สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย
อินทโพธิ์ สิงหล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อินทโพธิ์ สิงหล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ลักษณะการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมกลุ่ม ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง และหาความสัมพันธ์ระหว่าง การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมกลุ่ม กับตัวแปรอิสระ คือ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรของครอบครัว รายได้รวมของครอบครัว อาชีพนอกภาคเกษตร ตำแหน่งทางสังคมของแม่บ้านเกษตรกร การได้รับการฝึกอบรม ความต้องการพวกพ้อง ทัศนคติที่มีต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการกลุ่ม รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการพัฒนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย จำนวน 22 กลุ่ม สมาชิก 951 คน จาก 9 อำเภอ โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ร้อยละ 20 ได้จำนวน 190 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอ้างอิง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เช่น ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไค -สแคว์ (c2) ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 31-45 ปี ส่วนใหญ่จบชั้น ป.4 ป.6 ป.7 หรือเทียบเท่า ร้อยละ 68.4 ไม่มีบุตรอายุต่ำกว่า 12 ปี สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3 - 4 คน ร้อยละ 59.2 มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง มีรายได้รวมของครอบครัวเฉลี่ย 78,254.4 บาทต่อปี ระยะเวลาการเป็นสมาชิก เฉลี่ย 7.2 ปี ร้อยละ 77.4 เข้าร่วมการดำเนินงานธุรกิจของกลุ่ม มีความต้องการพวกพ้องอยู่ในเกณฑ์มาก มีทัศนคติต่อคณะกรรมการกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ดี มีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มในระดับมากถึงปานกลาง มีปัจจัยที่แสดงถีงความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม เมื่อทดสอบด้วยสถิติไค-สแคว์ (c2) ได้แก่ ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร รายได้รวมของครอบครัว การประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร และการมีตำแหน่งทางสังคม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีส่วนร่วมใน 3 ประเด็น คือ มีส่วนร่วมในการรับความรู้จากเจ้าหน้าที่ ในระดับปานกลางถึงมาก มีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่ม ในระดับมากถึงปานกลาง และมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มในระดับมากถึงปานกลาง ปัญหาอุปสรรคของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ ขาดเงินทุน ขาดวัสดุ อุปกรณ์ในการแปรรูป ตลาดสินค้าผลิตภัณฑ์ ขาดความรู้ ทักษะในการดำเนินงาน มีข้อเสนอแนะ เช่น ขอให้ช่วยเหลือด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการกลุ่ม ขอให้ช่วยเหลือด้านเงินทุน และขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรที่ทันสมัย เป็นต้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสระบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดชุมพร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดปัตตานี การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐาน ความคิดเห็น และความพึงพอใจ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสมุทรปราการ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในกลุ่มประสบผลสำเร็จระดับดี และระดับปานกลาง จังหวัดราชบุรี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรม : กรณีศึกษาของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ปี 2547 ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก