สืบค้นงานวิจัย
ความจำเป็นในการฝึกอบรมหัวหน้ากลุ่มของสำนักงานเกษตรจังหวัดในสังกัดสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 3 จังหวัดระยอง
นฤเทพ สุภากรณ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความจำเป็นในการฝึกอบรมหัวหน้ากลุ่มของสำนักงานเกษตรจังหวัดในสังกัดสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 3 จังหวัดระยอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นฤเทพ สุภากรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตำแหน่ง และทางด้านการบริหารของหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร และหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิต ในสำนักงานเกษตรจังหวัด ที่สังกัดสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปรวบรวม สรุป และวิเคราะห์กำหนดเป็นความจำเป็นในการฝึกอบรมและ/หรือ กำหนดแนวทางในการพัฒนาให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่และภารกิจที่เปลี่ยนไปตามระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น ประชากรที่ทำการศึกษา คือ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร และหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิต จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละและค่าเฉลี่ยรวมทั้งการอธิบายข้อมูลในเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตทั้งหมดเป็นเพศชาย ร้อยละ 77.78 มีอายุระหว่าง 51 - 55 ปี และร้อยละ 77.78 มีอายุราชการระหว่าง 25 - 30 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 83.33 และสาขาที่จบมากที่สุดคือ ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 33.33 มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ระหว่าง 12 - 24 เดือน ร้อยละ 55.56 และ มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเฉลี่ย ๆ เท่ากับ 17.5 สำหรับความต้องการในการพัฒนาความรู้ความสามารถตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ พบว่า หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร มีความต้องการมาก ในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 2.78 ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา (เกษตรจังหวัด) ที่ประเมินผลสำเร็จการปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมาย ส่วนเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและ องค์กรเกษตรกร การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีระดับ ความต้องการพัฒนาปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2.33, 2.22 และ2.00 ตามลำดับ และผู้บังคับบัญชา (เกษตรจังหวัด) ประเมินผลสำเร็จการปฏิบัติงานทั้ง 3 เรื่องนี้อยู่ในเกณฑ์ตามเป้าหมาย ในส่วนของความต้องการในการพัฒนาความรู้ความสามารถตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิต มี 3 เรื่อง ที่มีระดับความต้องการมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากันทั้ง 3 เรื่อง เท่ากับ 2.56 คือ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพสินค้า การแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร และการส่งเสริมการผลิตและการจัดการผลผลิต โดยทั้ง 3 เรื่องนี้ ผู้บังคับบัญชา (เกษตรจังหวัด) ได้ประเมินผลสำเร็จของงานอยู่ในเกณฑ์ ตามเป้าหมาย ในส่วนของความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านการบริหารนั้น หัวหน้ากลุ่มทั้ง 2 กลุ่มมีความต้องการมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.34 ขึ้นไป 5 หัวข้อวิชา คือ การวิเคราะห์งาน การตัดสินใจแก้ไขปัญหา ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชน การควบคุมงาน การบริหารงานพัสดุครุภัณฑ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความจำเป็นในการฝึกอบรมหัวหน้ากลุ่มของสำนักงานเกษตรจังหวัดในสังกัดสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 3 จังหวัดระยอง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร ระดับหัวหน้างานของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของข้าราชการในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดเลย ทัศนคติของเกษตรตำบลที่มีต่อบทบาทของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคกลาง ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2542 การติดตามประสิทธิผลการใช้งานคอมพิวเตอร์ภายหลังการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด บทบาทการบริหารโครงการของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคใต้ การศึกษาสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านบริหารของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ความรู้และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายวิชาการของสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก