สืบค้นงานวิจัย
การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว
สงกรานต์ จิตรากร ฉวีวรรณ วุฒิญาโณ และ บรรยง นิชรัตน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Collection and Conservation of Thai Rice Varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สงกรานต์ จิตรากร ฉวีวรรณ วุฒิญาโณ และ บรรยง นิชรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Songkran Chitrakon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chawewan Vutiyano and Banyong Nicharatana
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัจจุบันรัฐบาลพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์รัฐบาลซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ดีปลูก เพราะให้ผลผลิตสูงมีคุณภาพดี ข้าวพันธุ์ดีจึงได้รับความนิยมจากเกษตรกร การที่เกษตรกรหันมาปลูกข้าวพันธุ์ดีกันมากนี้ ทำให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่มีลักษณะดีบางอย่างสูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ในอนาคตอันใกล้อาจจะไม่มีเหลืออีกต่อไป ทำให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวอยู่ในขีดจำกัด เพราะมีพันธุ์ข้าวน้อยพันธุ์ นับว่าเป็นการสูญเสียคุณค่าทางพันธุกรรมของข้าวอย่างมาก และไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ โครงการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อนำมาอนุรักษ์ไว้มิให้เสื่อมพันธุ์หรือสูญพันธุ์จึงเริ่มขึ้นอีก หลังจากที่สถาบันวิจัยข้าวได้รับมอบตึกศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งขาติ (ศขช.) จากรัฐบาลญี่ปุ่น พ.ศ. 2524 โครงการมีกำหนด 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นการรวบรวมพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ เริ่มจากพื้นที่ที่อยู่ในโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เขตชลประทาน หรือบริเวณที่คาดว่าพันธุ์ข้าวพื้นเมืองกำลังลดน้อยลงอย่างรวดเร็วก่อน โดยเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยข้าว และขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมประชาสงเคราะห์ ช่วยรวบรวมให้แล้วส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ ศขช. เพื่ออนุรักษ์ไว้ ตลอดระยะเวลา 5 ปี ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ข้าวป่า ข้าวพันธุ์ดีต่างประเทศ และข้าวสายพันธุ์ดีเด่นจากทั่วประเทศทั้งหมด รวม 10,292 พันธุ์ แยกตามภาคใต้ คือ ภาคเหนือ 3.034 พันธุ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,528 พันธุ์ ภาคกลาง 2.012 พันธุ์ ภาคใต้ 1,436 พันธุ์ และจากที่อื่น ๆ อีก 2,282 พันธุ์ ปรากฎว่ามีส่วนมากเป็นข้าวเจ้า และเมื่อแยกตามวิธีการปลูกแล้วส่วนมากจะเป็นข้าวนาสวน รองลงไปคือข้าวไร่ การอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าว ได้นำพันธุ์ข้าวที่รวบรวมไว้ทั้งหมด 10,292 พันธุ์ เก็บอนุรักษ์แบบระยะสั้น และนำเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมไว้จากปีก่อน ๆ อนุรักษ์แบบระยะปานกลาง และระยาว จำนวน 4,893 และ 5,149 พันธุ์ ตามลำดับ พันธุ์ละ 80 กรัมต่อกระป๋อง เมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวที่จะหมดอายุ หรือมีจำนวนเหลือน้อย ได้นำออกปลูกฟื้นฟูเมล็ด เพื่อต่ออายุเมล็ดเชื้อพันธุ์ จำนวน 3,877 พันธุ์ นอกจากนี้ยังบริการเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวต่อนักวิชาการและผู้สนใจจำนวน 154 ราย รวม 12,176 พันธุ์
บทคัดย่อ (EN): Currently the Thai government is encouraging farmers to grow rice varieties which combine a higher yield potential with increased resistance to pests and diseases. These recommended varieties are becoming increasingly popular. The replacement of the traditional varieties with new varieties is leading to concern of the potential the loss of a genetic resource. This 'Genetic Erosion', in addition to resulting in the loss of potentially good varieties, may also result in the loss of potentially valuable agronomic characters which are to be found only in local Thai varieties. To redress this threat to the rice breeding and production programme, a coordinated rice collection and conservation programme was initiated in 1982, following the establishment of a National Rice Seed Storage Laboratory for Genetic Resources in 1981. The main objective of this programme has been the collection and conservation of as many as possible of the traditional and wild rice varieties in Thailand. The collection of traditional and wild varieties was commenced in those areas where there was an active policy being pursued of introducing HYV's, and in areas where the traditional and wild varieties are repidly declining. Collectors cooperating in the programme are from the Rice Research Institute of the Department of Agricullture, the Department of Extension, and the Department of Public Welfare. During the first five years of the programme (1982-87), a totai of 10,292 collections were made. These have comprised 3,034, 1,528, 2,021 and 1,430 from the North, Northeast, Central and Southern Regions, respectively. A further 2,282 samples were collected but not identified as to their location. Most collections to date have been non-glutinous lowland rices. Some 386 wild forms have also been collected. The 10,292 collections made in the period 1982 - 87 have initially been kept under short-term storage conditions. A further 4,893 and 5,149 from earlier collections have been stored under medium-term and long-term conditions, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2529
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว
กรมวิชาการเกษตร
2529
เอกสารแนบ 1
ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โครงการศึกษารวบรวบ อนุรักษ์ และคัดเลือกพันธุ์ข้าวท้องถิ่น ที่ทนแล้งและมีโภชนาการสูง การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ การพัฒนาและประยุกต์สารชีวภาพยับยั้งไนตริฟิเคชั่นจากแหล่งพันธุกรรมข้าวและหญ้าเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวอนุรักษ์สารอาหารไนโตรเจนและบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว การประเมินและอนุรักษ์พันธุกรรมยางพารา การตรวจสอบความหลากหลายของพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การศึกษาความต้านทานของพันธุ์ข้าวต่อการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทย หญ้าแฝกกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการวิจัยและอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก