สืบค้นงานวิจัย
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำการประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย
อำนวย คงพรหม, สนธยา บุญสุข, รุ่งนภา หนูกล่ำ, เกศแก้ว เทศอาเส็น - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำการประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย
ชื่อเรื่อง (EN): Economic Losses on Marine Resources of 1.5 centimeter Purse Seine Fisheries in the Thai-Malaysia Boundary Water.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาผลกระทบของการทำประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ต่อทรัพยากรสัตว์น้ำและความสูญเสียทางเศรษฐกิจในเขตจังหวัดสตูล ปี 2552 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลบริเวณท่าเทียบเรือในเขตจังหวัดสตูล ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ปี 2552 พบเรืออวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร มีขนาดความยาว 18-21 เมตร ใช้เครื่องยนต์ขนาด 250-350 แรงม้า อวนมีความยาว 700-1,000 เมตร ความลึก 60-70 เมตร ทำการประมงโดยวิธีหาฝูงปลาด้วยเอ็คโค่ ซาวเดอร์ และโซน่าแล้วล้อมทันที และการรวมฝูงปลาด้วยการปั่นไฟ ออกทำการประมงเที่ยวละ 1 วัน ลงอวนเที่ยวละ 1-5 ครั้ง ครั้งละ 1-3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มีแหล่งทำการประมงในเขตน่านน้ำประชิดไทย - มาเลเซีย ความลึกน้ำ 3-40 เมตร มีอัตราการจับเฉลี่ยทั้งปี เท่ากับ 3653.36 กิโลกรัม/วัน/ลำ ผลจับประกอบด้วย กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มปลาหน้าดิน กลุ่มปลาเป็ด กลุ่มปลาหมึก กลุ่มกุ้ง และสัตว์น้ำอื่นๆ ร้อยละ 50.66 32.73 12.97 0.62 2.98 และ0.04 ของสัตว์น้ำทั้งหมด ตามลำดับ โดยชนิดสัตว์น้ำที่จับได้มากได้แก่ ปลาทู (Rastrellier brachysoma) ร้อยละ 36.89 และวปลาสลิดหิน (Siganus spp.) ร้อยละ 31.74 มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 13.06?2.45 และ 5.14?0.75 เซนติเมตร ตามลำดับ การทำประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการนำสัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์ก่อนขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์เท่ากับ 26,802 บาท/วัน/ลำ โดยความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดจากการจับปลาทูขนาดเล็กมาใช้ประโยชน์
บทคัดย่อ (EN): A study on effect of 1.5 centimeter purse seine fisheries on economic losses and fish resources in Stun Province was conducted during January-December 2008. The results showed that the fishing boats were 18-21 meters long, equipped with 250-350 horse-power engine. The net with 1.5 centimeter mesh size, 700-1,000 meters long was used. The 1.5 centimeter purse seine search fish school by using fish fining devices as echo-sounder and sonar and to lure fish before operation. The fishing took 1-3 hrs/time,1-5 time/night and average 1 nights/trip. The fishing ground was 3-40 meters in depth of the Thai-Malaysian boundary water. The overall catch rate was 3,653.36 kg/day/boat, while the catch composition was 50.66% of pelagic fish, 32.73% of demersal fish, 12.97% of trash fish, 0.62% of cephalopod, 2.98% of shrimph and 0.04% of other. Major species was composed of 36.89% of Indo-Pacific mackerel (Rastrelliger brachysoma) and 31.24% of siganus spp. The 1.5 centimeter purse seine fisheries caused the economic loss from bringing animals be used prior sizes at first maturity was 26,802 baht/day/boat by losses mainly caused from young Indo-Pacific mackerel.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำการประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย
กรมประมง
30 กันยายน 2553
กรมประมง
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาข้าราชการกรมประมง การประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมงจากเรือประมงพาณิชย์ไทยในเขตน่านน้ำพม่าที่ขึ้นท่าจังหวัดระนอง ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะการประมงอวนล้อมจับประกอบแสงไฟตามระยะห่างฝั่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย การทำการประมงและเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจของการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนใน การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก