สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดสบู่ดำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สุรชัย มัจฉาชีพ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดสบู่ดำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง (EN): Scaling up Seed Yield Production of Jatropha in Ayutthaya
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรชัย มัจฉาชีพ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดสบู่ดําในจงหวดพระนครศรีอยุธยา โดยการศึกษาหาพันธุ์สบู่ดําที่ให้ ผลผลิตสูง และศึกษาหาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดํา ทําการทดลองทคณะเทคโนโลยีการเกษตรและ อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พระนครศรีอยุธยา สภาพพื้นที่เป็นดินเหนียว (อนุภาคดินเหนียว 58%) มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง (2.1%) ฟอสฟอรัสปานกลาง (18 ppm) โปแตสเซียมสูงมาก (190 ppm) ทําการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึง เดือนพฤษภาคม 2551 การศึกษาเกี่ยวกับสบู่ดําพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง เพื่อผลิตไบโอดีเซล โดยรวบรวมพันธุ์สบู่ดําที่ให้ผลผลิตสูง จากแหล่งปลูกต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศได้แก่พันธุ์เชียงใหม่ 16 สุพรรณบุรี ขอนแก่น KU-BP 80 KU-BP76 KU-BP 16 พันธุ์จากประเทศอินเดีย กัมพูชา และลาว ผลการทดลองปรากฏว่าพันธุ์ KU-BP 80 และพันธุ์ เชียงใหม่ 16 มีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตสูงสุด 501.84 และ 452.18 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ การทดลองเพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ได้แก่ 46 – 0 – 0, 0 – 46 – 0, 0 – 0 – 60, 16 – 16 – 16, 12 – 24 – 12, 24 – 24 – 12, และ 16 – 16 – 0 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กับสบู่ดําสายพันธุ์ เชียงใหม่ อาย 2 ปี โดยใช้ระยะปลูก 2 x 2 เมตร พบว่า การไม่ใส่ปุ๋ยใหแกสบู่ดําจะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ํา 52.32 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 24 – 24 – 12, 46 – 0 – 0, 16 – 16 – 16, และ 16 – 16 – 0 ให้ผลผลิต 412.80, 376.80, 355.52 และ 351.68 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สบู่ดําเป็นพืชที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างดีจึงจะให้ผลผลิตสูง
บทคัดย่อ (EN): The study on scaling up seed yield production of Jatropha in Ayutthaya by fucusing on suitable variety and suitable fertilizer application of Jatropha curcas L. was conducted at the Faculty of Agricultural Technology and Agro-Industry, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Ayutthaya during October 2006 – May 2008 under the clay soil type (58% clay) condition with mediumOM 2.1% medium P 18 ppm very high K 190 ppm and pH 5.3 The study on seed yield and agronomic traits of 9 selected accession of Jatropha curcas L. for biodiesel production : Chiangmai 16, Suphanburi, Khonkaen, KU-BP 80, KU-BP 76, KU-BP 16 and 3 accessions from India, Cambodia and Laos revealed that among 9 accessions the KU-BP 80 and the Chiangmai 16 gave the highest seed yield ; 501.84 and 452.18 kg/rai respectively. The experiment on fertilizer application in Chiangmai accession was obviously found that the non-fertilizer treatment gave very low yield (52.32 kg/rai). The maximum seed yield was received from the 24 – 24 – 12, 46 – 0 – 0, 16 – 16 – 16 and 16 – 16 – 0 formula gave 412.80, 376.80, 355.52 and 351.68 kg/rai respectively. The rate of fertilizer in each treatment was 50 kg / rai. The experimental plant was 2 years of age with the 2 m x 2m spacing.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
เอกสารแนบ: http://www.rdi.rmutsb.ac.th/wwwroot/r5001004.php
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มศักยภาพการผลิตเมล็ดสบู่ดำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันสบู่ดำในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม การศึกษากรรมวิธีการเตรียมเมล็ดสบู่ดำเพื่อการบีบอัดน้ำมันด้วยเครื่องอัดน้ำมันสบู่ดำแบบไฮดรอลิค อิทธิพลของอายุของผลและระยะเวลาเก็บรักษาที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของน้ำมันสบู่ดำ อิทธิพลของอายุของผลและระยะเวลาเก็บรักษาที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของน้ำมันสบู่ดำ เครื่องหีบสกัดน้ำมันสบู่ดำ การปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำเพื่อเพิ่มผลผลิตเมล็ดและปริมาณน้ำมันโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล การพัฒนาพันธุ์สบู่ดำเพื่อเพิ่มผลผลิตเมล็ดและปริมาณน้ำมันให้เหมาะสมกับภาคเหนือของไทย การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดำในพื้นที่ดินเค็ม ชุดดินกำแพงแสน การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตสบู่ดำในพื้นที่ดินเค็ม ชุดดินอุดร การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกเมล็ดสบู่ดำเพื่อใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนัก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก