สืบค้นงานวิจัย
การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย
สิชล หอยมุข - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Stock Assessment of Purple-spotted bigeye (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) along the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิชล หอยมุข
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sichon Hoimuk
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): stock assessment
บทคัดย่อ: การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2550 จากเรือประมงอวนลากตาม ท่าขึ้นสัตว์น้ำในพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และ สตูล ที่ทำการประมงบริเวณน่านน้ำประชิดไทย-พม่า เกาะพยาม หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน เกาะยาวใหญ่ หมู่เกาะพีพี เกาะรอก เกาะตาใบ เกาะบุโหลน เกาะอาดัง เกาะตะรุเตา และบริเวณน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย พบว่าเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดต่ำกว่า 14 เมตร เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาด 14-18 เมตร และเรืออวนลากคู่ มีอัตราการจับเฉลี่ยปลาตาหวานจุดเท่ากับ 0.116 4.428 และ 2.741 กก./ชม. ตามลำดับ ขนาดความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 4.0-30.0 เซนติเมตร มีสมการการเติบโตของ von Bertalanffy Lt=30.80 (1-e-1.00(t-0.00)) สัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) สัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) และสัมประสิทธิ์การตายจากการทำประมง (F) เท่ากับ 7.42 1.81 และ 5.61 ต่อปี ตามลำดับ ปลาขนาด 4.0 เซนติเมตร ที่เริ่มเข้ามาทดแทนในแหล่งประมงมีจำนวน 211.45 ล้านตัว ศักย์การผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) เท่ากับ 2,909 เมตริกตัน ณ ระดับการลงแรงประมงสัมพัทธ์ (F-factor) 0.40 และมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน (MEY) เท่ากับ 34.209 ล้านบาท ณ ระดับการลงแรงประมงสัมพัทธ์ 0.30 ซึ่งปัจจุบันปริมาณการลงแรงประมงมีมากเกินกำลังผลิตของปลาตาหวานจุดแล้ว แนวทางบริหารจัดการทรัพยากรปลาตาหวานจุด คือ การปรับลดการลงแรงประมงของเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดต่ำกว่า 14 เมตร เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาด 14-18 เมตร และอวนลากคู่ ลงร้อยละ 5 80 และ 55 ตามลำดับ จากระดับการลงแรงประมงในปัจจุบัน จะทำให้มีผลจับเพิ่มขึ้นเป็น 2,909 เมตริกตัน และการขยายขนาดตาอวนก้นถุงจาก 2.5 เป็น 3.0 3.5 4.0 4.5 และ 5.0 เซนติเมตร จะทำให้ผลจับเพิ่มขึ้นเป็น 3,555 3,776 4,314 4,521 และ 4,668 เมตริกตัน ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Stock assessment of purple-spotted bigeye, Priacanthus tayenus along the Andaman Sea coast of Thailand was studied by collecting data during January to December 2007 from trawler, which landed at fishing ports in Ranong, Phangnga, Phuket, Trang and Satun Province. The fishing ground were Thai-Myanmar boundary water, Payam Island, Surin Island, Similan Island, Yaoyai Island, Phiphi Island, Rok Island, Tabai Island, Buloan Island, Adang Island, Tarutao Island and Thai-Malaysian boundary water. The catch per unit effort of this species caught by otter board trawler size less than 14 m, otter board trawler size 14-18 m and paired trawler were 0.166 4.428 and 2.741 kg/hr, respectively. Size distribution was in range from 4.0-30.0 cm. The von Bertalanffy growth equation was Lt =30.80 (1-e-1.00(t-0.00)). Total mortality coefficient (Z), natural mortality coefficient (M) and fishing mortality coefficient (F) were 7.42 1.81 and 5.61 per year respectively, while the recruitment fish in fishing ground was 4.0 cm with 211.45 millions individual. The maximum sustainable yield (MSY) was 2,909 metric tons at the F-factor 0.40 and the maximum sustainable economic yield (MEY) was 34.209 million baht at the F-factor 0.30. While in 2007, the catch of fish was over MSY and the guidance on effective management of them shall be reduce fishing effort trawler and increase mesh size of cod-end. The approach on reducing fishing effort of otter board trawler size less than 14 m, otter board trawler size 14-18 m and pair trawler were 5 80 and 55%, respectively, it will be increase yield to 2,990 metric tons. The other approach on increasing of cod-end mesh size from 2.5 to 3.0 3.5 4.0 4.5 and 5.0 cm will be increase yield to 3,555 3,776 4,314 4,521 and 4,668 metric tons, respectively.
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 50-0411-50089-004
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/310070
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2550
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย
สิชล หอยมุข
กรมประมง
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาลัง (Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกครีบยาว Decapterus maruadsi (Temminck & Schlegel, 1843) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาสีกุนตาโต Selar crumenopthalmus (Bloch, 1793) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาปากคมชนิด Saurida undosquamis และ S. elongata ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก