สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาวะและความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ Crystal Violet และ Leucocrystal Violet ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์
สุภมาส ไข่คำ - กรมประมง, กองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาวะและความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ Crystal Violet และ Leucocrystal Violet ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์
ชื่อเรื่อง (EN): Validation of Analytical Method for Crystal Violet and Leucocrystal Violet in Shrimp (Litopenaeus vannamei) and Products
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภมาส ไข่คำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Supamas Kai-cum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รุ่งนภา ว่องไวไพโรจน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Roongnapa Wongwaipairote
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์คริสตัลไวโอเลต (Crystal Violet : CV) และอนุพันธ์ คือ ลิวโคคริสตัลไวโอเลต (Leucocrystal Violet : LCV) ในกุ้งขาวและผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography with Electrospray Ionizaton Tandem Mass Spectrometry (LC/MS/MS) ใช้ Internal standard คือ d6-Crystal violet (d6-CV) และ d6-Leucocrystal violet (d6-LCV) โดยการหาสภาวะที่เหมาะสมของเครื่องมือและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี ผลปรากฎว่า CV และ LCV สามารถแยกได้ดีที่สภาวะ Gradient ใช้สารละลายเคลื่อนที่ 0.05mM Ammonium acetate : 0.02% Formic acid อุณหภูมิคอลัมน์ (C18, 5µm 150x3.0 mm) 25 องศาเซลเซียส และ Injection volume 10 µl ใช้ระยะเวลาวิเคราะห์ทั้งสิ้น 15 นาที ผลการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์พบว่าวิธีนี้ วิเคราะห์ได้ดีด้วย Matrix standards calibration curve มีความแม่นและความเที่ยงในช่วงพิสัยการทดลองที่ 0 - 4.00 µg/kg มีขีดจำกัดของการตรวจพบ (Limit of Detection) ของ CV และ LCV ที่ความเข้มข้น 0.021 µg/kg และ 0.014 µg/kg ตามลำดับ และขีดจำกัดของการหาเชิงปริมาณ (Limit of Quantitation) ของทั้ง CV และ LCV ที่ระดับความเข้มข้น 0.10 ug/kg ความถูกต้องและแม่นยำของวิธีวิเคราะห์ CV และ LCV มีค่า %Recovery, %RSD และ HorRat อยู่ในช่วง 86 – 116%, 3.24 – 7.21%, 0.11 – 0.17 และ 83 - 115%, 4.76 – 10.74%, 0.11 – 0.44 ตามลำดับ สามารถทำซ้ำได้โดยนำไปใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ได้แก่ กุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง รวมทั้งปลาได้ โดยมีค่า %Recovery ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 50 - 120%
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research was to study the determination condition of Crystal violet (CV) and its major metabolites, Leucocrystal violet (LCV), residues in White Shrimp (Litopenaeus vannamei) and its products by LC/MS/MS technique using d6-Crystal violet (d6-CV) and d6-Leucocrystal violet (d6-LCV) as internal standards. The suitable condition of determination and analytical method validation were carried out. The results showed that CV and LCV could be separated by gradient condition with mobile phase 0.05mM Ammonium Acetate : 0.02% Formic acid, column (C18, 5µm 150x3.0 mm) temperature at 25 ºC, injection volume 10 µl and running time 15 minutes. The method validation observed identification and quantification of analysis by matrix standards calibration curve. This method had accuracy and precision at the range of 0 – 4.00 µg/kg. The limit of detection (LOD) of CV and LCV were 0.021 µg/kg and 0.014 µg/kg, respectively. The limit of quantitation (LOQ) of both CV and LCV were 0.10 ug/kg. The accuracy and precision of this method showed the %Recovery, %RSD and HorRat for CV and LCV as 86 – 116%, 3.24 – 7.21%, 0.11 – 0.17 and 83 – 115%, 4.76 – 10.74%, 0.11 – 0.44, respectively. Moreover, reproducibility was conducted in shrimps, shrimp products and fish. The obtained recovery was 50 – 120% which met the standard.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&opt=mrc&bid=9840&kid=0&lang=1&db=Main&pat=&cat=&skin=s&lpp=20&catop=edit&scid=zzz
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by นางสาวสุภมาส ไข่คำ กรมประมง (kunjeen@gmail.com) on 2020-07-09T03:08:18Z No. of bitstreams: 2 CV-LCV รวมเล่ม 6 มิ.ย. 62.pdf: 1309725 bytes, checksum: 1ac801d7f083848068bb6eb76f0a4f82 (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาวะและความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ Crystal Violet และ Leucocrystal Violet ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์
กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น กรมประมง
2561
เอกสารแนบ 1
การศึกษาสภาวะและความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ Crystal Violet และ Leucocrystal Violet ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์ การศึกษาสภาวะและความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ Crystal Violet และ Leucocrystal Violet ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์ ปรียบเทียบวิธีการจำแนกชนิด Vibrio vulnificus และ V. parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) และผลิตภัณฑ์แช่เยือกแข็ง ด้วยวิธีชีวเคมีและเทคนิคพีซีอาร์ การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน การเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อ Vibrio vulnificus และ V. parahaemolyticus ในระหว่างการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์กุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) แช่เยือกแข็ง โรคกุ้งคดงอในกุ้งขาว Litopenaeus vannamei การใช้แหล่งแคโรทีนอยด์ธรรมชาติเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสีเปลือกและเนื้อในกุ้งขาว Penaues vannamei (Boone 1931) การใช้หอยเชอรีป่นเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารกุ้งขาว (Penaeus vannamei ) การวิเคราะห์ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ในบ่อดิน: กรณีศึกษาคลองวาฬโมเดล ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก