สืบค้นงานวิจัย
ผลของการมาริเนทด้วยเครื่องสะเต๊ะต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและความปลอดภัยของเนื้อหอยนางรม
พรพงษ์ สุทธิรักษ์, สุนิสา ศิริพงศ์วุฒิกร, พรพงษ์ สุทธิรักษ์, สุนิสา ศิริพงศ์วุฒิกร - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อเรื่อง: ผลของการมาริเนทด้วยเครื่องสะเต๊ะต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและความปลอดภัยของเนื้อหอยนางรม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Satay marinade on quality changes and safety of Oyster (Crassostrea belcheri) meat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: หอยนางรม (Crassostrea belcheri) ถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากการบริโภคหอยนางรมนิยมบริโภคในรูปแบบสดหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ทำให้มีความเสี่ยงสูงด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการบริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยการแปรรูปหอยนางรมด้วยการมาริเนทด้วยเครื่องสะเต๊ะ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ความร้อนในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่ใช้ในการทดลอง 5 สายพันธุ์คือ E. coli S. Typhimurium V. cholerae V. parahaemolyticus และ V. vulnificus ที่สามารถทำลายเชื้อดังกล่าวที่ปริมาณเริ่มต้น 108 cfu/g ใช้ระดับความร้อน 80oC เป็นเวลา 8 นาที ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ถูกทำลายทั้งหมด เมื่อใช้สภาวะดังกล่าวในให้การให้ความร้อนหอยนางรม สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนมาได้ โดยคุณภาพทางประสาทสัมผัสไม่แตกต่างจากหอยนางรมสดมากนัก เมื่อทำการมาริเนทหอยนางรมพาสเจอไรส์ด้วยเครื่องสะเต๊ะ พบว่า สามารถลดเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยที่มีคะแนนการยอมรับในด้านต่างๆ ส่วนใหญ่สูงกว่าหอยนางรมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรส์ และผู้ทดสอบชิมปฏิเสธการยอมรับผลิตภัณฑ์ทุกชุดการทดลองเมื่ออายุการเก็บรักษาเกินกว่า 6 วัน คำหลัก หอยนางรม คุณภาพ การมาริเนท
บทคัดย่อ (EN): Oyster (Crassostrea belcheri) an importance economical marine fish, has been well recognized as a geological indication product of Suratthani province. Due to tradition of partially-cooked or freshly consuming, research focused on monitoring changes in its quality both hygienic and safety of the product. Therefore, it is necessary to study the processing of oysters by marinating with a Satay. The results show that E. coli, S. Typhimurium, V. cholera, V. parahaemolyticus and V. vulnificus, which destroyed the infection at initial dosage of 108 cfu / g, Heat of 80oC for 8 minutes causes all microorganisms elimination. When used in oyster heating can destroy contaminated microorganisms. Sensory quality is not much different from fresh oysters. When marinating oyster pasteurized, it was found to reduce microbial number. The panelists refuse to accept every product that has a shelf-life of more than 6 days.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการมาริเนทด้วยเครื่องสะเต๊ะต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและความปลอดภัยของเนื้อหอยนางรม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
30 กันยายน 2556
ความปลอดภัยของอาหาร...หน้าที่ของเราทุกคน ใครว่าผักไทยไม่ปลอดภัย การศึกษาความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลา การวิจัยและปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำตาลโตนดเข้มข้นและการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิตและใช้ประโยชน์พืชวงศ์แมกโนเลียอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของปลานิลจากการเลี้ยงแบบยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงคุณภาพความสดของกั้งตั๊กแตนภายหลังการจับ การผลิต คุณภาพ และความปลอดภัยของน้าปลาร้าปรุงรส โครงการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของการปลูกพืชผัก การสกัดและสมบัติการต้านออกซิเดชันของสมุนไพร/เครื่องเทศที่เป็นองค์ประกอบในเครื่องต้มข่าและการประยุกต์ใช้เครื่องต้มข่าในการมาริเนทในกุ้งขาวและเก็บรักษาแบบดัดแปลงบรรยากาศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก