สืบค้นงานวิจัย
การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002
วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002
ชื่อเรื่อง (EN): Application of probiotic bacteria for control black disease in fairyshrimp, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การตรวจโรคและปรสิตในไรน้ำนางฟ้าไทย Branchinella thailandensis พบปรสิต 2 ชนิด ได้แก่ Vorticella sp. และ Pleistophora sp. ไรน้ำนางฟ้าไทยส่วนใหญ่แสดงอาการของโรค black disease ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยไรน้ำนางฟ้าที่แสดงอาการของโรคนี้จะตายภายในระยะเวลา 1-3 วัน เมื่อนำไรน้ำนางฟ้าที่ตายมาทำการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย พบแบคทีเรียจำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Acinetobacter sp. WS2, Aeromonas hydrophila WS1, Chryseobacterium sp. WS3, Citrobacter youngae WS4 และ Enterobacter cloacae WS5 เมื่อนำแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิดมาทดสอบความสามารถในการก่อโรคโดยวิธีการแช่ไรน้ำนางฟ้าในสารละลายแบคทีเรียแต่ละชนิดที่ระดับความเข้มข้น 104 CFU/มิลลิลิตร เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าไรน้ำนางฟ้าที่ทดสอบกับเชื้อ A. hydrophila WS1 ทำให้เกิดการตายสูงสุด (62.00+5.70%) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับไรน้ำนางฟ้าที่ทดสอบด้วยเชื้อ E. cloacae WS5 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การตาย 51.00+4.18 ส่วนเชื้อ C. youngae WS4, Acinetobacter sp. WS2 และ Chryseobacterium sp. WS3 ทำให้เกิดการตายของไรน้ำนางฟ้า 35.00+3.54, 10.00+3.54 และ 9.00+4.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำเชื้อแบคทีเรียทั้ง 13 สายพันธุ์ซึ่งผ่านการทดสอบว่ามีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ A. hydrophila จากงานวิจัยที่ผ่านมา มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย A. hydrophila WS1 โดยวิธี cross streak method พบว่าเชื้อ Bacillus coagulans W120 สามารถสร้างสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ A. hydrophila WS1 ได้สูงสุดที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมง การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ B. coagulans W120 ในการควบคุมเชื้อ A. hydrophila WS1 ในน้ำ พบว่าเชื้อ B. coagulans W120 สามารถลดเชื้อ A. hydrophila WS1 ในน้ำ จากปริมาณ 106 เป็น 105 CFU/มิลลิลิตร ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามเชื้อ B. coagulans W120 สามารถตรวจพบว่าอยู่ในปริมาณสูงในลำไส้ไรน้ำนางฟ้าเพียง 1 วัน หลังจากหยุดให้เชื้อผสมอาหาร ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าเชื้อ B. coagulans W120 สามารถใช้เพื่อเป็นโพรไบโอติกในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียก่อโรค A. hydrophila ได้ โดยควรใช้ผสมอาหารเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าทุกวันตลอดระยะเวลาการเลี้ยง การตรวจโรคและปรสิตในไรน้ำนางฟ้าไทย Branchinella thailandensis พบปรสิต 2 ชนิด ได้แก่ Vorticella sp. และ Pleistophora sp. ไรน้ำนางฟ้าไทยส่วนใหญ่แสดงอาการของโรค black disease ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยไรน้ำนางฟ้าที่แสดงอาการของโรคนี้จะตายภายในระยะเวลา 1-3 วัน เมื่อนำไรน้ำนางฟ้าที่ตายมาทำการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย พบแบคทีเรียจำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Acinetobacter sp. WS2, Aeromonas hydrophila WS1, Chryseobacterium sp. WS3, Citrobacter youngae WS4 และ Enterobacter cloacae WS5 เมื่อนำแบคทีเรียทั้ง 5 ชนิดมาทดสอบความสามารถในการก่อโรคโดยวิธีการแช่ไรน้ำนางฟ้าในสารละลายแบคทีเรียแต่ละชนิดที่ระดับความเข้มข้น 104 CFU/มิลลิลิตร เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าไรน้ำนางฟ้าที่ทดสอบกับเชื้อ A. hydrophila WS1 ทำให้เกิดการตายสูงสุด (62.00+5.70%) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับไรน้ำนางฟ้าที่ทดสอบด้วยเชื้อ E. cloacae WS5 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การตาย 51.00+4.18 ส่วนเชื้อ C. youngae WS4, Acinetobacter sp. WS2 และ Chryseobacterium sp. WS3 ทำให้เกิดการตายของไรน้ำนางฟ้า 35.00+3.54, 10.00+3.54 และ 9.00+4.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำเชื้อแบคทีเรียทั้ง 13 สายพันธุ์ซึ่งผ่านการทดสอบว่ามีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ A. hydrophila จากงานวิจัยที่ผ่านมา มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย A. hydrophila WS1 โดยวิธี cross streak method พบว่าเชื้อ Bacillus coagulans W120 สามารถสร้างสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ A. hydrophila WS1 ได้สูงสุดที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมง การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ B. coagulans W120 ในการควบคุมเชื้อ A. hydrophila WS1 ในน้ำ พบว่าเชื้อ B. coagulans W120 สามารถลดเชื้อ A. hydrophila WS1 ในน้ำ จากปริมาณ 106 เป็น 105 CFU/มิลลิลิตร ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามเชื้อ B. coagulans W120 สามารถตรวจพบว่าอยู่ในปริมาณสูงในลำไส้ไรน้ำนางฟ้าเพียง 1 วัน หลังจากหยุดให้เชื้อผสมอาหาร ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าเชื้อ B. coagulans W120 สามารถใช้เพื่อเป็นโพรไบโอติกในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียก่อโรค A. hydrophila ได้ โดยควรใช้ผสมอาหารเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าทุกวันตลอดระยะเวลาการเลี้ยง
บทคัดย่อ (EN): The fairy shrimp Branchinella thailandensis was investigated for the presence of diseases and parasites. Two species of parasites, Vorticella sp. and Pleistophora sp., were identified. Most fairy shrimp also showed signs of a life-threatening bacterial infection called black disease. This disease affects the survival rate of fairy shrimp, resulting in death within 1-3 days. Five species of bacteria were isolated from diseased fairy shrimp, including Acinetobacter sp. WS2, Aeromonas hydrophila WS1, Chryseobacterium sp. WS3, Citrobacter youngae WS4 and Enterobacter cloacae WS5. Results from mortality tests of B. thailandensis incubated with individual species of bacteria revealed that B. thailandensis exposed to A. hydrophila WS1 had the highest mortality rate (62.00+5.70%). However, these results did not differ significantly (P>0.05) from B. thailandensis exposed to E. cloacae WS5, which had a mortality rate of 51.00+4.18%. In the presence of C. youngae WS4, Acinetobacter sp. WS2 and Chryseobacterium sp. WS3, B. thailandensis had mortality rates of 35.00+3.54, 10.00+3.54 and 9.00+4.18%, respectively. Thirteen strains of spore forming bacteria from previous study were tested for bacterial antagonist activity with A. hydrophila WS1. The cross streak method results showed that B. coagulans W120 could inhibit A. hydrophila WS1 in highest nember after 48 hours. Application of B. coagulans W120 to use for control A. hydrophila WS1 was conducted. B. coagulans W120 could decrease A. hydrophila WS1 from 106 to 105 CFU/ml in 48 hours. However, B. coagulans W120 were detected in fairy shrimp intestine in high number only 1 days after stop feeding with B. coagulans W120. These results suggest that these B. coagulans W120 can be applied as effective probiotic to control pathogenic bacteria, A. hydrophila in fairy shrimp culture by feeding this probiotic bacteria dairy.The fairy shrimp Branchinella thailandensis was investigated for the presence of diseases and parasites. Two species of parasites, Vorticella sp. and Pleistophora sp., were identified. Most fairy shrimp also showed signs of a life-threatening bacterial infection called black disease. This disease affects the survival rate of fairy shrimp, resulting in death within 1-3 days. Five species of bacteria were isolated from diseased fairy shrimp, including Acinetobacter sp. WS2, Aeromonas hydrophila WS1, Chryseobacterium sp. WS3, Citrobacter youngae WS4 and Enterobacter cloacae WS5. Results from mortality tests of B. thailandensis incubated with individual species of bacteria revealed that B. thailandensis exposed to A. hydrophila WS1 had the highest mortality rate (62.00+5.70%). However, these results did not differ significantly (P>0.05) from B. thailandensis exposed to E. cloacae WS5, which had a mortality rate of 51.00+4.18%. In the presence of C. youngae WS4, Acinetobacter sp. WS2 and Chryseobacterium sp. WS3, B. thailandensis had mortality rates of 35.00+3.54, 10.00+3.54 and 9.00+4.18%, respectively. Thirteen strains of spore forming bacteria from previous study were tested for bacterial antagonist activity with A. hydrophila WS1. The cross streak method results showed that B. coagulans W120 could inhibit A. hydrophila WS1 in highest nember after 48 hours. Application of B. coagulans W120 to use for control A. hydrophila WS1 was conducted. B. coagulans W120 could decrease A. hydrophila WS1 from 106 to 105 CFU/ml in 48 hours. However, B. coagulans W120 were detected in fairy shrimp intestine in high number only 1 days after stop feeding with B. coagulans W120. These results suggest that these B. coagulans W120 can be applied as effective probiotic to control pathogenic bacteria, A. hydrophila in fairy shrimp culture by feeding this probiotic bacteria dairy.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้แบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อควบคุมโรค black disease ในไรน้ำนางฟ้าไทย, Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2553
การคัดแยกแบคทีเรียแลกติกจากลำไส้กั้งตั๊กแตนเพื่อพัฒนาเป็นโพรไบโอติก แลกติกแอซิดแบคทีเรียที่ใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับปลากะพงขาว Lates calcarifer : รายงานฉบับสมบูรณ์ การเหลือรอดของแบคทีเรียโพรไบโอติกที่ผ่านการช็อคด้วยกรดและตรึงเซลล์บนวุ้นที่เกิดจากการหมักด้วยน้ำสับปะรด การประเมินสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ การต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรค และการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียโพรไบโอติกของสารสกัดราข้าวไรซ์เบอรี่ การผลิตโอลิโกแซคคาไรด์จากเฮมิเซลลูโลสที่ละลายในน้ำและในด่างจากผลผลิตพลอยได้จากข้าวโดยกระบวนการทางเอนไซม์ร่วมกับไมโครเวฟ และประสิทธิภาพต่อแบคทีเรียโพรไบโอติกภายใต้สภาวะจำลองระบบย่อยอาหาร การใช้ผงแบคทีเรียกรดแลคติกจากหญ้าหมักเป็นสารโพรไบโอติกในการเลี้ยงไก่ สารต้านจุลชีพชนิดใหม่จากแบคทีเรียโพรไบโอติกเพื่อใช้ในการควบคุมมาตรฐานทางแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งและแปรรูปในจังหวัดชลบุรี การเหลือรอดของแบคทีเรียโพรไบโอติกที่ผ่านการช็อคด้วยกรดและตรึงเซลล์บนวุ้นที่เกิดจากการหมักด้วยน้ำสับปะรด การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย ปริมาตรที่เหมาะสมของน้ำกลั่นในการเก็บรักษาไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) เพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก