สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์
วิชัย สุขอยู่ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิชัย สุขอยู่
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ และปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีอายุเฉลี่ย 49.3 ปี มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.9 คน มีจำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.8 คน มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 28.1 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 10,999.8 กิโลกรัมต่อครอบครัวต่อปี มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 75,403.1 บาทต่อครอบครัวต่อปี ส่วนใหญ่มีสถานที่ตั้งศูนย์ข้าวชุมชนอยู่ที่บ้านประธาน ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 59.5 มีตำแหน่งเป็นประธานศูนย์ ฯ เกษตรกรมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 29.7 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 68.1 เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองจากปีที่ผ่านมา มีการตัดพันธุ์ปน เฉลี่ย 2.9 ครั้ง สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 7,350.2 กิโลกรัมต่อศูนย์ มีการกระจายเมล็ดพันธุ์ โดยเฉลี่ย 7,734.0 กิโลกรัมต่อศูนย์ ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์โดยให้สมาชิกกู้ยืม สถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่เก็บเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ไว้ที่ยุ้งฉางของสมาชิก เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวแบบผสมผสาน มีคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนเฉลี่ย 8.3 คน มีการประชุมคณะกรรมการศูนย์เฉลี่ย 5.4 ครั้ง และมีสมาชิกศูนย์เฉลี่ย 28.2 คน มีกองทุนศูนย์เฉลี่ย 88,148.8 บาท การใช้ประโยชน์จากกองทุนส่วนใหญ่ให้สมาชิกกู้ยืม แหล่งที่มาของกองทุนส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการผลิตที่สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาฝนแล้ง / น้ำท่วม ไม่มีอุปกรณ์ทำความสะอาด ไม่มีเครื่องเย็บกระสอบ และเกษตรกรขาดความสนใจ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรได้แก่ เจ้าหน้าที่ควร ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย คือ การกระตุ้นให้ศูนย์สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ตามเป้าหมาย ศูนย์ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในชุมชนทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถกระจายพันธุ์ได้ตามเป้าหมายที่กรมฯ กำหนด ควรสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้แก่ศูนย์ที่มีผลงานดีเด่น และควรสร้างเครือข่ายการดำเนินงานศูนย์ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ เพื่อให้ศูนย์มีการติดต่อประสานงานกันมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ผลการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดมุกดาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดพัทลุง ความคิดเห็นของเกษตรกรในการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ทัศนคติของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ฤดูการผลิต ปี 2546/2547 ความคิดเห็นของผู้แทนศูนย์ที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในเขตชลประทาน การศึกษาผลการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ ประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนปี 2546 จังหวัดสตูล ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี การยอมรับของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปี 2545

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก