญที่ติดมากับเมล็ดได้ สำหรับอุณหภูมิ 56-59 เซลเซียส ระยะเวลาแช่ 15 นาที มีผลในการระงับการเจริญของเชื้อรา 6 ชนิด แต่ใน Treatment นี้ทำให้การงอกของเมล็ดลดลงมากถึง 62% สำหรับการทดสอบสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่ Benomyl, Captan, MCB + Mancozeb และ Mancozeb ที่อัตราความเข้มข้น 2 ระดับ สรุปได้ว่า MCB + Mancozeb ที่ความเข้มข้น 0.5% มีประสิทธิภาพดีกว่าสารเคมีชนิดอื่นและสารเคมีทั้ง 4 ชนิดช่วยทำให้การงอกของเมล็ดดีขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Seed samples of Basmati rice variety from Chiang Rai, Mac Tang and Mae Hea were examined by Blotter method to detect for seedborne fungi. Sixteen species in 12 genera of fungi were obtained from the test. The most frequent species found were Aspergillus spp., Trichoconis padwickii and Penicilium spp. respectively. Within the 16 species found, there were some important seedborne pathogens, for instance, Bipolaris oryzae, T. padwickii and Fusarium moniliforme. Hot water and chemical seed treatments were proposed in the test for controlling seedborne fungi. In hot water, there were included of 3 ranges of temperature treatments (S0-53, 53-56 and 56-59 °C) and 3 dipping durations (5, 10 and 15 minutes). At 50-56 °C in all dipping durations, no satisfactory results of growth inhibition of important seed borne pathogens were observed. Only one treatment when dipping the seeds in 56-59 °C water t for 15 min, resulted in elimination of at least six species of fungi. But hot water in the same treatment did reduce the percent of germination as high as 62%. Four fungicides namely benomyl, capstan, MCB + mancozeb and mancozeb with 2 levels of concentrations were used for seed treatment in the study. MBC + mancozeb 0.5% was proved to be the best when compared with the other. All tested chemicals were good for improving the percentage of seed germination.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247667/169471
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติ และการควบคุมเชื้อ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2534
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากตะไคร้หอมในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าในมะม่วงและโรคโคนเน่าในผัก ตำแหน่งและการถ่ายทอดของเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ การประเมินความหลากหลายของเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ของข้าว การผลิตน้ำเชื่อมจากข้าวเหนียวด้วยรา ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว อิทธิพลของโพแทสเซี่ยมซิลิเกตและเชื้อรา Trichoderma harzianum ต่อการเกิดโรคถอดฝักดาบของกล้าข้าว สภาวะการเจริญที่เหมาะสมต่อการผลิตสารโพลิแซคคาไรด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษของสารสกัดหยาบโพลิแซคคาไรด์จาก เชื้อรา Cordyceps sp. ที่แยกจากเชื้อราทำลายแมลงในจักจั่น ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อราแป้งใน Tribe Phyllactinieae ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการดูดซึมธาตุอาหาร หลักและการควบคุมโรครากปมไส้เดือนฝอยในการผลิตมะละกอ การแยกและคัดเลือกเชื้อรา Trichoderma spp. ที่มีประสิทธิภาพสูงจากใบไผ่เพื่อใช้ควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก