สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองและการยอมรับของเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน
เชาวนา เพชรรัตน์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองและการยอมรับของเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Economics of Local Breeding Rices Production and Farmers’ Attitude for Adoption: The Case of Farmers in Upper Northern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เชาวนา เพชรรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นัทธมน ธีระกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองและการยอมรับของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ดร.เชาวนา เพชรรัตน์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร และ 3) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน จากการศึกษาวิจัยพบว่า การสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงใหม่และพะเยา โดยเกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 4 พันธุ์ คือ พันธุ์บือชอมี บือโป๊ะโละ เหมยนอง และบือเกาะกระ และทัศนคติของเกษตรกรต่อข้าวพันธุ์พื้นเมืองเป็นปัจจัยอีกด้านหนึ่งที่มีผลต่อการยอมรับของเกษตรกร โดยทัศนคติที่มีผลต่อการยอมรับข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ การปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองใช้สารเคมีน้อยมากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีรสชาติดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เหมาะแก่การปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน รวมทั้งอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ต่อการตัดสินใจเลือกปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาด้วยแบบจำลอง Logit พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรที่มีผลต่อการยอมรับ ได้แก่ อายุของเกษตรกร จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาของเกษตรกร ประสบการณ์ในการผลิตข้าวของครัวเรือน และเพศของเกษตรกร ในส่วนลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่มีผลต่อการยอมรับ ได้แก่ ครัวเรือนมีการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการเกษตร และรายได้รวมจากงานนอกเกษตร สำหรับลักษณะการจัดการการผลิตที่มีผลต่อการยอมรับ คือ การมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอ และคุณภาพดินที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวพื้นเมือง ทั้งนี้การผลิตข้าวพื้นเมืองทั้ง 5 สายพันธุ์ให้ความคุ้มค่าต่อการลงทุนแก่เกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ทำการผลิตแบบดั้งเดิมเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นสำคัญ มีการจ้างแรงงาน และใช้ปุ๋ย รวมถึงสารเคมีน้อย ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ โดยผลการประเมิน พบว่า ระดับราคาผลผลิตข้าวพันธุ์บือกิโพและบือโป๊ะโละที่ทำให้เกษตรกรมีความคุ้มทุนการผลิต เท่ากับ 1.6 บาท/กก. และเกษตรกรต้องผลิตข้าวบือกิโพได้จำนวน 64 และ 40.6 กก./ไร่ ตามลำดับ จึงจะคุ้มทุนการผลิต ขณะที่ระดับราคาคุ้มทุนการผลิตข้าวพันธุ์เหมยนอง บือพะโดะ และก่ำลืมผัว อยู่ที่ 2.3, 0.6 และ 6.3 บาท/กก. โดยปริมาณผลผลิตขั้นต่ำที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์เหมยนอง บือพะโดะ และก่ำลืมผัว มีความคุ้มทุนได้นั้นอยู่ที่ 92.6, 25.9 และ 75.4 กก./ไร่ ตามลำดับ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย ได้ข้อมูลสถานการณ์ ปัจจัยจูงใจ ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกข้าวพื้นเมือง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองและการยอมรับของเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2558
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสตรอว์เบอร์รี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย การสำรวจต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546/2547 ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวที่สูงของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน ต้นทุนการผลิตน้ำยางข้น ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา พื้นที่ภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก