สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาปริมาณสารฟินอลลิกส์ทั้งหมด สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญในสารสกัดหยาบจากหนอนตายหยาก
บุญจิรา รัตนากรพิทักษ์ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปริมาณสารฟินอลลิกส์ทั้งหมด สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญในสารสกัดหยาบจากหนอนตายหยาก
ชื่อเรื่อง (EN): Study of total phenolic compounds, antioxidant activity and active compounds in crude extracts from Stemona tuberose Lour
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญจิรา รัตนากรพิทักษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Boonjira Rutnakornpituk
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาปริมาณของสารฟีนอลิกส์ทั้งหมด, สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญประเภทสารฟีนอลลิกส์ในสารสกัดหยาบจากส่วนของราก ลำต้น และใบของหนอนตายหยากโดยการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดจะใช้วิธีใช้ฟูลิน-ซิโอคัลเชอ คัลเลอริเมตริกในขณะที่ศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระจะใช้วิธีดีพีพีเอช แรดิคัล สแคเวนจิง ผลการทดลองพบว่าในส่วนสกัดของรากของหนอนตายหยากมีปริมาณของสารฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับ 15.58 ppm ในขณะที่สารสกัดหยากส่วนของรากและใบของหนอนตายหยากมีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดคิดเป็น 7.75 และ 8.21 ppm และการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบแต่ละชนิด พบว่าสารสกัดหยาบส่วนของใบของหนอนตายหยากมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งอนุมูลอิสระที่ 50 เปอร์เซ็น (IC50) เท่ากับ 132.07 ppm นอกจากนี้ในการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารสำคัญประเภทสารฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์ของสารสกัดหยาบแต่ละชนิด จะใช้เทคนิคมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) พบว่าในสารสกัดหยาบจะพบสารสำคัญประเภทสาร ฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 8 ชนิดคือ กรดคาเฟอิค, กรดพาราคูมาริก, กรดเฟอรูลิก, กรดซินนามิก, กรดไฮดรอกซีเบนโซอิก, ลูทอีโอลิน, เคอชิติน และ เคมเฟอรอล ในหน่วยของมิลลิกรัมต่อ 100 กรัมแห้งที่แตกต่างกันออกไป โดยในส่วนของสารสกัดหยาบทั้ง 3 ส่วนจะพบสารสำคัญประเภทกรดฟีนอลลิกชนิดกรดไฮดรอกซีเบนโซอิกในปริมาณมากที่สุด
บทคัดย่อ (EN): In this research, the total phenolic contents (TPC), antioxidant activities and analyses of active compounds in Stemona tuberose Lour crude extracts including roots, stems and leaved were investigated. The TPC was measured by Folin-Ciocalteu, while antioxidant activities were assessed by 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) free radical scavenging method. It was found that crude extracts from stem showed highest total phenolic about 15.58 ppm, while roots and leaves crude extracts exhibited the total phenolic about 7.75 and 8.21 ppm, respectively. From the study of antioxidant activity, crude extracts from leaves showed the better antioxidant activity in the IC50 value about 132.07 ppm. The analysis of active compounds such as phenolic and flavonoid compounds in crude extracts were carried out via a high performance liquid chromatography (HPLC) technique. The results showed that eight active compounds including caffeic acid, p-coumaric acid, ferulic acid, cinnamic acid, p-hydroxybenzoic acid, luteolin, quercetin and kaemferol were detected in all crude extracts. The p-hydroxybenzoic acid was major phenolic compound in all crude extracts.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-04-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-03-31
เอกสารแนบ: http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/NUIR/743/Fultext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: เพื่อศึกษาถึงปริมาณของสารฟีนอลลิกส์ทั้งหมด, สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารสำคัญประเภทสารฟีนอลลิกในสารสกัดหยาบจากส่วนของราก ลำต้น และใบของหนอนตายหยาก
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาปริมาณสารฟินอลลิกส์ทั้งหมด สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญในสารสกัดหยาบจากหนอนตายหยาก
มหาวิทยาลัยนเรศวร
31 มีนาคม 2560
เอกสารแนบ 1
ผลของสารสกัดหยาบจากหนอนตายหยากต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืชบางชนิด ผลของกระบวนการสกัดและการให้ความร้อนต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตแอนโทซัยยานินชนิดผงจากข้าวเหนียวดำ ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากใบมะรุม ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและปริมาณสารสำคัญในพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท สมบัติต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบทางเคมีจากน้ำสัมควันไม้ ระยะพัฒนาการต่อปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่ การวิเคราะห์สาร caffeic acid phenethyl ester (CAPE)ในสารสกัดพลอพอลิสและฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แนวทางการเพิ่มมูลค่าแคนตาลูปที่ไม่ได้มาตรฐานการส่งออกในจังหวัดสระแก้ว: การพัฒนากระบวนการผลิตไซรัปแคนตาลูปที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง สภาวะการเจริญที่เหมาะสมต่อการผลิตสารโพลิแซคคาไรด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษของสารสกัดหยาบโพลิแซคคาไรด์จาก เชื้อรา Cordyceps sp. ที่แยกจากเชื้อราทำลายแมลงในจักจั่น การกักเก็บสารสกัดหยาบจากเปลือกส้มโอ เพื่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านจุลินทรีย์ในการยืดอายุการเก็บรักษากุ้งขาว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก