สืบค้นงานวิจัย
ผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงต่อการพัฒนารังไข่ของแม่พันธุ์กุ้งฝอย (Macrobrachium lanchesteri)
ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงต่อการพัฒนารังไข่ของแม่พันธุ์กุ้งฝอย (Macrobrachium lanchesteri)
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Pueraria mirifica and Butea superba crude extract on ovarian development of female lanchester’s freshwater prawn (Macrobrachium lanchesteri) broodstock
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงต่อการพัฒนารังไข่ของแม่พันธุ์กุ้งฝอย (Macrobranchium lanchesteri) โดยสุ่มแม่พันธุ์กุ้งฝอย จำนวน 90 ตัว ที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.397+0.004 ก. มาเลี้ยงด้วยอาหารกุ้งอัดเม็ดสำเร็จรูป 3 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารกุ้งอัดเม็ดสำเร็จรูป (PF) (ชุดควบคุม) และชุดการทดลองที่ 2 และ 3 อาหารกุ้งอัดเม็ดสำเร็จรูปที่ฉีดสเปรย์ด้วยสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว (PFP) และกวาวเครือแดง (PFB) ที่ความเข้มข้น 200 มล./อาหาร 1 กก. ตามลำดับ เลี้ยงเป็นระยะเวลา 30 วัน โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลอง เก็บตัวอย่างแม่พันธุ์กุ้งฝอยในแต่ละชุดการทดลอง มาชั่งน้ำหนักและศึกษาระยะการพัฒนารังไข่ ผลการศึกษาพบแม่พันธุ์กุ้งฝอยที่เลี้ยงด้วยอาหาร PFP มีน้ำหนักเฉลี่ย (0.588+0.014 ก.) และน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย (0.187+0.014 ก.) มากกว่าชุดการทดลองอื่น และมีระยะการพัฒนารังไข่ดีกว่าแม่พันธุ์กุ้งฝอยที่เลี้ยงด้วยอาหาร PF และ PFB โดยมีเปอร์เซ็นต์จำนวนแม่พันธุ์กุ้งฝอยที่มีการพัฒนารังไข่อยู่ในระยะไข่สุก ซึ่งพบรังไข่มีสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวมะกอกเข้ม และมีรังไข่ขยายใหญ่เต็มที่ (ระยะที่ 4) มากที่สุด (7 % ของจำนวนแม่พันธุ์ทั้งหมด)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=752.pdf&id=3798&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของสารสกัดหยาบกวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงต่อการพัฒนารังไข่ของแม่พันธุ์กุ้งฝอย (Macrobrachium lanchesteri)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2562
เอกสารแนบ 1
การกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูกอ๊อดกบนาด้วยกวาวเครือขาวและกวาวเครือแดง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้สมุนไพรกวาวเครือขาวและกวาวเครือแดงในการควบคุมเพศปลาหมอไทยและปลานิล พันธุ์ สารออกฤทธิ์สำคัญและผลของสารสำคัญในกวาวเครือขาว การขยายพันธุ์กวาวเครือขาวแบบไม่ใช้เพศ ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล การเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด ศึกษาการงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว ผลการเสริมแอสต้าแซนทินในอาหารต่อการพัฒนารังไข่ของแม่พันธุ์ปลาตะกรับ อายุที่เหมาะสมของแม่พันธุ์ในการเพาะพันธุ์ปลาชะโอน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก