สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์
อารีย์ ใจกล้า - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารีย์ ใจกล้า
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง สภาพการใช้เทคโนโลยีในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการฯ สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร สภาพการใช้เทคโนโลยีในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะ ในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ประชากรในการศึกษาเป็นเกษตรกร ผู้ร่วมโครงการ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการอารักขาพืช ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ในพระราชดำริ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 - 2546 จำนวน 10 กลุ่ม เกษตรกร 249 ครัวเรือน เกษตรกรตัวอย่าง 153 คน ทำการศึกษาโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มอำเภอแบบเจาะจง และสุ่มเกษตรกร แบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อใช้หาค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ทางเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41.12 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.49 คน มีจำนวนแรงงานเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 3.03 คน มีพื้นที่ทางทำการเกษตรเฉลี่ย 13.46 ไร่ พื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 1.40 ไร่ อาชีพหลักทำนา อาชีพรองทำสวน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร และเป็นคณะกรรมการในระบบโรงเรียนเกษตรกร รายได้จากภาคเกษตรเฉลี่ย 54,189.54 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 21,091.50 บาท มีรายได้รวมเฉลี่ย 75,281.04 บาท มีรายจ่ายในภาคเกษตรเฉลี่ย 30,352.94 บาท มีรายจ่ายนอกภาคเกษตร เฉลี่ย 24,058.00 บาท มีรายจ่ายรวมเฉลี่ย 54,411.76 บาท แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีหนี้สินเฉลี่ย 40,000.00 บาท สภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกผักตลอดทั้งปี ดินที่ใช้ปลูกผักเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่มีการเลือกพื้นที่ก่อนการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยการเลือกสภาพพื้นที่ที่ระบายน้ำดี และน้ำไม่ท่วมขัง เป็นอันดับแรก ใช้รถไถเดินตามเป็นเครื่องทุ่นแรง ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากชลประทานซึ่งมีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี เกษตรกรจะเลือกพันธุ์ผักตามความเหมาะสมกับฤดูปลูกเป็นอันดับแรก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน และใช้ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือโดโลไมท์ เพื่อปรับสภาพดิน และไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกผัก มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน โดยใช้สารสะเดา และสารเคมี โดยมีการตรวจแปลง/ดูความผิดปกติของผักบ่อยครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกโครงการฯ ปี 2546 เข้าร่วมโครงการเพื่อต้องการเพิ่มรายได้เป็นเหตุผลแรก ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่เคยได้รับคำแนะนำเรื่องการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การนำความรู้ไปปฏิบัติภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ได้นำความรู้ไปปฏิบัติบางขั้นตอน เกษตรกร เห็นด้วยมากต่อการใช้เทคโนโลยีในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ เลือกพื้นที่ที่ราบเรียบสม่ำเสมอ น้ำไม่ท่วมขังระบายน้ำได้ดี เลือกแปลงปลูกอยู่ใกล้แหล่งน้ำสะอาด คัดเลือกพันธุ์ผักที่มีคุณภาพตรงตามต้องการของตลาด ใช้พันธุ์ผักที่เหมาะสมกับฤดูปลูกและสภาพดินฟ้าอากาศ ปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ปลูกผัก ทำความสะอาดแปลงปลูกผัก โดยการไถพรวนและกำจัดวัชพืชก่อนปลูกผัก ไถดะตากดิน 7 - 10 วัน เพื่อกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในดิน ปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร ยกร่องแปลงผัก เพื่อระบายน้ำในหน้าฝน และป้องกันน้ำท่วมแปลง ใช้ฟางข้าวหรือแกลบคลุมแปลงเพื่อป้องกันวัชพืช ใช้มือถอนหรือจอบถากเพื่อกำจัดวัชพืช การใช้สารสกัดจากสะเดาในพืชผัก เก็บเกี่ยวผักในระยะที่ผักมีอายุที่เหมาะสม และเก็บเกี่ยวผักโดยใช้กรรไกร หรือมีดตัด แล้วล้างผักด้วยน้ำเพื่อทำความสะอาดผักก่อนนำไป ตัดแต่งผักในส่วนที่เน่าเสียออก คัดขนาดและคุณภาพก่อนนำไปจำหน่าย ใช้เข่ง ลัง หรือกล่องพลาสติกบรรจุผักขนย้ายผัก เกษตรกรมีปัญหาอุปสรรค ในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ ด้านเงินทุน ด้านความรู้ทางวิชาการ การจำหน่ายผลผลิต (ราคา) แมลงศัตรูพืช การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือ รัฐบาล หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านเงินทุน และวิชาการความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน แก่เกษตรกรผู้ปลูกอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสุรินทร์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547 การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ในจังหวัดเชิงเทรา การยอมรับของเกษตรกรต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในกรุงเทพมหานคร การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริจังหวัดลำพูน ปี 2543-2544 การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กรณีศึกษา : อำเภอเมือง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก