สืบค้นงานวิจัย
การผลิตส่วนผสมอาหารสุขภาพจากคาร์โบไฮเดรตข้าวและการใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต
สันทัด วิเชียรโชติ, นวลพรรณ ศิรินุพงศ์ - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อเรื่อง: การผลิตส่วนผสมอาหารสุขภาพจากคาร์โบไฮเดรตข้าวและการใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต
ชื่อเรื่อง (EN): Production of functional food ingredient from rice carbohydrate and its utilization for development of a functional food product for renal risk person
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไอโซมอลโตโอลิโกแซคคาไรด์เป็นพรีไบโอติกชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหน่วยของกลูโคสต่อกันด้วยพันธะ? 1-6 glucosidic linkage และอาจพบการเชื่อมด้วยพันธะ ? 1-4 ตัวอย่างเช่น ไอโซมอลโตส (isomaltose) ไอโซมอลโตไตรโอส (isomaltotriose) ไอโซมอลโตเตรทตระโอส (isomaltotetraose) และพาโนส (panose) ไอโซมอลโตโอลิโกแซคคาไรด์สามารถต้านการย่อยในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นได้บางส่วนและถูกหมักโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีผลต่อการเจริญของ bifidobacteria และยังช่วยเพิ่มปริมาณบิวไทเรทที่สามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย ไอโซมอลโตโอลิโกแซคคาไรด์เป็นพรีไบโอติกเพียงชนิดเดียวที่ผลิตได้จากแป้งซึ่งส่วนใหญ่เป็นแป้งข้าวโพด งานวิจัยนี้จึงต้องการพัฒนาอาหารเสริมสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต โดยใช้ข้าวเฉี้ยงพัทลุง ผ่านกรรมวิธีการแปรรูปเป็นไอโซมอลโตโอลิโกแซคคาไรด์เพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกในสูตรอาหารที่พัฒนาขึ้น เพื่อทดแทนสูตรทางการค้าที่ต้องนำเข้าและมีราคาแพง แป้งข้าวเฉี้ยงที่ผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์ 2 ชนิดคือ แอลฟาอะไมเลส และ ทรานส์กลูโคซิเดสในสัดส่วน 3:1 เป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่าให้ปริมาณ branch oligosaccharide (DP2-DP6) 83.43% เมื่อตรวจวัดด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี (HPLC) และเมื่อนำสารละลายไอโซมอลโตโอลิแซคคาไรด์ ไปผ่านกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง พบว่าไอโซมอลโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ผลิตได้จากแป้งข้าวเฉี้ยงมีปริมาณของมอลโตส 65.43% และมีปริมาณรวมของ DP2-DP7 เท่ากับ 34.57% เมื่อเตรียมสูตรอาหารเพื่อพัฒนาเป็นสูตรสำหรับผู้ป่วยอาหารโรคไตโดยอ้างอิงสูตรทางการค้าเนปโปร (Nepro?) สามารถใช้ไอโซมอลโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ผลิตได้จากแป้งข้าวเฉี้ยงทดแทนในส่วนของมอลโตเด็กตรินจากข้าวโพดได้ โดยพบว่าสูตรอาหารที่พัฒนาขึ้นยังมีความคงตัวต่ำเมื่อผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งแรงดันสูง ทั้งนี้อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีแปรรูป เช่น การฆ่าเชื้อเป็นแบบ UHT และหรือเติมสารให้ความคงตัว ซึ่งเป็นแนวทางที่คาดว่าจะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตได้ในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Isomaltooligosaccharides are prebiotic that consisted of ? 1-6 glucosidic linkage and some of ? 1-4 glucosidic linkage such as isomaltose, isomaltotriose, isomaltotetraose and panose. Isomaltooligosaccharides were partially resistant in human upper gut digestion. Most of isomaltooligosaccharides were passed through the large intestine and fermented by bacteria especially probiotic bacteria such as bifidobacteria. Butyrate was also produced during fecal colonic fermentation that might prevent the colon cancer. Isomaltooligosaccharides are only one prebiotic that were produced from starch particularly corn starch. The objectives of this research were to develop the functional properties from low price of Chiang rice cultivar to produce isomaltooligosaccharide to be alternative source of prebiotic production. This is chance to develop the new product from agricultural raw material in Thailand and also decrease import value of prebiotic ingredient from abroad. Isomaltooligosaccharides were produced from Chiang rice flour with a conversion yield of 83.43% consisted of branch oligosaccharide (DP2-DP6) by enzymatic reaction with ?-amylase and transglucosidase. The ratio of enzyme used was 3:1 and the reaction time was used 6h. The isomaltooligosaccharides were freeze dried and analyzed by HPAEC-PAD. The isomaltooligosaccharides consisted of 65.43% maltose and 34.57% branch oligosaccharide (DP2-DP7). Isomaltooligosaccharides were used to replace the corn maltodextrin in the commercial formula (Nepro?). However, the developed formula was not stable and may need to improve stability by using proper processing method such as UHT and/or by adding stabilizer food additive. It is possible to develop the functional food product for renal risk person for further research.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตส่วนผสมอาหารสุขภาพจากคาร์โบไฮเดรตข้าวและการใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
30 กันยายน 2559
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน 5 แนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่น่าจับตา อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ กินเจอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับยาสมุนไพรไทยต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลคัมภีร์ตำรายาสมุนไพรไทย ปีที่ 3 Herb The series #3 สารสำคัญ: คาร์โบไฮเดรต การพัฒนาข้าวขึ้นรูปกึ่งสำเร็จรูปเพื่ออาหารสุขภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก