สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร
ดุษฎี พรพระแก้ว - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่อง (EN): A Study of drainage performance of THATAPOW Canal after constructing THATAPOW control gaten in Chumphon Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดุษฎี พรพระแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): THATAPOW/Control gate
หมวดหมู่: อื่นๆ
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการไหลของน้ำในลำน้ำท่าตะเภาก่อนและหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภาและเพื่อศึกษาแนวทางการเปิด - ปิด ประตูระบายน้ำท่าตะเภาสำหรับการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง โดยมีพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ประตูระบายน้ำท่าตะเภา ในคลองท่าตะเภาและบริเวณที่มีผลกระทบทางด้านการระบายน้ำที่อยู่ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำของประตู ภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำ จังหวัดชุมพร ได้ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์โปรแกรม HEC-RAS version 4.1 เป็นแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา โดยจำลองสภาพลำน้ำท่าตะเภา พิจารณา Upstream Boundary ตั้งแต่บริเวณจุดบรรจบของลำน้ำท่าแซะกับลำน้ำรับร่อซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีอุทกวิทยาที่มีชื่อว่า สถานีบ้านวังครก เรื่อยลงมาตามลำน้ำท่าตะเภา ผ่านเมืองชุมพร และพิจารณา Downstream Boundary ณ บริเวณจุดที่ลำน้ำท่าตะเภาไหลออกสู่ทะเล ความยาวลำน้ำประมาณ 42 กิโลเมตร ผลการสอบเทียบแบบจำลอง พบว่า ลำน้ำท่าตะเภาที่ค่า Manning’s Number (n) เท่ากับ 0.03 ได้ผลการคำนวณระดับน้ำที่สถานีสะพานเทศบาล 2 มีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลระดับน้ำจากข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดจริงมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าควรใช้ค่า n = 0.03 ในการศึกษาสภาพการไหลในลำน้ำท่าตะเภาและผลการสอบทวนค่า Manning’s Number (n) เท่ากับ 0.03 ของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ได้ผลการคำนวณค่าระดับน้ำ มีค่าใกล้เคียงกับค่าระดับน้ำจริงที่วัดได้จากสถานีสะพานเทศบาล 2 จึงเป็นการยืนยันว่า ค่า Manning’s Number (n) เท่ากับ 0.03 สามารถนำไปใช้เป็นพารามิเตอร์ของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ได้ ผลจากการศึกษาเพื่อหาแนวทางหรือเกณฑ์การเปิด-บิดบานประตูระบายน้ำท่าตะเภา เพื่อบริหารจัดการระดับน้ำหน้าบานประตูให้รักษาระดับคงที่ตามต้องการคือที่ระดับ 2.00 2.20 2.40 2.60 2.80 และ 3.00 เมตร.รทก. เพื่อให้ระดับน้ำในลำน้ำท่าตะเภามีระดับน้ำที่เหมาะสมในการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ชลประทานในฤดูแล้งนั้น พบว่า ในขั้นแรกในขณะที่มีน้ำไหลในลำน้ำปริมาณไม่มากคือประมาณ 5-10 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ให้ปิดบานประตูระบายน้ำทุกบาน และปรับบานประตูระบายที่ 3 เพียงบานเดียว เพื่อให้ระดับน้ำหน้าบานมีระดับตามต้องการและให้ดูในตาราง
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: ความมั่นคง
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: การจัดการทรัพยากรน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ.5/2553
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 30322
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: คลองท่าตะเภา เมืองชุมพร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือน ตุลาคม 2552 ถึง เดือน กันยายน 2553
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2553
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by migration@tarr.arda.or.th (migration@tarr.arda.or.th) on 2017-08-21T05:40:39Z No. of bitstreams: 0
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร
กรมชลประทาน
30 กันยายน 2553
กรมชลประทาน
การศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองท่าตะเภาภายหลังการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทาน และการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ปีที่ 2) ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 2 ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง โครงการจัดทำแบบจำลองกายภาพ (Physical model) กรณีศึกษาการระบายน้ำผ่านอาคารทางระบายน้ำล้น Spillway การก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและการบำรุงรักษา โครงการศึกษาประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองลัดโพธิ์และแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้เคียงภายหลังการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ โครงการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤติ การประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เฉพาะสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ ภายหลังการรับมอบจากกรมชลประทาน “กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น” ผลกระทบจากการระบายน้ำทำเทือกนาหว่านน้ำตมที่มีผลต่อคลองชลประทานและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 1

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก