สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร
นวลมณี พงศ์ธนา, สง่า ลีสง่า, เมตตา ทิพย์บรรพต, นวลมณี พงศ์ธนา, สง่า ลีสง่า, เมตตา ทิพย์บรรพต - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Performance Evaluation of Genetic Improvement Tilapia from Chumphon Fisheries Test, Pathumthani Fisheries Test and Research Center stock on Farm Cageculture Chumphon Fisheries Test, Pathumthani Fisheries Test and Research Center stock on Farm Cageculture
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร เม เมตตา ทิพย์บรรพต1* สง่า ลีสง่า1 นวลมณี พงศ์ธนา 2 วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์3 และ สมนึก คงทรัตน์1 1 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ 2 กองผู้เชี่ยวชาญ 3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ บทคัดย่อ การศึกษาการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและผลผลิต ของปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร ดำเนินการทดลองที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555 ถึงเดือน กันยายน 2557 โดยเลี้ยงในกระชังขนาด 5x5 ตารางเมตร พันธุ์ปลาประกอบด้วย ปลานิลจิตรลดา 3 ชุมพร ปลานิลจิตรลดา 3 อุตรดิตถ์ และปลานิลจิตรลดา 4 ปทุมธานี ลูกปลาเริ่มทดลองมีน้ำหนักเฉลี่ย 42.77?12.58, 43.91?12.08 และ 43.51?12.27 กรัม ความยาวเฉลี่ย 13.06?1.24, 13.00?1.28 และ 13.09?1.23 เซนติเมตร จำนวน 2,000 ตัวต่อกระชัง ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 120 วัน ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 523.80?110.36, 533.90?132.13 และ 537.05?141.05 กรัม น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 4.01?0.92, 4.08?1.10 และ 4.11?1.18 กรัมต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ 2.07?0.18, 2.06?0.21 และ 2.07?0.22 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน นำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ความยาวสุดท้ายเฉลี่ย 28.03?1.47, 27.70?1.77 และ 28.63?1.85 เซนติเมตร โดยปลานิลจิตรลดา 4 ปทุมธานี มีความยาวเฉลี่ยมากกว่าปลานิลจิตรลดา 3 ชุมพร และปลานิลจิตรลดา 3 อุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตรารอดตายเฉลี่ย 63.73?18.32, 74.58?11.82 และ 81.21?11.72 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 639.49?80.94, 773.23?81.47 และ 855.83?185.56 กิโลกรัมต่อกระชัง ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่า ปลานิลจิตรลดา 3 ชุมพร มีอัตรารอดตายเฉลี่ยและผลผลิตเฉลี่ยน้อยกว่า ปลานิลจิตรลดา 4 ปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราแลกเนื้อเฉลี่ย 2.28, 2.10 และ 1.94 เมื่อนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่า ปลานิลจิตรลดา 3 ชุมพร มีอัตราแลกเนื้อเฉลี่ยมากกว่าปลานิลจิตรลดา 4 ปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คำสำคัญ : ปลานิลจิตรลดา 3 ปลานิลจิตรลดา 4 ผลผลิต การเจริญเติบโต * ผู้รับผิดชอบ : 12/35 หมู่ 8 ต.ทุ่งคา อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร 86100. e-mail : pee-ta@hotmail.com
บทคัดย่อ (EN): Performance evaluation on Chitralada 3 and 4 strain of Nile Tilapia, Oreochromis niloticus (Linnaeus) in cage culture Metta Tipbunpot1* Sanga Leesanga1 Nuanmanee Pongthana2 Wisanuporn Ratanatrivong3 and Somnuek Kongtaratana1 1 Aquaculture Genetics Research and Development Institute 2 Expert Bureau Devision 3 Changmai Inland Fisheries Research and Development Center An evaluation on growth performance of 3 Tilapia populations, Oreochromis niloticus (Linnaeus), in cage culture was conducted in Suratthani during October 2012 to September 2014. The 3 populations of Tilapia were Chitralada 3 strain from Chumphon, Chitralada 3 strain from Uttraradit and Chitralada 4 strain from Pathumthani with an average initial weight of 42.77?12.58, 43.91?12.08, 43.51?12.27 g, and an average length of 13.06?1.24, 13.00?1.28, 13.09?1.23 cm, respectively. The fish were conducted in 5x5 m2 cage with a stocking density of 2,000 fish/cage, and fed with 30% protein pellet for 120 days. The result showed that there were not significantly different in the final average weight (523.80?110.36, 533.90?132.13, 537.05?141.05 g), daily weight gain (4.01?0.92, 4.08?1.10, 4.11?1.18 g per day) and specific growth rate (2.07?0.18, 2.06?0.21, 2.07?0.22 % per day). Whereas, the final average length and the survival rate of the Chitralada 4 strain from Pathumthani were higher than the Chitralada 3 strain from Chumphon (p<0.05). Key words : Chitralada 3, Chitralada 4 strain tilapia (Oreochromis niloticus), yield, growth * Corresponding author : 12/35 Moo 8 T. Thungkha, A. Muang, Chumphon 86100 e-mail : pee-ta@hotmail.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร
กรมประมง
30 กันยายน 2557
กรมประมง
การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) การทดสอบลักษณะเชิงเพาะเลี้ยงของปลานิลจิตรลดาปรับปรุงพันธุ์ และปลานิลจิตรลดา 3 ในฟาร์มเกษตรกร การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลแดงสายพันธุ์อุตรดิตถ์ การใช้เทคนิคชีววิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดเพื่อผลผลิตปลานิลในเชิงพาณิชย์ การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม การเปรียบอัตราการปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ปลานิลที่ให้ผลผลิตมากที่สุดในบ่อซีเมนต์ ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและสารอาหารของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus) ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การผลิตปลานิลร่วมกับปลาช่อนในระบบอะควาโปนิคส์ เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย การศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและตะกอนดินต่อสุขภาพของปลานิลในกระชังในลำน้ำอูนและแม่น้ำสงครามจังหวัดสกลนคร และนครพนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก