สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรกุ้งแชบ๊วยจาก 3 แหล่งในประเทศไทย
ศรีรัตน์ สอดศุข - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรกุ้งแชบ๊วยจาก 3 แหล่งในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Diversity of Banana shrimp from three locations inthailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีรัตน์ สอดศุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พนม กระจ่างพจน์ สอดศุข
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรกุ้งแชบ๊วย(Penaeus merguiensis De Man) ในประเทศไทยจำนวน 3 แหล่ง (ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสตูล) โดยวิธีสตาร์ซเจลอิเล็คโตรโฟเรซิส (starch gel electrophoresis) พบว่า 26 เอนไซม์โลไซ (enzyme loci) ที่ได้จากการตรวจสอบขาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อ และตับของกุ้งนั้น มี 5 โลไซ ที่เป็นโพลีมอร์ฟิค(polymorphic) (Po9s = 0.192) ได้แก่ ALAT* GPI* IDHP* MPI* และ PGM-1* ค่าเฉลี่ยเฮดเทอโรไซโกซิตี (heterozygosity) จากโลไซทั้งหมดมีค่า He = 0.066±0.028 จากผลการตรวจสอบค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมต่างๆ ได้แก่ การตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์ของความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร (F-statistics) การตรวจสอบความแตกต่างของข้อมูลโลไซที่เป็นโพลีมอร์ฟิคในแต่ละคู่ประชากรและท่ามกลางประชากรทั้งหมด การประเมินค่าระยะห่างทางพันธุกรรมและการจัดทำโครงสร้างความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างประชากรให้ผลไปในแนวเดียวกัน คือ ประชากรกุ้งแชบ๊วยจากทั้ง 3 บริเวณที่ทำการศึกษามีความแตกต่างทางพันธุกรรมซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมแยกออกจากกันเป็นคนละกลุ่มประชากร อย่างไรก็ตาม ประชากรกุ้งแชบ๊วยจากจังหวัดชลบุรีและสุราษฎร์ธานีซึ่งอยู่ในเขตอ่าวไทยเหมือนกัน จะมีความเหมือนหรือความสัมพันธ์ที่ใกลัชิดกันมากกว่าความสัมพันธ์กับประชากรจากจังหวัดสตูลซึ่งอยู่ในเขตทะเลอันดามัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ประชากรกุ้งแซบ๊วยในประเทศไทยมีความแตกต่างระหว่างประชากรของฝั่งทะเล อันดามันกับอ่าวไทย และระหว่างประชากรในเขตอ่าวไทยด้วยกันเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/genetic/research/details.php?id=296
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรกุ้งแชบ๊วยจาก 3 แหล่งในประเทศไทย
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2541
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สรุปชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้้ยงกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) เพื่อการส่งออก ปีงบประมาณ 2545 - 2547 ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรกุ้งก้ามกรามจาก 3 แหล่งในประเทศไทย อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกกุ้งของประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกา การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งแชบ๊วยบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกกุ้งของไทย ความชุกและชนิดของพันธุกรรมเชื้อ Cryptosporidium spp. ที่สัมพันธ์กับความหลากหลายของสัตว์ฟันแทะในประเทศไทย ศึกษาสารคงตัวที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่าง Escherichia coli ในกุ้งที่ใช้สำหรับทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการ ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นสบู่ดำในประเทศไทยโดยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก