สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการลดต้นทุนการผลิตปลานิล โดยใช้สาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชที่ความหนาแน่นต่างกัน
จงกล พรมยะ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: แนวทางการลดต้นทุนการผลิตปลานิล โดยใช้สาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชที่ความหนาแน่นต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Decrease cost production of Tilapia (Oreochromis niloticus) for use Algae and Phytoplankton density different.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จงกล พรมยะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): JONGKON PROMYA
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: แนวทางการลดต้นทุนการผลิตปลานิล โดยใช้สาหร่ายและแพลงก็ตอนพืชที่ความหนาแน่นต่างกันโดยในปีงบประมาณ 2548 และ2549 เริ่มจากการอนุบาลลูกปลานิลแดงในตู้กระจก ณ มหาวิทยาลัย แม่โจ้ ในตู้กระจกแบ่งการทดลอง เป็น 4 หน่วยการทดลอง ดังนี้ T1 อาหารผงโปรตีน 40 % (20 % ของน้ำหนักตัว) , T2 แพลงก์ตอนพืชที่ระดับความหนาแน่นของเซลล์ เท่ากับ 0.3 (20 % ของน้ำหนักตัว)T3 แพลงก์ตอนพืชที่ระดับความหนาแน่นของเซลล์เท่ากับ 0.5 (30 % ของน้ำหนักตัว) T4 แพลงก์ตอนพืชที่ระดับความหนาแน่นของเซลล์ เท่ากับ 0.7 (40 % ของน้ำหนักตัว) ทำการสุ่มน้ำหนัก ทุก ๆ 15 วัน ระยะเวลา 45 วัน เมื่อนำข้อมูลไป วิเคราะห์ทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น ( P < 0.05 ) พบว่า T1 และ T3 มีอัตราการรอดสูงกว่าTและ T2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ แต่อัตราการแลกเนื้อ T3 ดีกว่าหน่วยทดลองที่ T3, T1 และ T4 ตามลำดับ คุณภาพน้ำทางกายภาพ และทางเคมี ค่า pH. Conductivity และ TDSหน่วยทดลองที่ 2, 3และ 4 มากกว่า หน่วยทดลองที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาผลของการใช้สาหร่าย อนุบาลลูกปลานิลแดง ในบ่อดิน แบ่งการทดลอง เป็น 4 หน่วย ดังนี้ T1 อาหารผง 20 % , T2สาหร่ายสด 20 % , T3สาหร่ายสด 30 % และ T4 สาหร่ายสด 40 % ของน้ำหนักตัวปลา สุมน้ำหนัก ทุก 15 วัน ระยะเวลา 90 วัน เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติที่ความเชื่อมั่น (P < 0.05) พบว่า การอนุบาลในบ่อดิน พบว่า อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราการเจริญเติบโตวัน T4 และ T1 มากกว่า T2และ T3 แต่ อัตราการรอดที่ T4 มากกว่า T3, T2 และ T1 อัตราการแลกเนื้อที่ T3 ตีกว่า T4, T2 และT1 ต้นทุนลูกปลาต่อตัว และศักยภาพทางเศรษฐศาสตร์ที่ T3 ดีกว่า T2, T1 และT4 คุณภาพน้ำคำออกชิเจนที่ละลายน้ำ และแอมโมเนียม-ไนโตรเจนที่ T1 มากกว่าที่ T2 . T3 และT4 ค่าความเป็นด่าง และค่าออร์โธฟอสเฟตฟอสฟอรัส ที่ T3 และ T2 มากกว่า T1 และ T4 ตามลำดับ การทดลองเลี้ยงปลานิลแดงที่มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวประมาณ 27 กรัม โดยใช้บ่อดินขนาด 5 x 5 x 1 เมตร สูตรอาหารทดลองมี 4 สูตร แต่ละสูตรมี 3 ซ้ำ โดยอาหารสูตรที่ 1-4 มีส่วนผสมของ สาหร่ายสดที่ระดับ 0 , 45 . 50 และ 55 % ตามลำดับ ปรับอาหารทุกสูตรให้มี ระดับของโปรตีนใกล้เคียงกันเท่ากับ 30 % ใช้เวลาการเลี้ยงเป็นเวลา 5 เดือน จากผลการทดลองพบว่า ปลาที่ได้รับอาหารที่มีสวนผสมของสาหร่ายสด 55 % มีอัตราการรอดตาย และประสิทธิภาพการใช้โปรตีนดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า อาหารผสมสาหร่ายสด ทำให้คุณค่าทางโภชนาการ และปริมาณของคาโรทีนอยด์รวม ( total carotenoid ) ในเนื้อปลาเพิ่มขึ้นตามระดับ ของสาหร่ายที่ผสมในอาหาร ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ในบ่อที่ปลากินอาหารผสมสาหร่าย 55% ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่มากกว่าบ่อที่ปลากินสาหร่ายสด 50 % และ 45 % ตามลำดับค่าออร์โธฟอสเฟตฟอสฟอรัส ในบ่ปลากินอาหารไม่ผสมสาหร่าย มีค่ามากกว่าในบ่อที่ปลากินอาหารผสมสาหร่ายสด 55 % , 45 % และ 50 % ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05)
บทคัดย่อ (EN): Decrease cost production of Tilapia (Oreochromis niloticus) for use Algae and Phytoplankton density different in 2005 was studied. The experiment was larval nursery in aquarium at Maejo University. Four treatments CRD was designed for T1 20 % commercial diet T2 20 % raw phytoplankton ( 0.3 ODs60 nm) T3 30 % raw phytoplankton ( 0.5 OD560nm) and T4 40 % raw phytoplankton ( 0.7 OD560nm). The random samples form nursery of larval red tilapia were monitored every 5 day for the period of 45 days. Results showed that the survival rate with T1 and T3 had significantly higher than T4 and T2 (p <0.05) respectively but FCR T2 had significantly lower than T3, T1 and T4 (p < 0.05) respectively. Water quality of pH, conductivity and TDS with T2, T3 and T4 had significantly higher than T1 (p < 0.05) respectively. The nursery of larval Tilapia (Oreochromis niloticus) for use raw algae density different in soil pond. Four treatments CRD was designed for T1 20% commercial diet, T2 20 % raw algae, T3 30 % raw algae and T4 40 % raw algae. The random samples form nursery of larval red tilapia were monitored every 15 day in soil pond for the period of 90 days. Results showed in soil pond (p < 0.05) that, the larval nursery of fish in soil pond. Results showed that the specific growth rate and average day growth with T4 and T1 had significantly higher than T2 and T3 but the survival rate with TA had significantly higher than T3, T2 and T1. Feed conversion rate Ts had better than T4, T2 and T1. The cost produced of fish larval and marginal rate of net return with T3 had better than T2, T1 and T1. Water quality of DO and NH3-N with T1 had significantly higher than T2, T3 and T4. PO4 – P with T3 and T2 had significantly higher than T1 and T4 (p<0.05) respectively. A 5 - month feeding trail was carried out for red Tilapia (Oreochromis sp.) with an initial average weight of 27 g for size 5x5x1 m. in soil ponds. Feeds containing varying percentages of raw algae 0 ,45 ,50 and 55 % were tested with three replications for each treatment. All the feeds were formulated to contain dietary requirement for the Tilapia 30% protein. The results showed that the feed with 55 % raw algae achieved the best performance survival rate and protein efficiency ratio. The nutritional value and total carotenoid contents in fish increased with the level of raw algae in feed. Water quality of NH3-N with T1 and T4 had significantly higher than T3 and T2. PO4-P with T1 had significantly higher than T4, T2 and T3 (p<0.05) respectively.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-009.7
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2555/Jongkon_Promya_2549/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการลดต้นทุนการผลิตปลานิล โดยใช้สาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชที่ความหนาแน่นต่างกัน
จงกล พรมยะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการลดต้นการผลิตปลานิลโดยใช้สาหร่ายSpirulina และ แพลงก์ตอนพืช ที่ความหนาแน่นต่างกัน พัฒนากลุ่มโรงอบแห้งลำไยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตปลากับกำลังผลิตเบื้องต้นของแหล่งน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ผลของสารสกัดใบมังคุดต่อการผลิตปลานิลเพศผู้ การอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศด้วยสูตรอาหารและความหนาแน่นที่ต่างกัน ระบบการผลิตและต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นพืชหลักเทียบกับการผลิตข้าวมาตรฐาน (GAP) ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย การเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ของเถ้าลอยชีวมวลเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง การลดปริมาณสารพิษไมโครซิสตินในปลานิลที่เลี้ยในระบบผสมผสานโดยการจัดการด้านอาหาร การพัฒนารูปแบบการตัดแต่งกิ่งและควบคุมทรงพุ่มไห้ลำไยต้นเตี้ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก