สืบค้นงานวิจัย
การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
ธเนศ ศรีถกล, สุวรรณทนา ทศพรพิทักษ์กุล, จุรีรัตน์ สงนุ้ย, ธเนศ ศรีถกล, สุวรรณทนา ทศพรพิทักษ์กุล, จุรีรัตน์ สงนุ้ย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Fisheries, spawning area and spawning seasons of Indo-Pacific mackerel in the Southern Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เก็บรวบรวมข้อมูลและตัวอย่างปลาทูจากท่าขึ้นสัตว์น้ำในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชได้แก่อำเภอขนอม อำเภอสิชล และอำเภอท่าศาลา ในเขตจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอสทิงพระ อำเภอเมือง อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา จากเรือประมงอวนลอย อวนล้อม และอวนลากคู่ ซึ่งออกทำการประมงตั้งแต่บริเวณเกาะสมุย ถึงเกาะขาม โดยเก็บตัวอย่างทุกเดือนๆ ละประมาณ 5 วัน ระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 เพื่อศึกษาการทำประมง แหล่ง และฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ผลมีดังนี้เรืออวนลากคู่มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 111.86?32.78 กก./ชม. ประกอบด้วยกลุ่มปลาเป็ดร้อยละ 41.59 รองลงมา คือ กลุ่มปลาหน้าดิน ปลาหมึก ปลาผิวน้ำ กุ้ง ปู และสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ ร้อยละ 36.54, 11.26, 9.98, 0.37, 0.21 และ 0.05 ตามลำดับ ขนาดความยาวของปลาทูยาวอยู่ในช่วง 12.75-20.75 (17.08) เซนติเมตร ส่วนปลาลังมีความยาวอยู่ในช่วง 13.75-24.25 (19.87) เซนติเมตร เรืออวนล้อมซั้งมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 4,294.34?4,715.09 กก./วัน ประกอบด้วยกลุ่มปลาผิวน้ำสูงสุดร้อยละ 94.48 รองลงมา คือ กลุ่มปลาหน้าดิน ปลาหมึก และปลาเป็ดแท้ ร้อยละ 2.74, 1.65 และ 1.13 ตามลำดับ ขนาดความยาวของปลาทูอยู่ในช่วง 10.25-17.75 (11.91) เซนติเมตร ปลาลังมีความยาวอยู่ในช่วง 7.75-23.75 (15.86) เซนติเมตร เรืออวนล้อมจับปั่นไฟมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยเท่ากับ 3,108.17?2,684.38 กก./วัน ประกอบด้วยกลุ่มปลาผิวน้ำสูงสุด ร้อยละ 84.19 รองลงมา คือ กลุ่มปลาหน้าดิน ปลาเป็ดแท้ ปลาหมึก กุ้ง และสัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ ร้อยละ 8.66, 4.22, 2.83, 0.10 และ 0.01 ตามลำดับ ขนาดความยาวของปลาทูอยู่ในช่วง 9.25-21.25 (14.74) เซนติเมตร ปลาลังความยาวอยู่ในช่วง 8.75-23.25 (15.12) เซนติเมตร เรืออวนดำมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 3,469.39?2,813.11 กก./วัน ประกอบด้วยกลุ่มปลาผิวน้ำสูงสุด ร้อยละ 97.38 รองลงมา คือ กลุ่มปลาหน้าดิน ปลาเป็ดแท้ ปลาหมึก และกุ้ง ร้อยละ 1.66, 0.65, 0.22 และ 0.09 ตามลำดับ ขนาดความยาวของปลาทูอยู่ในช่วง 9.25-20.75 (17.24) เซนติเมตร ปลาลังมีความยาวอยู่ในช่วง 9.25-22.75 (14.41) เซนติเมตร อวนลอยปลาทูมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 50.01 กิโลกรัม/ลำ/วัน ปลาทูมีอัตราการจับเฉลี่ย 14.55 กิโลกรัม/ลำ/วัน ขนาดความยาวเหยียดอยู่ในช่วง 11.50-20.50 (16.69) เซนติเมตร ปลาลังมีอัตราการจับเฉลี่ย 22.45 กิโลกรัม/ลำ/วัน ขนาดความยาวเหยียดอยู่ในช่วง 15.50-22.00 (18.87)เซนติเมตร สำหรับผลการศึกษาชีววิทยาพบว่าปลาทูจำนวน 2,715 ตัว เป็นเพศผู้ 1,502 ตัว และะเพศเมีย 1,663 ตัว มีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวเหยียดกับน้ำหนักตัวดังนี้ W=0.000008TL3.0749 W = 0.00001TL3.0303 และ W = 0.000007TL3.1002 มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียมีค่าเท่ากับ 1:1.58 ปลาทูเพศเมียมีขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ที่ความยาวเหยียด 16.68 เซนติเมตร ปลาทูเพศเมียสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยวางไข่มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เมษายนถึงกรกฎาคม กันยายน พฤศจิกายนถึงธันวาคม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมง แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ เกาะสมุยเกาะกระ ถึง แหลมตะลุมพุก แบบจำลองทางเศรษฐกิจ-ชีววิทยาเพื่อการจัดการประมงปลาทูบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน สภาวะการประมงอวนล้อมจับประกอบแสงไฟตามระยะห่างฝั่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง สภาวะการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ชีววิทยาสืบพันธุ์ของปลาทูในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน แหล่งและฤดูวางไข่ของปลาเศรษฐกิจในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ความชุกชุมและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนสกุลทู-ลัง บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก