สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตหญ้าแพงโกล่าเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า
นพวรรณ ชมชัย - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตหญ้าแพงโกล่าเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า
ชื่อเรื่อง (EN): The development of the process of the pangola grass production to improve their quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นพวรรณ ชมชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Noppawan Chomchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางพัฒนาเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่มีอาชีพการผลิตหญ้าแพงโกล่าจำหน่าย โดยทำการศึกษาภายใต้สมมติฐานที่ว่า การพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพแปลงหญ้าโดยมีการจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสม จะทำให้หญ้าแพงกล่าที่เกษตรกรผลิตจำหน่ายมีคุณภาพดี สม่ำเสมอ มีผลผลิตจัดส่งให้แก่ลูกค้าได้อย่าง ต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของอาชีพการผลิตหญ้าแพงโกล่าจำหน่าย โดยใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลทั้งในภาคสนามแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม และการเก็บข้อมูลในแปลงทดลอง ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การพัฒนากลุ่มอาชีพผู้ผลิตหญ้าไปสู่ความยั่งยืน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุยเคมีในแปลงหญ้าเกษตรกร และการทดลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุยเคมีในแปลงหญ้าแพงโกล่า ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2549 ถึง เดือนพฤษภาคม 2551 ผลการศึกษาจากเกษตรกร 12 กลุ่ม ในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สระบุรี และสุพรรณบุรี พบว่ากลุ่มเกษตรกรในจังหวัดชัยนาทส่วนใหญ่มีปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มและการใช้เครื่องจักร รวมทั้งมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส ขณะที่กลุ่มนอกจังหวัดชัยนาทจะมีความเข้มแข็งมากกว่า จากการคัดเลือกกลุ่มนำร่องเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อสร้างเป็นต้นแบบการบริหารจัดการกลุ่มจำนวน 2 กลุ่ม ผลการดำเนินการในระยะเวลา 1 ปี่พบว่ายังไม่สามารถพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างเป็นกลุ่มต้นแบบที่มีความเข้มแข็งได้ แต่เริ่มมีทิศทางการบริหารจัดการกลุ่มเป็นระบบดีขึ้นและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานร่วมกันมากขึ้น ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อพัฒนาคุณภาพแปลงหญ้าของเกษตรกร สามารถสร้างความเข้าใจถึงวิธีการดูแลให้น้ำ ใส่ปุ๋ย และการเก็บเกี่ยวที่ถูกวิธี ที่ทำให้ได้หญ้าแห้งที่มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรว่าสามารถผลิตได้จริง แต่เงื่อนไขที่เป็นแรงจูงใจในการผลิตขึ้นอยู่กับราคาที่เป็นธรรมตามเกรดคุณภาพหญ้า จากการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำให้เหมาะสมกับสภาพดินทำให้เกษตรกรกลุ่มฯหาดอาษา สามารถผลิตหญ้าแห้งได้เพิ่มขึ้น 67.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรอบ และได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 101.70 บาทต่อไร่ต่อรอบ ส่วนกลุ่มฯ แพงโกล่า 11 มีปัญหาเรื่องสภาพแปลงทดลองที่ไม่เรียบทำให้ไม่เห็นผลที่ดีขึ้น ผลการทดลองใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากพืชผักต่างๆ ทดแทนปุยเคมีในแปลงหญ้าแพงโกล่าไม่มีผลทำให้คุณสมบัติทางเคมีของดินเปลี่ยนแปลง และไม่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของหญ้า การใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นมีผลทำให้หญ้าแพงโกล่ามีการเจริญเติบโต ผลผลิตน้ำหนักแห้ง และเปอร์เซ็นต์โปรตีนในหญ้าสูงเพิ่มขึ้น โดยที่การใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่แนะนำสำหรับดินชุดราชบุรี ในพื้นที่ลุ่มเขตชลประทาน คือ ใส่ปุยสูตร 15 -15-15 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรอบ และใส่ปุ๋ยยูเรีย 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรอบ ทำให้ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งสูงสุดเฉลี่ย 5,671 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากการตัดหญ้า 7 ครั้ง และมีค่าโปรตีนสูงสุดเฉลี่ย 7.9 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า การพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพแปลงหญ้า จะนำไปสู่ความยั่งยืนของอาชีพการผลิตหญ้าแพงโกล่าจำหน่าย เนื่องจากสามารถพัฒนาคุณภาพแปลงหญ้าและการผลิตหญ้าแห้งคุณภาพดีได้เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา รวมทั้งต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ (EN): The aim of this research was to study the development of producing pangola grass in order to improve the quality of the product and to find the way to improve the stability of the farmers for producing and distributing pangola grass. This study was conducted within the hypothesis that developing the strength of the farmers group together with the development of the quality of the grass field managing the suitable nutrients could improve the quality and the stability of producing and distributing pangola grass which lead to the sustainability of this career. This study used collecting data both in the field of farmers' participation and data in experiment from the grass fields within three activities: developing the stability of grass producers, transforming chemical fertilizer in farmers' grass fields and the experiment of using organic fertilizer instead of chemical fertilizer in pangola grass. The study was operated from September 2006 to May 2008. The results of general data of the twelve groups of farmers in Chainat, Singhburi, Saraburi and Suphanburi Province revealed that there were some existing problems about corruption and unfair in administration found in Chainat's farmer groups. The other groups outside Chainat Province were stronger than Chainat's farmer groups. The two prior groups were chosen into developing process as the administrative model for one year. The results could not improve the administration of the farmers' groups to be the example model of strong group, but it was found that there was a better way in managing system of the groups. There were some changes in working behavior. The results of grass quality’s development of the farmers could make the understanding about the way of taking care of water, fertilizer and harvesting which made the good quality of pangola hay. The farmers accepted that they could really produce high quality hay but the condition which motivated them to do depended on the fairly price according to the grade of hay’s quality. Fertilizing suitable to the soil’s condition by following the advice made Had Asa Farmers Group have higher production of hay about 67.2 kilograms/rai/crop and get more profit about 101.70 baht / rai /crop. The Pangola11 Farmers Group had a problem of rough demonstrative grass field which did not make progress to the farmers. The results of experiment in using organic fertilizer instead of chemical fertilizer in growing pangola did not impact to change chemical qualification of soil, the production and the quality of grass. Using more chemical fertilizer could make the higher growth of pangola grass, dry weight production of grass and also higher crude protein content. The advice for the Rachaburi’s soil series under irrigated area was using 20 kilograms of fertilizer formula 15-15-15 and urea fertilizer in the rate of 20 kilograms per rai per crop that could produce highest average dry matter yield of pangola grass (5,671 kilograms/rai/year from 7 cutting times) and highest protein content (7.9 percent). This case study was not accepted as the hypothesis which said that developing the strength of farmers group together with improving the quality of the grass field will lead to the stability of producing and distributing pangola grass. The finding could only develop the quality of the grass field and pangola hay, but it could not improve the farmers groups to be strong according to the aim of the program. It took a long time and had to be continuously develop farmers’ group in order to develop effective group administration.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/research/report%202553.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตหญ้าแพงโกล่าเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า
กองอาหารสัตว์
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
การเพิ่มคุณภาพของหญ้าแพงโกล่าหมักโดยใช้สารเสริมชนิดต่าง ๆ โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การจัดชั้นคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งโดยการวิเคราะห์การรวมกลุ่ม ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองเต็มวัย วิธีการใส่ปุ๋ยและอัตราปุ๋ยยูเรียต่อผลผลิตและคุณภาพของหญ้าแพงโกล่า ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อสมรรถนะการผลิตและลักษณะซากของโคลูกผสมบราห์มันอายุมาก การศึกษาคุณภาพพืชหมักที่อายุการหมักต่างๆ กันของหญ้ารูซี่ ถั่วท่าพระสไตโลหญ้าแพงโกล่า และถั่วคาวาลเคด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสับปะรดผลสดครบวงจรบ้านสา อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง 2557A17002110 การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนผู้ปลูกสับปะรด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก