สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบสถานที่ในการผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่กับมาตราฐานกระทรวงสาธารณสุข
ผ่องผิว พุทธัง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบสถานที่ในการผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่กับมาตราฐานกระทรวงสาธารณสุข
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผ่องผิว พุทธัง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาสภาพของสถานที่ในการผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข และ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์มาตรฐาน และปัญหาความต้องการในการแก้ไขปรับปรุงสถานที่ในการผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรให้ได้เกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัด เชียงใหม่ จำนวน 240 กลุ่ม การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) จาก 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 69 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกการตรวจสถานที่ผลิตและแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจและความต้องการของกลุ่มแม่บ้านการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเองโดย เก็บตามเครื่องมือคือ 1.แบบบันทึกการตรวจสถานที่ ผู้วิจัยใช้วิธีการเข้าไปสังเกตสถานที่ผลิตและบางหัวข้อใช้การสอบถามจากผู้รับผิดชอบด้านอาคารสถานที่ผลิตและ 2.แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจและความต้องการของกลุ่มแม่บ้านผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปสอบถามตัวแทนแม่บ้านของกลุ่มตัวอย่างต่างๆโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ เชิงบรรยายประกอบตาราง การวิเคราะห์การตรวจสถานที่ผลิตอาหารจะมีหัวข้อการตรวจและการวิเคราะห์และประเมินผลโดยใช้วิธีการประเมินของกระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.คุณลักษณะทั่วไปของผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีตำแหน่ง เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร้อยละ 82.61 มีช่วงอายุ51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 49.28 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 53.62 2. ผลการตรวจสถานที่ผลิตอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 6 ด้าน พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผ่านเกณฑ์ทุกกลุ่ม ร้อยละ100 มีอยู่ 4 ด้านคือ 1.ด้านเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 2.ด้านการสุขาภิบาล 3.ด้านการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 4.ด้านบุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน และส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 97.10 มีอยู่ 2 ด้าน คือ 1.ด้านสถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2.ด้านการควบคุมกระบวนการผลิต สรุปผลการประเมินสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านทั้ง 6 ด้าน 73 หัวข้อพบว่าส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 97.10 และไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 2.90 3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจและความต้องการของกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรพบว่า 3.1ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขด้านสถานที่ผลิตของกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตอาหาร กลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่เคยรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานของอาคารสถานที่ผลิตตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข, เคยรับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานของอาคารสถานที่ผลิตตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข, เคยรับการตรวจสถานที่ผลิตอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่เคยรับการตรวจแล้วผ่านเกณฑ์ กลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสถานที่ผลิต แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในการแปรผลในแต่ละประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสถานที่ผลิต กลุ่มแม่บ้านมีความเข้าใจในเนื้อหาประเด็นสถานที่ตั้งและอาคารผลิตมากที่สุด และเข้าใจน้อยที่สุดคือเนื้อหาประเด็นการควบคุมกระบวนการผลิต การประเมินตนเองด้านอาคารสถานที่ผลิตอาหารของกลุ่มแม่บ้าน พบว่ากลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่เคยประเมินตนเองด้านอาคารสถานที่ผลิตอาหาร และส่วนใหญ่ได้รับการชี้แจงข้อบกพร่องจากผู้ประเมินด้านอาคารสถานที่ผลิตอาหาร 3.2 ความต้องการของกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตอาหารแปรรูป พบว่า กลุ่มแม่บ้านส่วนใหญ่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ผลิตอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขและเรื่องที่กลุ่มแม่บ้านต้องการรับความช่วยเหลือ คือเงินทุนหมุนเวียน,การอบรมด้านการใช้สารเคมีในอาหาร,การอบรมมาตรฐาน อย.,เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการแปรรูปอาหาร,สูตรหรือเทคนิคการแปรรูปอาหารชนิดต่างๆโดยเฉพาะผลไม้, เครื่องบรรจุภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์, การตลาด, ด้านการจัดทำบัญชีและการประชาสัมพันธ์ 3.3 ปัญหาของกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตอาหารแปรรูป ที่พบมีดังนี้คื เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ, ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในอาหารและมาตรฐาน อย., ขาดตลาดรองรับและ การประชาสัมพันธ์ยังไม่ดีพอ ข้อเสนอแนะ 1.ควรจะมีการจัดตั้งศูนย์บริการและจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการกลุ่มแม่บ้านในด้านต่างๆเช่นการตลาด มาตรฐาน อย. และอื่นๆ 2.ควรจะจัดให้มีการอบรมกลุ่มแม่บ้านในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทุกอำเภอ 3.รัฐบาลควรจะยกระดับสถานะกลุ่มแม่บ้านให้เทียบเท่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทเพื่อที่จะได้กู้เงินกับธนาคารมาดำเนินงานในกลุ่มให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและสามารถสร้างงานในชุมชนได้มากกว่าเดิม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบสถานที่ในการผลิตอาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่กับมาตราฐานกระทรวงสาธารณสุข
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การจัดการธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร การผลิตและการตลาดการแปรรูปน้ำนมข้าวโพดของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปีงบประมาณ 2546 การดำเนินงานในการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช การผลิตและการแปรรูปไหมอีรี่เป็นอาหารเพื่อจำหน่าย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพลับของเกษตรกรชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่ การถ่ายทอดผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวโพดข้าวเหนียว การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก