สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
จันทร์ ก้อนทอง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันทร์ ก้อนทอง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ105 ของเกษตรกรและปัญหาอุปสรรคในการเพาะปลูกข้าวขาวดอกมะลิ105 ของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 อยู่ระหว่าง 10 - 30 ไร่ จำนวน 113 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยแล้วนำคะแนนมาหาค่าน้ำหนักคะแนนเฉลี่ย (Mean weight score) แล้ว จัดช่วง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดระดับปัญหา ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 70.8 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.4 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.5 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.6 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.7 คน มีการจ้างแรงงานเฉลี่ย 2.9 คน เกษตรกรร้อยละ 93.8 เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เกษตรกรทั้งหมด มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เกษตรกรร้อยละ 98.2 มีอาชีพรอง คือ การรับจ้าง มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 22.7 ไร่ต่อครัวเรือน มีพื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเฉลี่ย 19.9 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้รวมทั้งหมดเฉลี่ย 62,723.9 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เกษตรกรร้อยละ 95.6 ใช้เงินทุนของตนเองในการประกอบอาชีพเกษตร ด้านการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 22.9 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรร้อยละ 88.5 ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวิธีการหว่านทั้งหมด เกษตรกรร้อยละ 66.4 ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึง ต้นเดือนมิถุนายน เตรียมดินปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยการไถดะ ไถแปรและไถกลบ เกษตรกรร้อยละ 94.7 เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 สำหรับนาดำเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ยในอัตรา 5.4 กิโลกรัมต่อไร่ และนาหว่านเฉลี่ย ในอัตรา 17.9 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 51.3 ไม่มีการใช้ปุ๋ยคอกในการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรร้อยละ 51.3 มีการกำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมี เกษตรกรร้อยละ เกษตรกรร้อยละ 95.6 มีวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวโดยการหมั่นตรวจแปลงนา เกษตรกรร้อยละ 85 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หว่านครั้งที่ 1 และเกษตรกร ร้อยละ 54 ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หว่านครั้งที่ 2 ก่อนข้าวตั้งท้อง เกษตรกรร้อยละ 89.4 เก็บเกี่ยวข้าวในระยะเหลืองกล้วย เกษตรกรร้อยละ 50.4 ใช้เครื่องเกี่ยวพร้อมนวด เกษตรกรร้อยละ 54 ตากข้าวในนาหลังเก็บเกี่ยวจำนวน 4 - 5 แดด และเกษตรกรได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ยจำนวน 445.5 กิโลกรัมต่อไร่ ด้านปัญหาอุปสรรค พบว่า เกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก ในประเด็น ปัญหาด้านเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ราคาแพง ปัญหาในการเพาะปลูก ได้แก่ ขาดเงินทุน และปัญหาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ ได้แก่ ฝนแล้ง ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิต , จำหน่ายและจัดตั้งกองทุนกู้ยืมแก่สมาชิกผู้ปลูกข้าว โดยใช้กลไกศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน แนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใช้พืชปุ๋ยสด แกลบดิบ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หรือวัชพืช โดยใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ตลอดจนแนะนำให้เกษตรกรจัดหาแหล่งน้ำในไร่นาตนเอง โดยการขุดบ่อเพื่อการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดพิจิตร เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของ เกษตรกรตำบลซำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ปี 2546/2547 ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก