สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับการใช้กากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะ
ณรกมล เลาห์รอดพันธ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับการใช้กากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of the Level of Dried Cassava Pulp from Ethanol Process in the Ration on Rumen Fermentation and Digestibility in Fistulated Thai Native Bull
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณรกมล เลาห์รอดพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Norakamol Laorodphan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณโภชนะที่ย่อยได้ และกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักของโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะที่ได้รับกากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหาร โดยศึกษาในโคพื้นเมือง ที่เจาะกระเพาะรูเมนสอดท่อ rumen fistula จำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ Crossover Designs แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม (DCP 0) และกลุ่มที่ได้รับกากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลทดแทนแหล่งอาหารพลังงานที่ระดับ 15, 30 และ 45 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร (DCP 15, 30 และ 45) ผลจากการทดลองพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีน เยื่อใยที่ละลายได้ในสารซักล้างที่เป็นกลาง เยื่อใยที่ละลายได้ในกรด และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย รวมทั้งค่าความเป็นกรด-ด่างไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) แต่ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของไขมันรวมของกลุ่ม DCP 0 สูงกว่ากลุ่ม DCP 30 (P < 0.05) ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนทุกกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเพิ่มขึ้นหลังจากการให้อาหาร 1 ชั่วโมง และลดลงในชั่วโมงที่ 2 3 และ 4  แต่ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) การสลายตัวของวัตถุแห้งในชั่วโมงที่ 24 และ 48 เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือกลุ่ม DCP 0 และกลุ่ม DCP 15 สูงกว่ากลุ่ม DCP 45 (P < 0.05) ส่วนอัตราการสลายตัวของวัตถุแห้ง (c) และประสิทธิภาพการสลายตัวที่อัตรา 0.05 ส่วนต่อชั่วโมง (ED0.05) ลดลงตามระดับของกากมันสำปะหลังแห้งในสูตรอาหาร ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นในชั่วโมงที่ 16 และ 24 ของกลุ่ม DCP 0 สูงกว่ากลุ่ม DCP 45 (P < 0.05) พลังงานรวมย่อยได้ (TDN) และพลังงานใช้ประโยชน์ได้ (ME) ของกลุ่ม DCP 15 สูงกว่าระดับอื่น ๆ การใช้กากมันสำปะหลังแห้งที่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารเป็นระดับที่เหมาะสมใช้โดยไม่ส่งผลเสียต่อระบบการย่อยของโคพื้นเมือง
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was conducted to determine the effects of the level of dried cassava pulp from ethanol process (DCP) in the ration on digestibility and rumen fermentation in 4 fistulated Thai native bulls. The study was used Crossover Designs. The dietary treatments were divided into 4 treatments that are control diet (DCP 0) and the other 3 treatments were diets in which energy source was replaced by DCP at 15, 30 and 45%, respectively (DCP 15, 30 and 45). The results showed that the digestibility of dry matter (DMD), crude protein (CPD), neutral detergent fiber (NDFD), acid detergent fiber (ADFD) and nitrogen free extract (NFED) were not significant different among groups (P > 0.05). But the ether extract digestibility (EED) of DCP 0 was significant higher than DCP 30 (P < 0.05). Rumen pH and ammonia-nitrogen of each treatment was not significantly different (P>0.05). Ammonia-nitrogen in each treatment following the same trend i. e. increased at 1 hour after feeding then decreased at 2, 3 and 4 hour after feeding. In situ DM at 24 and 48 hour of DCP 0 and DCP15 were significantly higher than DCP 45 (P < 0.05). However, degradation rate and effective degradation at 0.05 fraction/hour were decreased with the increasing of DCP levels. Gas production at 16 and 24 hours of DCP 0 were significantly higher than DCP 45 (P < 0.05). Finally, TDN and ME of DCP 15 were higher than other groups so it could be concluded that DCP at 15 percentages would be suitable in the ration for beef cattle.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245938/168124
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับการใช้กากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อาหารจากมันสำปะหลัง สมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองไทยที่เลี้ยงด้วยอาหารหยาบที่มีคุณภาพแตกต่างกัน สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร คุณสมบัติทางเคมีและกระบวนการหมักเอทานอลจากมันพื้นเมืองสกุล Dioscorea sp.

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก