สืบค้นงานวิจัย
ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ปภพ จี้รัตน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปภพ จี้รัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ:      การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของ เกษตรกร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อ ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างทัศนคติในการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คนซึ่งได้จาก การสุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิง พรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอน      ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จ การศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาหรือตํ่ากว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.56 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 86,234.30 บาทต่อปี มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 28 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรในชุมชนเฉลี่ย 3 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสาร จากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย 27 ครั้งต่อเดือน เกษตรกร มีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาพอเพียงอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำ เกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ ทัศนคติเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตร มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในที่ระดับ 0.05 ส่วน การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตร และความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือน ตามแนวทางปรัชญาพอเพียง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในที่ระดับ 0.01      สำหรับข้อเสนอแนะต่อการสร้างทัศนคติในการทำเกษตรกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรที่สำคัญคือ ควรมีการส่งเสริมและถ่ายทอดแนวทางการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการทำเกษตรกรรมให้เกิดผลรูปธรรม ควรเน้นการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการผันผวนของภาวะ เศรษฐกิจที่กระทบต่อภาคการเกษตร ควรมีการสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ครัวเรือนเกษตรกรมีส่วนร่วมในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ และควรมีการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงให้แก่บุตรหลานเกษตรกร
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://www.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/200888
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรกรรมตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
เอกสารแนบ 1
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรในชุมชนจังหวัดนครปฐม สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การดำเนินการและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการทำการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา 4 ภูมินิเวศ การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การจัดการความรู้ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อพัฒนาการปลูกข้าวโพดอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก