สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน
น้อม รีบเร่ง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่อง (EN): Technology application of longan growers in Lamphun province, Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: น้อม รีบเร่ง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1)เพื่อศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยจังหวัดลำพูน 2)เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยจังหวัดลำพูน 3)เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคการผลิตลำไยของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยจังหวัดลำพูนจากการสัมภาษณ์หัวหน้าครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกลำไยจำนวน 252 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบ multi-stage random sampling จากเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูนทั้งหมด จำนวน 25,155 ครอบครัว แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS ในเครื่อง micro computer มีผลการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาวิจัย สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม จากการศึกษาพบว่า หัวหน้าครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูน ส่วนมากมีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีพื้นฐานการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.22 คน มีรายได้จากลำไยปี 2531 เฉลี่ยทั้งกลุ่มเท่ากับ 27,249.93 บาท ในปี 2532 เกษตรกรมีรายได้จากลำไยน้อยกว่าปี 2531 คือ มีรายได้เฉลี่ยเพียงครอบครัวละ 14,804.72 บาท ขนาดสวนที่ได้รับน้ำชลประทานเฉลี่ย 3.19 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยมีประสบการณ์หรือระยะเวลาในการทำสวนลำไยเฉลี่ย 10.52ปี การรับข่าวสารการผลิตลำไยผ่านสื่อมวลชนคือทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และเอกสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำหรับการได้รับความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ในรอบปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รับความรู้จากเพื่อนบ้าน เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ และสถาบันเอกชนตามลำดับ กิจกรรมที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ตือ ร่วมประชุมเป็นอันดับแรก การร่วมกันส่งผลิตผลลำไยจำหน่าย การร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมและร่วมกิจกรรมจัดงานวันลำไย การใช้เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรในการปลูกลำไยของเกษตรกร เกษตรกรผู้ปลูกลำไยจังหวัดลำพูนส่วนใหญ่ปลูกลำไยพันธุ์ส่งเสริมมากกว่า 1 พันธุ์คือพันธุ์อีดอ แห้ว ชมพู และเบี้ยวเขียว เกษตรกรกว่าร้อยละ 60 ตัดแต่งกิ่งเมื่อลำไยอายุ 2-3 ปีและ 85.70 นิยมตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว การให้น้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ให้น้ำมากกว่า 1 วิธี ได้แก่ การให้น้ำแบบท่วมโคนต้น ให้น้ำแบบขังบริเวณโคนต้น ให้น้ำซึมใต้ผิวดิน และให้น้ำแบบเหนือผิวดิน(แบบฝอย,แบบหยด) ช่วยของการให้น้ำคือให้น้ำหลังการให้ปุ๋ย หลังการปลูกหลังลำไยแทงช่อดอก การให้ปุ๋ย เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15,13-13-21,12-24-12 และปุ๋ยน้ำสูตรต่าง ๆ โดยเกือบร้อยละ 70 ใช้ปุ๋ยสูตรเดียว การใช้ปุ๋ยมี 4 รูปแบบคือ รอบบริเวณทรงพุ่มแล้วกลบปุ๋ย ให้ปุ๋ยในหลุมเป็นจุด ๆ ให้ปุ๋ยดดยผสมน้ำรด การใช้ฮอร์โมน เกษตรกรกว่าครึ่งใช้เพื่อให้ลำไยติดดอกออกผลดีขึ้น โรคลำไยที่สำคัญได้แก่ โรคพุ่มไม้กวาด โรคราดำ โรคหูด เกษตรกรร้อยละ 70 ต้องกำจัดโรคลำไย 2-5 ชนิดทุกปี สำหรับแมลงศัตรูที่ระบาดมากได้แก่ มวนลำไย หนอนคืบกินใบ หนอนกินใบ หนอนกินดอกลำไย เกษตรกรมีการกำจัดแมลง 2-5 ชนิด ร้อยละ 52.73 สัตว์ศัตรูพืชได้แก่ หนู ค้างคาว และกระรอก ร้อยละ 67.97 ของเกษตรกรกำจัดศัตรูพืช 1 ชนิด การกำจัดวัชพืชทำกันหลายวิธีคือ การกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี เครื่องจักกลไถ การคัดคุณภาพของผลลำไย เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมแบ่งลำไยเป็น 3 เกรด และมากกว่าและผู้ซื้อหลักได้แก่พ่อค้าท้องถิ่น ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกลำไยมีปัญหาและอุปสรรคและไม่มีปัญหาพบว่า มีจำนวนใกล้เคียงกัน ปัญหาและอุปสรรคที่เกษตรกรพบคือการป้องกันกำจัดศัตรูพืช วิธีการใช้ฮอร์โมน การให้น้ำ และการตัดแต่งกิ่ง นอกจากนี้ปัญหาที่เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 30 พบคือ การเลือกพันธุ์ปลูก การคัดขนาด และปญหาด้านอื่น ๆ คือ การโค่นล้มของต้นลำไย เนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น พายุ ถึงแม้ทางกรมส่งเสริมได้เผยแพร่วิธีการตัดแต่งกิ่งและใช้ไม้ค้ำยัน แต่ก็มีความเสียหายอยู่เป็นประจำทุกปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดลำพูน
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย จังหวัดลำพูน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2535
สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก การดำเนินการและการใช้สื่อเสียงตามสายเพื่อเกษตรกรในจังหวัดลำพูน เทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ ความคิดเห็นของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีการปลูกอ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ศึกษาผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี การผลิตยางของเกษตรกร เทคโนโลยีการผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก