สืบค้นงานวิจัย
การเก็บรักษาหัวพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์
กุลชลี บุญทา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การเก็บรักษาหัวพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์
ชื่อเรื่อง (EN): The storage of Blood lily bulb
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กุลชลี บุญทา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการศึกษาการก็บรักษาหัวพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์ ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา ลำปาง ระหว่างเดือน กุมภาพันธุ์ 2557 ถึงเดือน มกราคม 2559 โดยเก็บหัวพันธุ์ว่าน แสงอาทิตย์ ที่อุณหภูมิต่างๆตามกรรมวิธีที่กำหนด วางแผนทดลองแบบแฟคทอเรียล 3 x 2 กรรมวิธีๆ ละ 180 หัว แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยคือ อุณหภูมิในการเก็บรักษาคือ 10 15 และ 20 องศาเซลเซียส และ วิธีการเก็บรักษา คือ เก็บในตะกร้าคลุมด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ และเก็บในถุงกระดาษปิด มิดชิดที่เจาะรูขนาด 1 ชม. 5 รูต่อถุง พบว่า หัวพันธุ์เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส หลังเก็บ รักษา 2 4 6 และ 8 เดือน และที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หลังเก็บรักษา 2 เดือน มีการสูญเสีย น้ำหนักหัวพันธุ์ เมื่อเก็บรักษานานขึ้น การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ขณะเก็บรักษา 2 เดือน หัวพันธุ์เน่าเสียหายทั้งหมดจากอาการสะท้านหนาว การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 20 องศา เชลเซียส ขณะเก็บรักษา 2 เดือน หัวพันธุ์มีการงอกทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ หัวพันธุ์เก็บรักษาที่ อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ที่ปลูกหลังเก็บรักษา 2 4 6 และ 8 เดือน และที่อุณหภูมิ 20 องศา เซลเซียส ที่ปลูกหลังเก็บรักษา 2 เดือน มีขนาดดอก ความยาวช่อดอก ความสูงของต้น จำนวนใบ ความยาวใบ และความกว้างใบ มีความแตกต่างกัน การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส สามารถก็บรักษาได้นานถึง 8 เดือน โดยเก็บในตะกร้าคลุมด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หัวพันธุ์มีการ งอกทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ และคุณภาพดอกดีที่สุด ส่วนอุณหภูมิเก็บรักษา 10 15 และ 20 องศา เชลเซียส และวิธีการเก็บรักษา ไม่มีอิทธิพลร่วมระหว่างอุณหภูมิเก็บรักษากับวิธีเก็บรักษา ต่อการ สูญเสียน้ำหนักของหัวพันธุ์ ขนาดดอกบาน ความยาวช่อดอก ความสูงของต้น จำนวนใบ ความยาวใบ และความกว้างใบ การทดลองบ่มหัวพันธุ์ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 0 15 และ 30 วัน ก่อนปลูก พบว่า การเก็บ รักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเชียส และเก็บในตะกร้าคลุมด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ งอกแทงช่อดอก ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ และคุณภาพดอกดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Effect of temperature and storage on the quality of blood lily was studied at Rajamangala University of Technology Lanna Lampang, during Fabuary 2014- January 2015. The experimental design was 3x2 factorial, and 180 bulbs per treatment or divided into two factors The first factor is the temperature of storage, 10 15 and 20 degrees Celsius. The second factor is storage method : Store in a basket covered with newspapers or Store in a paper bag sealed at the drill hole size 1 cm hole 5 per bag. Effect of bulb incubation on quality flower of blood lily was studied at ajamangala University of Technology Lanna Lampang, during Fabuary 2015- January 2016. Experiment was designed completely random, with three treatments, each 25 replications. By storing bulb in a basket covered with newspapers at 15 degrees Celsius At the end of 2 months and 4 months, brought out the incubated at room temperature for 0, 15 and 30 days or 10-inch pots was planted. Recorded quality flowering and growth. The study of blood lily bulb storage at 10 15 and 20 degrees celsius and stored procedures a basket covered with newspapers or paper bags sealed at the drill hole size 1 cm hole 5 per bag showed that blood lily bulb storage at 10 15 and 20 degrees celsius and storage at 2 4 6 and 8 months gave the weight loss of bulb that no statistical difference. The bulb storage at 10 degrees celsius while storage two months, bulb rot damage from chilling injury. The storage temperature is 15 degrees Celsius and stored in baskets covered with newspapers. All 100 percent spike flowers sprouting and flower best quality.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเก็บรักษาหัวพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2558
2558A17003010 ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์ 2558A17003012 การเก็บรักษาหัวพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์ ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์ การขยายพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์โดยวิธีการผ่าหัว ผลของอุณหภูมิกลางคืนต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์โบไฮเดรตในว่านแสงอาทิตย์ โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนาพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์ 2558A17003011 การขยายพันธุ์ว่านแสงอาทิตย์ ผลของระดับความเข้มข้นของสาร IBA ต่อการพัฒนาช่อดอกของว่านแสงอาทิตย์ 2558A17001003 การวิจัยและพัฒนาว่านแสงอาทิตย์เพื่อผลิตเป็นไม้ดอกการค้า ศึกษาผลของ BA และ NAA ที่เลี้ยงในสภาพของอาหารแตกต่างกันที่มีผลต่อการแตกยอดที่มีผลว่านแสงอาทิตย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก