สืบค้นงานวิจัย
ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและสารอาหารของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus)
อนุรักษ์ เขียวขจรเขต - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและสารอาหารของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus)
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Fish Silage on Growth Performance, Feed and Nutrient Utilization of Red Tilapia (Oreochromis niloticus x O. mossambicus)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุรักษ์ เขียวขจรเขต
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anurak Khieokhajonkhet
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เศษปลาหมัก (fish silage, FS) จากกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำเป็นเศษเหลือทิ้งที่ยังคงสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ จึงเป็นที่มาของศึกษานี้โดยกำหนดให้อาหารทดลองผสมด้วยเศษปลาหมักที่ระดับต่างๆ จำนวน 5 ระดับประกอบด้วย สูตรควบคุม (FS0) ไม่ผสมเศษปลาหมัก และมีแหล่งโปรตีนที่มาจากปลาป่นเป็นหลัก สูตรที่ 2-5 (FS25-FS100) ผสมเศษปลาหมักที่ระดับ 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ของระดับโปรตีนในปลาป่นในสูตรควบคุมตามลำดับ โดยกำหนดให้มีโปรตีน และไขมันในระดับใกล้เคียงกัน จากการทดลองพบว่าปลาที่ได้รับอาหารสูตร FS25 และ FS50 มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูง การเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ประสิทธิภาพการย่อยวัตถุแห้งและโปรตีน ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน การสะสมฟอสฟอรัส และการขับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับสูตรควบคุม (FS0) ในขณะที่ปลานิลแดงที่ได้รับอาหาร FS75 และ 100 มีผลเชิงลบต่อการเจริญเติบโต และเมื่อประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนต่ำจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต การนำสารอาหารไปประโยชน์ส่งผลต่อการขับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงอีกด้วย ด้านต้นทุนค่าอาหารพบว่าเมื่อใช้เศษปลาหมักที่ 25 และ 50 เปอร์เซ็นต์มีผลทำให้อาหารมีต้นทุนที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม การทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเศษปลาหมักเป็นวัตถุดิบที่ศักยภาพต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสามารถทดแทนโปรตีนจากปลาป่นได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและสามารถลดการขับสารอาหารลงสู่แหล่งน้ำได้
บทคัดย่อ (EN): Fish silage (FS) is fish processing waste that contains a high amount of nutritional values. The remaining nutrients are important for growth development in the aquatic animals. This study was undertaken to investigate the suitability of using fish silage. A dried powder FS was used to prepare 5 experimental diets with different levels of FS inclusion (0, 25, 50, 75, and 100 percent of protein). All experimental diets were isonitrogenous and isolipidic diets. After 8 weeks of the feeding trial, the fish fed FS25 and FS50 exhibited high weight gain, average dairy growth, specific growth rate, feed conversion ratio, digestibility of dry matter and protein, protein efficiency ratio, phosphorus retention, and nitrogen and phosphorus loading, but not significantly differed from the fish fed control diet (P>0.05). FS substitution of up to 75 percent (FS75 and 100) of the fish meal protein in control diet was negatively depressed growth performance. In addition, low protein digestibility leads to reduce growth performance, nutrients utilization resulting high nitrogen and phosphorus loaded. The feeding cost of fish fed FS25 and FS50 had the lowest value than the control diet. The results of the present study suggest that 50 percent of fish silage can potentially substitute protein in the fish meal without depressing growth performance and reduce nutrient loading into the water body.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/176515/125895
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและสารอาหารของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การเจริญเติบโตของปลานิลที่อนุบาลด้วยอาหารผสมสาหร่ายเกลียวทองในระดับที่ต่างกัน การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล ประสิทธิภาพของเครื่องหมาย Visible Implant Elastomer ในปลานิลและปลานิลแดงคัดพันธุ์และปลานิลแดงคัดพันธุ์ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล ผลของการเสริมแหนเป็ด ในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแดง การศึกษาประสิทธิภาพสารดูดซับสารพิษอะฟลาท็อกซินจากแหล่งดิน ในประเทศไทยในอาหารปลานิล การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ในอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อย ประสิทธิภาพการใช้สารอาหาร และอัตราการเจริญเติบโตของปลานิลแปลงเพศ การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก