สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540
ฉลาด นันทโพธิเดช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉลาด นันทโพธิเดช
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิต และปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพาราของเกษตรกรโดยทำการศึกษาใน 6 จังหวัดคือ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี สุมตัวอย่างโดยวิธี Multi-stage random sampling โดยสุ่มจังหวัดและอำเภอโดยวิธี Purposive random sampling และสุ่มเกษตรโดยวิธี Sample random sampling เกษตรกรตัวอย่าง 357 ราย จากจำนวนประชากร 3,320 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าChi-square test ผลการศึกษาพบว่าสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 89.4 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.2 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 5.4 คน มีแรงงานในครัวเรือนเพื่อการเกษตรเฉลี่ย 3.9 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 56.2 ไร่/ครอบครัวปลูกยางพาราเฉลี่ยครอบครัวละ 23.9 ไร่ ในปี 2540 มีรายได้/ครอบครัวเฉลี่ย 139,409.2 บาท เป็นรายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 125,983.2 บาทโดยเป็นรายได้จากยางพาราเฉลี่ย 59,143.5 บาท สภาพการผลิตยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 89.4 ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการปลูกยางพารามาก่อนเกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพาราจากการฝึกอบรมและจากการแนะนำของเจ้าหน้าที่เป็นส่วนใหญ่ สภาพพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ พันธุ์ยางที่ปลูกเกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ RRIM 600 ปลูกระยะ 2.5x7 เมตร และ 3x6 เมตร ปลูกแบบปลูกลึกด้วยยางชำถุงเป็นส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติบำรุงรักษาระยะก่อนการเปิดกรีด เช่น การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ยรองพื้น ตามคำแนะนำทางวิชาการ การกรีดยาง เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มเปิดกรีดเป็นปีที่ 2 พื้นที่ยางที่เปิดกรีดเฉลี่ย 14.258 ไร่/ราย จำนวนต้นยางที่เปิดกรีดได้เฉลี่ย 80.5 ต้น/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 เปิดกรีดยางขณะที่ต้นยางยังโตไม่ได้ขนาด ใช้ระบบกรีดแบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวันเป็นส่วนใหญ่ การทำยางแผ่นเกษตรกรส่วนใหญ่ มีอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำยางแผ่นครบน้ำที่ใช้ในการทำยางแผ่นส่วนใหญ่ใช้น้ำจากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติเป็นไปตามคำแนะนำทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่ผลผลิตยางแผ่นดิบในปี 2540 เฉลี่ย 186 กก./ไร่ เป็นยางคุณภาพชั้น 1-3 สำหรับประเด็นทางวิชาการที่สำคัญซึ่งเกษตรกรบางรายยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ได้แก่ การใช้ปุ๋ยไม่ถูกสูตร การเปิดกรีดยางขณะที่ต้นยางยังโตไม่ได้ขนาดการใช้ระบบกรีดยางที่ไม่เหมาะสมและการใช้ส่วนผสมในการทำยางแผ่นที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่สำคัญได้แก่ การขาดความรู้ประสบการณ์ขาดแคลนแรงงาน ขาดแคลนเงินทุน ไม่มีแหล่งพันธุ์และแหล่งรับซื้อผลผลิตในพื้นที่และจากการทดสอบสมมุติฐานระดับผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ของเกษตรกรมีความเกี่ยวข้องกับ ปัญหาการขาดความรู้ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาการขาดแคลนเงินทุนดำเนินการ พบว่า ปัญหาการขาดความรู้ มีความสัมพันธ์กับระดับผลผลิตยางพาราเฉลี่ย/ไร่ ของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาการขาดแคลนเงินทุนดำเนินการ มีความสัมพันธ์กับระดับผลผลิตยางพาราเฉลี่ย/ไร่ ของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น แนวทางการส่งเสริมการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้เกษตรกรเกิดการยอมรับและปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการเป็นสำคัญ มีการส่งเสริมการปลูกพืชแซม หรือพืชร่วมและกิจกรรมการเกษตรอื่นๆในสวนยางควบคู่กันไป สนับสนุนให้มีการสร้างแปลงพันธุ์และผลิตพันธุ์ยางจำหน่าย มีการจัดตั้งตลาดกลางและตลาดประมูลยางในท้องถิ่น เร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงานรับจ้างภาคการเกษตรโดยเฉพาะแรงงานกรีดยางเพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต และควรมีการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามคำแนะนำทางวิชาการของเกษตรกร และความต้องการชนิดพืชแซมหรือพืชร่วมยางของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2540
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการผลิตยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาการผลิตยางพาราเชิงระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการศึกษาวัดประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ระบบผลิตยางพารา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก