สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่น : การใช้จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ในการผลิตข้าว
ฉวีวรรณ บุญเรือง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่น : การใช้จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ในการผลิตข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Local Wisdom Diversity: Application of Microorganism and Its Products in Rice Production.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉวีวรรณ บุญเรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคข้าวในโรงเรือน โดยศึกษาผลของวิธีการใช้เชื้อราแอนทาโกนีสต์ และ ไอโซเลตของเชื้อราต่อการควบคุมโรคกล้าเน่า ของข้าวปทุมธานี 1 โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 X 4 factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ วิธีการใส่เชื้อราแอนทาโกนีสต์ ได้แก่ คลุกเมล็ดและคลุกดิน ปัจจัยที่ 2 คือ ไอโชเลต ของเชื้อราแอนทาโกนีสต์ 3 ไอโซเลต (บางปะอิน 3, ผักไห่ 2 และ หันตรา 1) และไมใส่เชื้อ พบว่า วิธีการคลุกเมล็ดด้วยไอโซเลตหันตรา 1 และ ผักไห่ 2 ทำให้เปอร์เซ็นต์ต้นกล้ารอดตาย ความสูง ความยาวราก และ น้ำหนักแห้งของต้นกล้าข้าวปทุมธานี 1 สูงกว่า การไม่คลุกเมล็ดและคลุกเมล็ด ด้วยไอโซเลตบางปะอิน 3 การทดสอบความสามารถในการตรึงไนโตรเจน และ สร้างสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของ ข้าวในกระถางร่วมกับการใส่ปุ๋ย โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 3 factorial in RCBD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ การใส่ปุ๋ย ได้แก่ การไม่ใส่ปุ๋ย (ON) การใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของ ค่าการวิเคราะห์ดิน (1/2N) ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่วิเคราะห์ดิน (1 N) และ ใส่ปุยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดิน (10F) ปัจจัยที่ 2คือชนิดของจุลินทรีย์ ได้แก่ Azotobacter Azospirillum และไมใส่เชื้อ พบว่า การ ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำการวิเคราะห์ดิน ส่งเสริมให้ต้นข้าวมีความสูง จำนวนต้นต่อกอ น้ำหนักแห้งของต้น ข้าว ความยาวรวง จำนวนตันต่อกระถาง น้ำหนักเมล็ดต่อกระถาง เมล็ดดีและเมล็ดลีบ ใกล้เคียงกับ การใส่ปุยอินทรีย์ตามค่วิเคราะห์ดิน แต่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินทำให้การสะสมไนโตรเจนในเมล็ด สูงที่สุด เท่ากับ 0.051 % แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการสะสมไนโตรเจนบนต้นข้าว ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ สำหรับชนิดของจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน และ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของ ข้าว พบว่า การใส่เชื้อผสมของ Azotobacter Azospirillum และไมใส่เชื้อ ทำให้ความสูง จำนวนต้น ต่อกอ น้ำหนักแห้งของต้นกล้า ความยาวรวง จำนวนรวงต่อกระถาง ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่การใส่เชื้อ ทำให้น้ำหนักเมล็ดต่อกระถาง เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี เมล็ดลีบ และ การสะสมไนโตรเจน ใน ต้นข้าว และ เมล็ดข้าว สูงกว่า การไม่ใส่เชื้อ ดังนั้น การใส่เชื้อ Azotobacter และ Azospillum ส่งเสริมให้ข้าวเจริญเติบโตและมีการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าว และ เมล็ดข้าว สูงกว่า การไม่ใส่เชื้อ
บทคัดย่อ (EN): Growth inhibitory testing of fungi pathogen caused rice disease was performed in greenhouse by focusing on effect of application method and isolate of antagonist for controlling seedling rot of rice var. Phathum Thani 1. The experimental design was 2x4 factorial in CRD with 2 application methods (seed and soil dressing with fungi antagonists) and 4 isolates of antagonist (Bang Pa In 3, Phuk Hai 2 , Huntra1 and non treated ). The results showed that the survival percentage, height, root length and dry weight of seedlings of rice seeds incorporated with Huntra1 and Phuk Hai 2 isolates were higher than those of non treated and incorporated with Bang Pa In 3 isolate. Nitrogen fixation ability and growth promoter substances in combination with fertilizer application were tested. The experimental design was 4x3 factorial in CRD with 4 types of fertilizer application (no fertilizer, %a of chemical fertilizers base on the soil analysis rate, chemical fertilizers base on the soil analysis rate, and organic fertilizers base on the soil analysis rate) and 4 isolates of antagonist (Bang Pa In 3, Phuk Hai 2 , Huntra1 and non treated). The results were found that application as chemical fertilizers base on the soil analysis rate showed positive effects on plant height, tiller/plant, dry weight, panicle length, plant numbers /pot, grain weight/pot and filled and unfilled grain and was nearly with those applied with organic fertilizers base on the soil analysis rate . However, chemical fertilizers base on the soil analysis rate had the highest nitrogen uptake in rice grain of 0.051% but organic fertilizer base on the soil analysis rate did not show any significant difference on nitrogen uptake. For the nitrogen fixation microorganism types and growth promoter substances, it was found that the mixed culture between Azotobactor and Azospirillum and non treated were not significantly different in terms of plant height, tiller/plant, dry weight, panicle length, panicle numbers /pot, but filled and un filled grain and nitrogen uptake in shoot and grain in treated one were higher than those of untreated one. Therefore, application of Azotobactor and Azospirillum tended to promote rice growth and nitrogen uptake in shoot and grain higher than those of untreated method.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่น : การใช้จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ในการผลิตข้าว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
30 กันยายน 2558
ความหลากหลายของภูมิปัญญาท้องถิ่น : การใช้จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ในการผลิตข้าว ระยะที่ 2 ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูงเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การพัฒนาเครือข่ายวิชาการและเผยแพร่ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การถ่ายทอดองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่ชุมชน การสร้างรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ บูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์และสารสกัดจากพืชในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สร้างและทดสอบ เครื่องผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยใช้องค์ความรู้ใหม่ในการจัดการศัตรูข้าวเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตข้าวในนาชลประทาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก