สืบค้นงานวิจัย
ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์มันสำปะหลัง
รัชนี สนกนก, ณัฐวณี ยมโชติ, รัชนี สนกนก, ณัฐวณี ยมโชติ - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์มันสำปะหลัง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: โลจิสติกส์มันสำปะหลัง
บทคัดย่อ: การศึกษาโลจิสติกส์มันสำปะหลังส่งออกปีการผลิต 2551/52 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ โครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค ตลอดห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลัง ตั้งแต่เกษตรกรถึงท่าเรือส่งออก ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร ลานมัน/พ่อค้ารวบรวม ผู้ประกอบการโรงงานแป้งมัน พ่อค้านายหน้า (หยง)/ผู้ส่งออก ผลการศึกษาพบว่าในกระบวนการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมดจากเกษตรกรถึงท่าเรือส่งออก มันเส้น/มันอัดเม็ดเฉลี่ยตันละ 1,917.87 บาท เป็นค่าขนส่งเฉลี่ยตันละ 867.02 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.21 ของต้นทุนโลจิสติกส์รวม ค่าสูญเสียเฉลี่ยตันละ 574.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.94 ค่าบริหารสินค้าคงคลังและเก็บรักษาเฉลี่ยตันละ 20.95 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.10 ค่าตรวจสอบคุณภาพเฉลี่ยตันละ 22.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.15 และค่าใช้จ่ายในการส่งออกเฉลี่ยตันละ 433.50 บาท คิดเป็น ร้อยละ 22.60 สำหรับแป้งมันเฉลี่ยตันละ 2,528.03 บาท เป็นค่าขนส่งเฉลี่ยตันละ 1,193.38 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.21 ของต้นทุนโลจิสติกส์รวม ค่าสูญเสียเฉลี่ยตันละ 264.29 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.45 ค่าบริหารสินค้าคงคลังและเก็บรักษาเฉลี่ยตันละ 353.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.99 ค่าบรรจุภัณฑ์เฉลี่ยตันละ 335 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.25 ค่าตรวจสอบคุณภาพเฉลี่ยตันละ 20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.79 และค่าใช้จ่ายในการส่งออกเฉลี่ยตันละ 361.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.31 สำหรับต้นทุนโลจิสติกส์ต่อราคาขายของมันเส้น/มันอัดเม็ดคิดเป็นร้อยละ 33.30 และแป้งมันคิดเป็นร้อยละ 21.50 เมื่อพิจารณาสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์จะเห็นได้ว่าต้นทุนค่าขนส่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด ซึ่งไทยยังมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานเช่น ระบบรางคู่ รวมทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระบวนการแปรสภาพมีอัตราการสูญเสียสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเส้น/มันอัดเม็ดเนื่องจากการเก็บเกี่ยวหัวมันของเกษตรกรมีดินทรายและเหง้าติดปนมามาก และมีการรอคิวนาน อันเป็นผลจากมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการรับจำนำปี2551/52 ทำให้เกษตรกรมีความต้องการขายมาก แต่มีลานมัน/โรงแป้งร่วมโครงการจำกัด อีกทั้งการกระจุกตัวของผลผลิตทำให้บางช่วง ขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตต้องหยุดการผลิตส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ภาครัฐควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมระบบการขนส่งทางรางให้มากขึ้น และให้มีการลงทุนผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยไบโอแก๊สเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว และช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานของประเทศด้วย รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนพฤติกรรมการขายเป็นมันเส้นสะอาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และลดการกระจุกตัวของผลผลิต ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการปรับปรุงยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สร้างความหลากหลายให้ผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์มันสำปะหลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2552
การสกัดแป้งจากกากมันสำปะหลังและการเตรียมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช อาหารจากมันสำปะหลัง มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร สภาวะที่เหมาะสมต่อการวัดปริมาณไชยาไนด์อิสระในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) การเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังโดยใช้น้ำกากผงชูรสเพื่อใช้เป็นอาหารโค โครงการพัฒนาศักยภาพโลจิสติกส์ไหมไทยและปฏิบัติการประยุกต์ใช้ตัวแบบโลจิสติกส์ในกลุ่มโซ่อุปทานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก